ศิลปะ หัตถกรรม สถาปัตยกรรม ประติมากรรม สันทนาการ >>

ทัศนศิลป์

จิตรกรรม
ศิลปะตะวันตก
ศิลปะตะวันออก

จิตรกรรม

       จิตรกรรม ( Painting) เป็นผลงานศิลปะที่แสดงออกด้วยการขีดเขียน การวาด และระบายสี เพื่อให้เกิดภาพ บรรลุ วิริยาภรณ์ประภาส 1997เป็นงานศิลปะที่มี 2 มิติ เป็นรูปแบน ไม่มีความลึกหรือนูนหนา แต่สามารถเขียนลวงตาให้ เห็นว่ามีความลึกหรือนูนได้ ความงามของจิตรกรรมเกิดจากการใช้สีในลักษณะต่าง ๆ กัน

องค์ประกอบสำคัญของงานจิตรกรรม คือ

1. ผู้สร้างงาน หรือ ผู้วาด เรียกว่า จิตรกร
2. วัสดุ ที่ใช้รองรับการวาด เช่น กระดาษ ผ้า ผนัง ฯลฯ
3. สี เป็นสิ่งที่แสดงออกถึงเนื้อหา เรื่องราวเกี่ยวกับผลงาน

งานจิตรกรรมเป็นงานศิลปะที่เก่าแก่ดั้งเดิมของมนุษย์ เริ่มตั้งแต่การขีดเขียนบนผนังถ้ำ บนร่างกาย บนภาชนะเครื่องใช้ต่าง ๆ จนพัฒนามาเป็นภาพวาดที่ใช้ประดับตกแต่งในปัจจุบัน การวาดภาพเป็นพื้นฐานของงานศิลปะทุกชนิด ผู้สร้างสรรค์งานจิตรกรรม เรียนว่า จิตรกร (Painter)

งานจิตรกรรม แบ่งออกได้ 2 ชนิด คือ

1. การวาดเส้น (Drawing) เป็นการวาดภาพโดยใช้ปากกา หรือดินสอ ขีดเขียนลงไป แปลก กิจเฟื่องฟู 2539บนพื้นผิววัสดุรองรับเพื่อให้เกิดภาพ การวาดเส้น คือ การขีดเขียนให้เป็นเส้นไม่ว่าจะเป็นเส้นเล็ก หรือเส้นใหญ่ ๆ มักมีสีเดียวแต่ การวาดเส้นไม่ได้จำกัดที่จะต้องมีสีเดียว อาจมีสีหลาย ๆ สีก็ได้ การวาดเส้น จัดเป็นพื้นฐานที่สำคัญของงานศิลปะแทบทุกชนิด อย่างน้อย ผู้ฝึกฝนงานศิลปะควรได้มีการฝึกฝนงานวาดเส้นให้เชี่ยวชาญเสียก่อน ก่อนที่จะไปทำงานด้านอื่น ๆ ต่อไป

2. การระบายสี (Painting) เป็นการวาดภาพโดยการใช้พู่กัน หรือแปรง หรือวัสดุอย่างอื่น มาระบายให้เกิดเป็นภาพ การระบายสี ต้องใช้ทักษะการควบคุมสีและเครื่องมือมากกว่า การวาด เส้น ผลงานการระบายสีจะสวยงาม เหมือนจริง และสมบูรณ์แบบมากกว่าการวาดเส้น

ประติมากรรม (Sculpture)

เป็นผลงานศิลปะที่แสดงออกด้วยการสร้างรูปทรง 3 มิติ มีปริมาตร มีน้ำหนักและกินเนื้อที่ในอากาศ โดยการใช้วัสดุชนิดต่าง ๆ วัสดุที่ใช้สร้างสรรค์งานประติมากรรม จะเป็นตัวกำหนด วิธีการสร้างผลงาน ความงามของงานประติมากรรม เกิดจากการแสงและเงาที่เกิดขึ้น

ประเภทของงานประติมากรรม

1.ประติมากรรมแบบนูนต่ำ ( Bas Relief ) เป็นรูปที่เป็นนูนขึ้นมาจากพื้นหรือมีพื้นหลัง รองรับ มองเห็นได้ชัดเจนเพียงด้านเดียว คือด้านหน้า มีความสูงจากพื้นไม่ถึงครึ่งหนึ่งของรูป จริง ได้แก่ รูปนูนแบบเหรียญ รูปนูนที่ใช้ประดับตกแต่งภาชนะ หรือประดับตกแต่งอาคารทาง สถาปัตยกรรม โบสถ์ วิหารต่างๆ พระเครื่องบางชนิด

