ความรู้ทั่วไป สารนิเทศ การศึกษา คอมพิวเตอร์ >>

อินเตอร์เน็ต
(Internet)

ความเป็นมาของอินเตอร์เน็ต
อินเตอร์เน็ต อินทราเน็ต และเอ็กซ์ทราเน็ต
ประเภทของคอมพิวเตอร์
อุปกรณ์ที่ใช้การสื่อสารข้อมูลคอมพิวเตอร์
ระบบคอมพิวเตอร์
การทำงานแบบบัฟเฟอร์ (Buffering)
ระบบสพูลลิ่ง (Spooling System)
ระบบมัลติโปรแกรมมิ่ง (Multiprogramming)
ระบบแบ่งเวลา (Time-Sharing System)
ระบบเรียลไทม์ (Real-Time System)
ระบบคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล หรือพีซี (Personal Computer Systems)
ระบบมัลติโปรเซสเซอร์ (Multipocessor System)
ระบบแบบกระจาย (Distributer System)
โครงสร้างของระบบปฏิบัติการ
เน็ตเวิร์ค (Networking)

การทำงานแบบบัฟเฟอร์ (Buffering)

การทำงานในแบบบัฟเฟอร์นี้จะเป็นการขยายขีดความสามารถการทำงานของระบบ กล่าวคือระบบนี้จะให้หน่วยรับ

  • แสดงผลทำงานไปพร้อม ๆ กับการประมวลผลของซีพียู โดยในขณะที่มีการประมวลผลคำสั่งที่โหลดเข้ามาของซีพียูนั้น จะมีการโหลดข้อมูลต่อไปเข้ามาเก็บไว้ในหน่วยความจำก่อน เมื่อถึงเวลาประมวลผลซีพียูจะทำงานต่อได้ทันที และมีการโหลดข้อมูลต่อไปเข้าทดแทน หน่วยความจำที่เก็บข้อมูลที่ส่งเข้ามาเตรียมพร้อมนี้ เรียกว่า “ บัฟเฟอร์” (Buffer) ในทางทฤษฎีนั้น ถ้าเวลาที่ใช้ในการประมวลผลกับเวลาที่ใช้ในการโหลดข้อมูลเข้ามาเท่ากัน ก็จะทำให้ซีพียูไม่ต้องระอุปกรณ์เลย (ประมวลผลต่อเนื่องได้ทันที) ทำให้มีการใช้ซีพียูได้เต็มประสิทธิภาพ แต่ความเป็นจริงไม่ได้เป็นเช่นนั้น เนื่องจากเวลาของซีพียูกับอุปกรณ์ยังไม่สัมพันธ์กัน ซึ่งมีสาเหตุสำคัญ 2 ประการคือ ความเร็วของอุปกรณ์ในการรับ
  • แสดงข้อมูล และประเภทของงานที่ประมวลผลสำหรับสาเหตุอันเนื่องมาจากความเร็วของอุปกรณ์นั้น เป็นข้อเท็จจริงที่ซีพียูจะต้องมีความเร็วสูงกว่าความเร็วของอุปกรณ์ (แม้จะมีเทคโนโลยีด้านอุปกรณ์ใหม่ ๆ ก็ตาม) ถึงแม้จะมีบัฟเฟอร์ก็ไม่เพียงพอ จึงทำให้ซีพียูจะต้องหยุดรออุปกรณ์เสมอ ๆ ส่วนสาเหตุอันเนื่องมาจากประเภทของงานนั้นจะเป็นสิ่งที่บอกได้ว่า ซีพียูต้องรออุปกรณ์หรืออุปกรณ์จะต้องรอซีพียู ถ้างานนั้นต้องใช้หน่วยรับ – แสดงข้อมูลมาก ๆ ซีพียูก็จะทำงานน้อย จึงทำให้ซีพียูต้องหยุดรออุปกรณ์ ในทางตรงข้าม ถ้างานนั้นเป็นงานที่ต้องใช้เวลาของซีพียูมาก ๆ เช่น การคำนวณทางคณิตศาสตร์ในขั้นแอ็ดวานซ์ ก็จะทำให้ใช้เวลากับหน่วยรับ
  • แสดงข้อมูลน้อย ๆ มีผลให้อุปกรณ์ต้องหยุดรอซีพียู เป็นต้น

 

ตั้งแต่สมัยแรกที่มีการใช้คอมพิวเตอร์ล่วงมาจนถึงปัจจุบัน ความเหลื่อมล้ำของเวลาจะเป็นในด้านที่ใช้ประสิทธิภาพของซีพียูต่ำ นั่นหมายถึงซีพียูต้องหยุดรออุปกรณ์เสมอ ๆ ถึงแม้ในปัจจุบันจะมีการคิดค้นเทคโนโลยี เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของอุปกรณ์ เช่น เพิ่มความเร็วของบัส, ความเร็วในการรับ ส่งข้อมูลจากฮาร์ดดิสก์ที่ใช้ ATA 100 ขยายบัฟเฟอร์เป็น 2 เมกะไบต์, มีพอร์ต USB, เพิ่มหน่วยความจำการ์ดแสดงผลเป็นหลายสิบเมกะไบต์ เป็นต้น แต่ก็ช่วยได้ไม่มากนัก เนื่องจากอุปกรณ์พวกนี้ทำงานในลักษณะกลศาสตร์ ในขณะที่ซีพียูเป็นวงจรอิเล็กทรอนิกส์จึงได้มีการคิดค้นเทคโนโลยีมาขยายขีดความสามารถของซีพียู หลักการง่าย ๆ ก็คือในช่วงที่ซีพียูว่าง ๆ นั้นก็มีคำสั่งให้ซีพียูต้องประมวลผล โดยไม่ต้องมีเวลาว่าง พูดง่าย ๆ ก็คือเพิ่มโปรแกรมให้ซีพียูทำงานหลาย ๆ โปรแกรม หลักการของวิธีนี้เรียกว่า “ มัลติโปรแกรมมิ่ง” (Multiprogramming)

แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย

ข้อเขียน-บทความ »

» จินตนา แก้วขาว กราบเธอที่ดวงใจ
» ทะริด ตะนาวศรี คนไทยที่ถูกลืม
» ปู่เย็น ณ สะพานลำใย แห่งลุ่มแม่น้ำเพชรบุรี

» จอมยุทธ แห่งบ้านจอมยุทธ (รวมงานเขียน)
» ฉายเดี่ยว (รวมงานเขียน)
» งูเขียว หางบอบช้ำ (รวมงานเขียน)

» ตีหัวเข้าบ้าน ตะคอกโลก ตีหัวหมา
» ผายลมนี้มีผลย้อนหลัง
» ได้แต่หวังว่า เราจะอยู่ร่วมกันได้บนโลกที่เปรียบเสมือนบ้านของเราใบนี้ ด้วยความรู้สึกที่ดีประดุจดั่งกินข้าวจากหม้อเดียวกัน

» ขอเป็นตาแก่ขี้บ่นในหัวใจเธอ
» เมื่อคนขับรถปลอมตัวไปเล่นหุ้น (บันทึกการเล่นสด)

นิยาย-เรื่องสั้น »

» ตำนานบันลือโลก
» บันทึกทรราชย์
» ผมเกือบได้เป็นนักแต่งเพลงชื่อดังเสียแล้ว
» ชีวิตเริ่มต้นอีกครั้งหลังเกษียณ
» แสนยานุภาพแห่งการรอคอย