ศิลปะ หัตถกรรม สถาปัตยกรรม ประติมากรรม สันทนาการ >>
ศิลปะเครื่องประดับกรีก (Greek)
หลังจากการสร้างสรรค์ผลงานเครื่องประดับที่เกาะครีตในช่วงของชาวมิโนอัน-ไมซีเนได้มีการพัฒนาอย่างเต็มศักยภาพแล้ว บนเกาะครีตแห่งนี้จึงได้มีการพัฒนาเข้าสู่อารยธรรมของกรีก
อารยธรรมของกรีกสามารถแบ่งออกเป็น 4 ยุค ได้แก่
- ยุค Geometric Period หรือยุคเรขาคณิต อยู่ในช่วงประมาณ 800-480 ปีก่อนคริสตศักราช
- ยุค Archaic Period หรือยุคอาร์เคอิค อยู่ในช่วงประมาณ 650-480 ปีก่อนคริสตศักราช
- ยุค Classical Period หรือยุคคลาสสิค ในช่วง 480-332 ปีก่อนคริสตศักราช
- ยุค Hellenistic Period หรือยุคเฮเลนนิสติด อยู่ในช่วงประมาณ 332-27 ปีก่อนคริสตศักราช
ทั้งนี้ในช่วงแรกอาณาของกรีกเป็นกลุ่มชาวโดเรีย เมื่อ 1,200 ปีก่อนคริสตศักราช ซึ่งมาจากทางเหนือได้เข้ามายังอาณาของกรีก แนวความคิดที่สำคัญของกรีกเน้นที่ความสำคัญของมนุษย์ ความมีเหตุผลระหว่างตนเองกับธรรมชาติ จึงทำให้สังคมของชาวกรีกจึงมีความเรียบง่าย เน้นการพัฒนาทางจิตใจเป็นสำคัญ แต่ก็ยังมีการนับถือเทพเจ้าด้วยเช่นกัน และเป็นส่วนสำคัญต่อการสร้างสรรค์เป็นงานศิลปะ เช่น เทพเจ้าเซอุส หรือเทพเจ้าจูปิเตอร์ เป็นเทพเจ้าสูงสุดที่สามารถให้บังเกิดทุกสิ่งทุกอย่าง เทพเจ้าอาเธน่า หรือเทพเจ้ามิเนวา เทพีแห่งปัญญาของมนุษย์ เป็นต้น พอมาถึงสมัยเรขาคณิต เป็นช่วงสมัยที่ชากรีกยังคงมีความเคารพทางด้านเทพเจ้าเป็นอย่างมาก วัสดุที่ใช้ในผลงานศิลปะส่วนใหญ่จึงเป็นทองแดงและดินเผา ประติมากรรมส่วนใหญ่เป็นรูปของมนุษย์ รูปทรงที่แข็งประด้างแบบเรขาคณิต และเริ่มมีขนาดเท่าคนจริง เป็นรูปเปลือกมากขึ้น เพราะเนื่องมาจากการที่ได้เริ่มศึกษาทางด้านกายภาพของมนุษย์
หลังจากนั้นกรีกได้สูญสลายไปหลายร้อยปีจนเข้าสู่สมัยอาร์เคอิก เมื่อประมาณ 650-480 ปีก่อนคริสตศักราช เป็นยุคต้นของอาณาจักรกรีก มีการผสมผสานระหว่างศิลปะของอียิปต์และเมโสโปเตเมีย กรีกได้พยายามค้นหาวัฒนธรรมดั้งเดิมของตนเองให้มากที่สุด จนมาถึงยุคคลาสสิคประมาณ 480-323 ปีก่อนคริสตศักราช ที่เรียกกันว่ายุคทองของกรีก เนื่องจากเกิดนักปราชญ์หลายแขนง เช่น นักปรัชญา นักวรรณกรรม เป็นต้น เจริญรุ่งเรืองเรื่อยมาจาสามารถแผ่อิทธิพลความเจริญเหล่านี้ออกไปยังภูมิภาคอื่นๆ ได้ดี โดยเฉพาะช่วงสมัยของพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช จากแคว้นมาเซโดเนีย เมื่อประมาณ 356-323 ปีก่อนคริสตศักราช ที่รบชนะดินแดนต่างๆ ได้อย่างกว้างขวาง พร้อมทั้งขยายความเจริญทางวัฒนธรรมเข้าไปด้วย การออกแบบเครื่องประดับในสมัยของกรีกนี้ จึงนิยมใช้โลหะมากกว่าอัญมณี