2.ประติมากรรมแบบนูนสูง ( High Relief ) เป็นรูปต่าง ๆ ในลักษณะเช่นเดียวกับแบบ นูนต่ำ แต่มีความสูงจากพื้นตั้งแต่ครึ่งหนึ่งของรูปจริงขึ้นไป ทำให้เห็นลวดลายที่ลึก ชัดเจน และ และเหมือนจริงมากกว่าแบบนูนต่ำและใช้งานแบบเดียวกับแบบนูนต่ำ

3.ประติมากรรมแบบลอยตัว ( Round Relief ) เป็นรูปต่าง ๆ ที่มองเห็นได้รอบด้านหรือ ตั้งแต่ 4 ด้านขึ้นไป ได้แก่ ภาชนะต่าง ๆ รูปเคารพต่าง ๆ พระพุทธรูป เทวรูป รูปตามคตินิยม รูปบุคคลสำคัญ รูปสัตว์ ฯลฯ

การพิมพ์ภาพ

การพิมพ์ภาพ ( PRINTING ) การพิมพ์ภาพ หมายถึง การถ่ายทอดรูปแบบจากแม่พิมพ์ออกมาเป็นผลงานที่มีลักษณะ เหมือนกันกับแม่พิมพ์ทุกประการ และได้ภาพที่เหมือนกันมีจำนวนตั้งแต่ 2 ชิ้นขึ้นไป

การพิมพ์ภาพเป็นงานที่พัฒนาต่อเนื่องมาจากการวาดภาพ ซึ่งการวาดภาพไม่สามารถ สร้างผลงาน 2 ชิ้น ที่มีลักษณะเหมือนกันทุกประการได้ จึงมีการพัฒนาการพิมพ์ขึ้นมา ชาติจีน ถือว่าเป็นชาติแรกที่นำเอาวิธีการพิมพ์มาใช้อย่างแพร่หลายมานานนับพันปี จากนั้น จึงได้แพร่หลายออกไปในภูมิภาคต่างๆของโลก ชนชาติทางตะวันตกได้พัฒนาการพิมพ์ภาพ ขึ้นมาอย่างมากมาย มีการนำเอาเครื่องจักรกลต่างๆเข้ามาใช้ในการพิมพ์ ทำให้การพิมพ์มีการ พัฒนาไปอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน

การพิมพ์ภาพมีองค์ประกอบที่สำคัญดังนี้

1. แม่พิมพ์ เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดในการพิมพ์
2. วัสดุที่ใช้พิมพ์ลงไป
3. สีที่ใช้ในการพิมพ์
4. ผู้พิมพ์

ผลงานที่ได้จากการพิมพ์ มี 2 ชนิด คือ

1. ภาพพิมพ์ เป็นผลงานพิมพ์ที่เป็นภาพต่างๆ เพื่อความสวยงามหรือบอกเล่าเรื่องราวต่างๆ อาจมีข้อความตัวอักษรหรือตัวเลขประกอบหรือไม่มีก็ได้
2. สิ่งพิมพ์ เป็นผลงานพิมพ์ที่ใช้บอกเล่าเรื่องราวต่างๆ เป็นตัวอักษร ข้อความ ตัวเลข อาจมี ภาพประกอบหรือไม่มีก็ได้

ประเภทของการพิมพ์ การพิมพ์แบ่งออกได้หลายประเภทตามลักษณะต่าง ดังนี้

1. แบ่งตามจุดมุ่งหมายในการ พิมพ์ ได้ 2 ประเภท คือ

  1. ศิลปภาพพิมพ์ ( GRAPHIC ART ) เป็นงานพิมพ์ภาพเพื่อให้เกิดความสวยงามเป็น งานวิจิตรศิลป์
  2. ออกแบบภาพพิมพ์ ( GRAPHIC DESIGN ) เป็นงานพิมพ์ภาพประโยชน์ใช้สอยนอก เหนือไปจากความสวยงาม ได้แก่ หนังสือต่างๆ บัตรต่างๆ ภาพโฆษณา ปฏิทิน ฯลฯ จัดเป็นงาน ประยุกต์ศิลป์