ศิลปะของชาวกรีกได้เน้นถึงความสวยงาม มีการพัฒนาการออกแบบทางด้านการใช้สัดส่วน มีการจัดวางทั้งแบบสมมาตรและไม่สมมาตร หากเป็นภาพคนจะมีการหย่อนขาขวาเล็กน้อย มีการสวมชุดแบบทูนิค สวมสร้อยคอที่จัดจังหวะในการออกแบบ ซึ่งเป็นสร้อยรูปทรงแบบปิด เข็มกลัดเป็นรูปทรงสามมิติ เล่นจังหวะระหว่างขนาดเล็กและขนาดใหญ่ได้เป็นอย่างดีสร้างความสมดุลให้เกิดความรู้สึกตรงกันข้าม รูปทรงต่างๆ เชื่อมโยงกันและมีความกลมกลืนกันการออกแบบเช่นนี้จัดเป็นศิลปะคลาสสิคที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของกรีก และนักออกแบบเครื่องประดับหลายสมัยหลังจากนี้ ยังคงนิยมนำลักษณะของศิลปะกรีกนี้มาเป็นแรงบันดาลในในการออกแบบ
หลังจาก 330 ปีก่อนคริสตศักราชนี้ ได้เรียกกรีกช่วงนี้ว่าเฮเลนนิสติคพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชได้เข้าครอบครองดินแดนเปอร์เซีย จึงได้มีการแลกเปลี่ยนระหว่างศิลปะตะวันออกและตะวันตก เนื่องจากการพบเครื่องทองหรือเครื่องประดับอันมีค่า 1,310 ตัน เครื่องเงินอีก 7,598 ตัน ทำให้ช่วงนี้เกิดการค้าทองคำเป็นอันมาก จากการเฟื่องฟูทางด้านการออกแบบเครื่องประดับของยุคคลาสสิค ในสมัยเฮเลนนิสติคได้มีการออกแบบให้มีความอิสระมากขึ้น เน้นการตกแต่งที่สวยงาม เห็นความงามของรูปทรงธรรมชาติ มีการทำมงกุฎที่มีรูปทรงของพืชพรรณเพื่อเป็นรางวัลของผู้ชนะในโอกาสต่างๆ มงกุฎส่วนใหญ่ทำมาจากทองคำ การ์เน็ต คาร์เนลเลี่ยน และทำการลงยา รูปทรงเป็นรูปดอกไม้ ใบไม้ล้อมรอบกัน การออกแบบเครื่องประดับของกรีกสมัยเฮเลนนิสติค นิยมเป็นรูปทรงเปิด ได้รับอิทธิพลทางด้านความเป็นท้องถิ่น โดยมีหินอัญมณีเจียระไนแบบเบี้ยหลังเต่า ไข่มุก และการลงยาเป็นส่วนประกอบที่สำคัญในการให้สี ให้ดูเหมือนธรรมชาติมากที่สุด การออกแบบเครื่องประดับของกรีกเช่นนี้เรียกว่า kymation
เทคนิคการผลิตเครื่องประดับของชาวกรีกได้พัฒนามาถึงขั้นการหล่อทองคำด้วยขี้ผึ้ง กับโคลน และการใช้ไฟในการหลอมละลาย จัดเป็นเทคนิคที่แสดงถึงความก้าวหน้าทางการผลิตเครื่องประดับเป็นอย่างมาก เนื่องจากการผลิตเครื่องประดับในปัจจุบันยังคงใช้หลักการหล่อโลหะด้วยหลักการนี้อยู่
การนำทองคำมาผลิตเป็นเครื่องประดับของกรีก นำมาใช้หลังจากไมซีเนอีกทีหนึ่ง เมื่อ 500 ถึง 400 ปีก่อนคริสตศักราช พระเจ้าอเล็กซานเดอร์ได้นำกองทัพเข้าสู่โลกเพื่อค้นหาแหล่งทองคำ ทองคำจึงได้นำมาใช้อย่างกว้างขวาง ทั้งการทำเหรียญ เครื่องประดับ และสิ่งของ วัสดุเริ่มหายาก มีราคาแพง แต่สังคมยังให้ความสนใจ เพราะเป็นสิ่งที่ตามแฟชั่นการแต่งกาย เป็นการเพิ่มเสน่ห์ของผู้สวมใส่ มีทั้งหินแข็ง หินคริสตัล มีการค้นพบโรงงานแก้ว พบลูกปัดแก้วมากกว่าหนึ่งหมื่นชิ้นที่ถูกขุดขึ้นมา ผลิตด้วยเทคนิคการพับ การดึง การกด และการม้วน ได้รวมถึงรูปทรงหัวใจ แตงโม เรขาคณิต รูปทรงกระบอกและจี้ห้อยคอ นอกจากนี้ยังพบลูกปัดทองคำในแก้ว รูปดวงตา รูปทรงปลาโลมา จักรวาล ทรงเหลี่ยม การใช้สีสันแบบโมเสส และแก้วที่โปร่งใส
ลักษณะต้นแบบโบราณ
ลักษณะการนำต้นแบบมาพัฒนาใหม่ หรือมาเป็นแรงบันดาลใจในการออกแบบ
ลักษณะการออกแบบรูปแบบใหม่
ลักษณะการออกแบบข้ามวัฒนธรรม
ประวัติศาสตร์ศิลปะเครื่องประดับตะวันตกยุดก่อนประวัติศาสตร์
ประวัติศาสตร์ศิลปะเครื่องประดับอารยธรรมโบราณ
ศิลปะเครื่องประดับอียิปต์ (Egypt)