แบ่งตามกรรมวิธีในการพิมพ์ ได้ 2 ประเภท คือ

  1. ภาพพิมพ์ต้นแบบ ( ORIGINAL PRINT ) เป็นผลงานพิมพ์ที่สร้างจากแม่พิมพ์และวิธีการพิมพ์ที่ถูก สร้างสรรค์และกำหนดขึ้นโดยศิลปินเจ้าของผลงาน และเจ้าของผลงาน จะต้องลงนามรับรองผลงานทุกชิ้น บอกลำดับที่ในการพิมพ์ เทคนิคการพิมพ์ และ วัน เดือน ปี ที่พิมพ์ด้วย
  2. ภาพพิมพ์จำลองแบบ ( REPRODUCTIVE PRINT ) เป็นผลงานพิมพ์ที่สร้างจากแม่พิมพ์ หรือวิธี การพิมพ์วิธีอื่น ซึ่งไม่ใช่วิธีการเดิมแต่ได้รูปแบบเหมือนเดิม บางกรณีอาจเป็นการ ละเมิดลิขสิทธิ์ผู้อื่น

แบ่งตามจำนวนครั้งที่พิมพ์ ได้ 2 ประเภท คือ

  1. ภาพพิมพ์ถาวร เป็นภาพพิมพ์ที่พิมพ์ออกมาจากแม่พิมพ์ใดๆ ที่ได้ผลงานออกมามีลักษณะ เหมือนกันทุกประการ ตั้งแต่ 2 ชิ้นขึ้นไป
  2. ภาพพิมพ์ครั้งเดียว เป็นภาพพิมพ์ที่พิมพ์ออกมาได้ผลงานเพียงภาพเดียว ถ้าพิมพ์อีกจะ ได้ผลงานที่ไม่เหมือนเดิม

แบ่งตามประเภทของแม่พิมพ์ ได้ 4 ประเภท คือ

  1. แม่พิมพ์นูน ( RELIEF PROCESS ) เป็นการพิมพ์โดยให้สีติดอยู่บนผิวหน้าที่ทำให้นูน ขึ้นมาของแม่พิมพ์ ภาพที่ได้เกิดจากสีที่ติดอยู่ในส่วนบนนั้น แม่พิมพ์นูนเป็นแม่พิมพ์ ที่ทำขึ้นมาเป็นประเภทแรก ภาพพิมพ์ชนิดนี้ได้แก่ ภาพพิมพ์แกะไม้ ( WOOD-CUT ) ภาพพิมพ์แกะยาง ( LINO-CUT ) ตรายาง ( RUBBER STAMP ) ภาพพมพ์จากเศษวัสดุต่างๆ
  2. แม่พิมพ์ร่องลึก ( INTAGLIO PROCESS ) เป็นการพิมพ์โดยให้สีอยู่ในร่องที่ทำให้ลึกลง ไปของแม่พิมพ์โดยใช้แผ่นโลหะทำเป็นแม่พิมพ์ ( แผ่นโลหะที่นิยมใช้คือแผ่นทองแดง ) และทำให้ลึกลงไปโดยใช้น้ำกรดกัด ซึ่งเรียกว่า ETCHING แม่พิมพ์ร่องลึกนี้พัฒนาขึ้นโดย ชาวตะวันตก สามารถพิมพ์งานที่มีความ ละเอียด คมชัดสูง สมัยก่อนใช้ในการพิมพ์ หนังสือ พระคัมภีร์ แผนที่ เอกสารต่างๆ แสตมป์ ธนบัตร ปัจจุบันใช้ในการพิมพ์งานที่เป็นศิลปะ และธนบัตร
  3. แม่พิมพ์พื้นราบ ( PLANER PROCESS ) เป็นการพิมพ์โดยให้สีติดอยู่บนผิวหน้า ที่ราบเรียบของแม่พิมพ์ โดยไม่ต้องขุดหรือแกะพื้นผิวลงไป แต่ใช้สารเคมีเข้าช่วย ภาพพิมพ์ ชนิดนี้ได้แก่ ภาพพิมพ์หิน ( LITHOGRAPH ) การพิมพ์ออฟเซท ( OFFSET ) ภาพพิมพ์กระดาษ ( PAPER-CUT ) ภาพพิมพ์ครั้งเดียว ( MONOPRINT )
  4. แม่พิมพ์ฉลุ ( STENCIL PROCESS ) เป็นการพิมพ์โดยให้สีผ่านทะลุช่องของแม่พิมพ์ลงไป สู่ผลงานที่อยู่ด้านหลัง เป็นการพิมพ์ชนิดเดียวที่ได้รูปที่มีด้านเดียวกันกับแม่พิมพ์ ไม่กลับซ้าย เป็นขวา ภาพพิมพ์ชนิดนี้ได้แก่ ภาพพิมพ์ฉลุ ( STENCIL ) ภาพพิมพ์ตะแกรงไหม ( SILK SCREEN ) การพิมพ์อัดสำเนา ( RONEO ) เป็นต้น

องค์ประกอบของศิลปะ

การมองเห็นแบบธรรมดา ( Looking) หรือแบบทั่วไปนั้นเป็นการมองเห็นหรือการรับรู้ในธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ที่ปราศจากการสังเกตความตั้งใจและไร้ความประสงค์ คล้ายกับปรากฏการณ์นั้นเกิดขึ้นโดยทันทีเป็นปกติวิสัย ซึ่งแตกต่างจากการรับรู้การเห็นทางศิลปะที่เป็นความสามารถที่จะเข้าใจ และกินความกว้างขวางจากภายนอกสู่ความรู้สึกภายในมากกว่า

การเห็นรูปทรงศิลปะและพยายามทำความเข้าใจกับรูปทรงที่มองเห็นนั้นเป็นอาการที่ลึกซึ้งกว่ากระบวนการใช้สายตาแบบปกติ และยังเกี่ยวข้องไปถึงการทำงานของสมองและระบบประสาทของผู้ดู ซึ่งกำลังรับรู้ข้อมูลต่างๆ จากประสาทสัมผัสด้วยความมีชีวิติชีวาและเมื่อได้รับรู้ การรับรู้จะรวมตัวเป็นการรับรู้สะสม

( Funded Perception ) และพัฒนาไปสู่ประสบการณ์ทางสุนทรียภาพ ( Aeathetic Ezxperience ) ขั้นของการมองเห็นในช่วงนี้จะเห็นความสัมพันธ์ของส่วนละเอียด และ / หรือการเห็นทะลุปรุโปร่งแบบแจ้งเห็นจริง ( สุชาต เถาทอง. ม.ป.ป. : 53 )



องค์ประกอบของการเห็น

  1. การเห็นรูปและพื้น ( Figure and Ground ) เป็นองค์ประกอบแรกที่มนุษย์มองเห็นจากธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งมีผลมาจากการที่เรามองเห็นวัตถุตาเราจะรับรู้พร้อมๆ กันทั้งรูปและพื้น โดยวัตถุจะเป็นรูปและบริเวณรอบ ๆ จะเป็นพื้น
  2. การเห็นแสงและเงา ( Light and Shadow ) การรับรู้ได้หรือมองเห็นได้เพราะแสงสว่างส่องกระทบบริเวณวัตถุนั้นต้องอยู่ ถ้าไม่มีแสงสว่างน้ำหนักของวัตถุจะไม่เกิดขึ้นหรือถ้ามีแสงสว่างเท่ากันเงาก็ไม่เกิดขึ้นด้วยเช่นกัน แสงและเงาจึงมีผลต่อการรับรู้รูปร่าง และขนาดของวัตถุที่แปรเปลี่ยนไปตามปริมาณและค่าน้ำหนักของแสงและเงา ( Value )
  3. การเห็นตำแหน่งและสัดส่วน ( Position and Proportion ) การรับรู้หรือมองเห็นเกิดขึ้นได้ เพราะตำแหน่งของเราและตำแหน่งของวัตถุ ถ้าเราอยู่ใกล้วัตถุก็จะมองเห็นส่วนราย ละเอียดได้ชัดเจน และมีขนาดใหญ่ แต่ถ้าอยู่ไกลจากวัตถุก็ตะมองเห็นไม่ชัดเจนและมีขนาดเล็กเป็นสัดส่วนกันไป
  4. การเห็นความเคลื่อนไหว( Motion ) การรับรู้และมองเห็นได้เพราะความเคลื่อนไหวของวัตถุหรือเพราะตัวเราเคลื่อนไหวเองซึ่งการเคลื่อนไหวมีทั้งการเคลื่อนที่อย่าง รวดเร็ว เชื่องช้า ทิศทาง และ จังหวะ เป็นต้น

ทัศนธาตุ

ทัศนธาตุ คืออะไร ทัศนธาตุมีความสำคัญมากเป็นส่วนประกอบของศิลปะ (Elements of arts) เพราะเป็นสิ่งที่ทำให้งานศิลปะเกิดเป็นรูปธรรม ได้แก่ จุด เส้น รูปร่าง รูปทรง แสง เงา สีน้ำหนัก ลักษณะผิวพื้น ฯลฯ ที่นำมาสร้างสรรค์งานศิลปะ