ยุค Middle Kingdom หรือยุคอาณาจักรกลาง
ยุค New Kingdom หรือยุคอาณาจักรใหญ่
ศิลปะเครื่องประดับเมโสโปเตเมีย (Mesopotamia)
ศิลปะเครื่องประดับมิโนอัน - ไมซีเน (Minoan - Mycenae)
ศิลปะเครื่องประดับกรีก (Greek)
ศิลปะเครื่องประดับอีทรัสกัน (Etrucan)
ศิลปะเครื่องประดับเชลติก (Celtic)
ยุค Princes
ยุควัฒนธรรม La Tene
ยุคขยายอาณาจักร
ยุคอิทธิพลของนักรบ
ศิลปะเครื่องประดับโรมัน (Rome)
ศิลปะเครื่องประดับไบแซนไทน์ (Byzantine)
ประวัติศาสตร์ศิลปะเครื่องประดับตะวันตกยุคประวัติศาสตร์
ศิลปะเครื่องประดับช่วงยุคกลาง
ศิลปะเครื่องประดับโกธิค (Gothic)
ศิลปะเครื่องประดับสมัยเรอนาซองค์ (Renaissance)
ศิลปะเครื่องประดับแมนเนอริส (Mannerist)
นักออกแบบเครื่องประดับ Benvenuto Cellini
การออกแบบเครื่องประดับเชิงนามธรรม
ศิลปะเครื่องประดับสมัยอลิซาเบธที่ 1
ศิลปะเครื่องประดับบาร็อค (Baroque)
การประดิษฐ์ตกแต่ง
ศิลปะเครื่องประดับโรโคโค
ศิลปะเครื่องประดับนีโอคลาสสิค
ศิลปะเครื่องประดับคาเมโอ (Cameo)
ศิลปะเครื่องประดับนโปเลียนกับโจเซฟิน (Napoleon & Josephine)
ศิลปะเครื่องประดับแบบคัทสติล (Cut Steel)
ศิลปะเครื่องประดับแบบแชทเทิลเลน (Chatelaines)
ศิลปะเครื่องประดับสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 19
ศิลปะเครื่องประดับอนุรักษ์นิยม
นักออกแบบเครื่องประดับ Fortunato Pio Castellani
นักออกแบบเครื่องประดับชื่อนาย Carlo Giuliano
นักออกแบบเครื่องประดับชื่อ Peter Carl Faberge
นักออกแบบเครื่องประดับชื่อ Eugene Fontenay
ศิลปะเครื่องประดับอาร์ตนูโว (Art Nouveau)
นักออกแบบเครื่องประดับชื่อ Rene Lalique
นักออกแบบเครื่องประดับชื่อ Charles Lewis Tiffany
ศิลปะเครื่องประดับวิคตอเรีย (Victoria)
ศิลปะเครื่องประดับสมัยใหม่
ศิลปะเครื่องประดับช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1
นักออกแบบเครื่องประดับ Fulco di Verdura
ศิลปะเครื่องประดับอาร์ตเดโค (Art Deco)
ศิลปะเครื่องประดับยุค 1920
ศิลปะเครื่องประดับยุค 1930
นักออกแบบเครื่องประดับเทียมชื่อ McClelland Barclay
ศิลปะเครื่องประดับยุค 1940
บริษัทที่ออกแบบเครื่องประดับเทียมชื่อ Trifari
บริษัทเครื่องประดับเทียมชื่อ Coro
บริษัทเครื่องประดับเทียมชื่อ Boucher
บริษัทเครื่องประดับเทียมชื่อ Haskell
บริษัทเครื่องประดับแท้ชื่อ Cartier
บริษัทเครื่องประดับแท้ชื่อ Van Cleep & Arpels
ศิลปะเครื่องประดับยุค 1950
นักออกแบบเครื่องประดับชื่อ Daniel Swarovski
บริษัทเครื่องประดับเทียมชื่อ Eisenberg
บริษัทเครื่องประดับเทียมชื่อ Hobe
ศิลปะเครื่องประดับยุค 1960
นักออกแบบเครื่องประดับชื่อ Bulgari
ศิลปะเครื่องประดับยุค 1970
ศิลปะเครื่องประดับยุค 1980
ศิลปะเครื่องประดับยุค 1990
ศิลปะเครื่องประดับหลังสมัยใหม่
ศิลปะเครื่องประดับมินิมอล (Minimalism)
ศิลปะเครื่องประดับเชิงศิลปะ
ศิลปะเครื่องประดับเชิงอุตสาหกรรม