  1. จุด เป็นทัศนธาตุเบื้องต้นที่สุดของการเห็น จุดมีมิติเป็นศูนย์ ไม่มีความกว้าง ความยาว หรือความลึก เป็นธาตุที่ไม่สามารถแบ่งออกได้อีก เป็นสิ่งที่เล็กที่สุดที่จะใช้สร้างรูปทรงขึ้นในภาพ
  2. เส้น เป็นทัศนธาตุเบื้องต้นของทัศนศิลป์ทุกๆ แขนง เส้นเป็นพื้นฐานของโครงสร้างของทุกสิ่งในจักรวาล สามารถแสดงความรู้สึกได้ทั้งด้วยตัวมันเองและด้วยการสร้างเป็นรูปทรงต่างๆ ขึ้น
  3. สี เป็นทัศนธาตุที่สำคัญและมีบทบาทมากที่สุดในงานจิตรกรรม สีมีคุณลักษณะของทัศนธาตุอื่นๆ อยู่ครบถ้วน สีสามารถให้ความรู้สึกถึง ความร้อน อบอุ่น หรือเยือกเย็น ขึ้นอยู่กับการนำคุณสมบัติของสีมาใช้ในผลงานทัศนศิลป์
  4. รูปร่าง มีลักษณะเป็น 2 มิติ หรืออาจะเป็นการเรียกง่ายๆ ว่า “เส้นรอบนอก” ของรูปทรง
  5. รูปทรง มีลักษณะเป็น 3 มิติ มีมวลและปริมาตรที่ชัดเจน
  6. แสงเงา เป็นลักษณะของค่าน้ำหนักอ่อนแก่ตั้งแต่ดำที่สุดไปจนถึงขาวที่สุด
  7. สี มี 2 ลักษณะ คือ แสงสีและสีที่เป็นวัตถุธาตุ โดยมีคุณสมบัติแตกต่างกันไป
  8. น้ำหนัก เป็นลักษณะของค่าน้ำหนักอ่อนแก่ของสีตั้งแต่เข้มที่สุดไปจนถึงสว่างที่สุด
  9. ลักษณะพื้นผิว เป็นการสร้างให้ผลงานมีความพิเศษและมีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้นโดยใช้พื้นผิวที่เหมาะสมกับภาพผลงานนั้นๆ เป็นตัวนำเสนอ ซึ่งผลงานบางชิ้นอาจจะมีลักษณะพื้นผิวหรือไม่ก็ได้ขึ้นอยู่กับความเหมาะสม
  10. พื้นที่ว่าง ผลงานทุกชิ้นจำเป็นต้องมีพื้นที่ว่าง ซึ่งเป็นพื้นที่สำหรับรองรับทัศนธาตุแบบต่างๆ

แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย

ข้อเขียน-บทความ »

» จินตนา แก้วขาว กราบเธอที่ดวงใจ
» ทะริด ตะนาวศรี คนไทยที่ถูกลืม
» ปู่เย็น ณ สะพานลำใย แห่งลุ่มแม่น้ำเพชรบุรี

» จอมยุทธ แห่งบ้านจอมยุทธ (รวมงานเขียน)
» ฉายเดี่ยว (รวมงานเขียน)
» งูเขียว หางบอบช้ำ (รวมงานเขียน)

» ตีหัวเข้าบ้าน ตะคอกโลก ตีหัวหมา
» ผายลมนี้มีผลย้อนหลัง
» ได้แต่หวังว่า เราจะอยู่ร่วมกันได้บนโลกที่เปรียบเสมือนบ้านของเราใบนี้ ด้วยความรู้สึกที่ดีประดุจดั่งกินข้าวจากหม้อเดียวกัน

» ขอเป็นตาแก่ขี้บ่นในหัวใจเธอ
» เมื่อคนขับรถปลอมตัวไปเล่นหุ้น (บันทึกการเล่นสด)

นิยาย-เรื่องสั้น »

» ตำนานบันลือโลก
» บันทึกทรราชย์
» ผมเกือบได้เป็นนักแต่งเพลงชื่อดังเสียแล้ว
» ชีวิตเริ่มต้นอีกครั้งหลังเกษียณ
» แสนยานุภาพแห่งการรอคอย