ศิลปะ หัตถกรรม สถาปัตยกรรม ประติมากรรม สันทนาการ >>
นักออกแบบเครื่องประดับชื่อ Peter Carl Faberge
นาย Faberge เป็นช่างทองประจำราชสำนักคนสุดท้ายแห่งราชวงศ์โรมานอฟ ประเทศรัสเซีย ซึ่งอยู่ในช่วงสมัยพระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2 ได้จัดว่าเป็นช่างทองที่มีชื่อเสียงมากที่สุดคนหนึ่งของวงการเครื่องประดับในประเทศทางตะวันตก มีรูปแบบเครื่องประดับรวมทั้งสิ่งของที่มีการตกแต่งเครื่องประดับทั้งรูปแบบเก่าและรูปแบบใหม่อย่างสวยงาม โดยรูปแบบเก่าที่นำมาเป็นแรงบันดาลใจนั้น นิยมนำรูปแบบไบแซนไทน์ซึ่งเป็นศิลปะดั้งเดิมของประเทศรัสเซียมาเป็นแรงบันดาลใจเป็นหลัก หรือนำการตกแต่งแบบไบแซนไทน์มาใช้ประกอบในการออกแบบเครื่องประดับนอกจากจะเป็นที่รู้จักกันดีของวงการเครื่องประดับในประเทศทางตะวันตกมายาวนานแล้ว ผลงานเครื่องประดับหลายชิ้นได้ปรากฏทางฝั่งประเทศตะวันออกด้วย และบุตรชายคนที่ 3 นาย Nicolas Faberge ยังเคยสินค้ามาจำหน่ายที่ประเทศไทยด้วยเช่นกัน
เครื่องประดับของ Faberge เป็นสิ่งที่น่าสนในยิ่ง โดยเฉพาะทางด้านรูปแบบการออกแบบและเทคนิคการผลิต เพราะมีการออกแบบ การสร้างลวดลายที่สวยงาม เอกลักษณ์และเทคนิคการผลิตบางส่วนทีแตกต่างจากช่างทองในสมัยเดียวกัน โดยเฉพาะการสร้างพื้นผิวบนโลหะ ซึ่งเป็นเทคนิคเฉพาะ ลอกเลียนแบบได้ยาก โดยการทำเป็นลวดลายแบบพื้นผิวด้วยเครื่องจักรที่คิดค้นและทำการลงยาทับบนลวดลายอีกทีหนึ่ง การแกะสลักรูปสัตว์ต่างๆ ดอกไม้ และบุคคลสำคัญ ซึ่งได้มีการศึกษาสิ่งนั้นๆ ก่อนที่จะแกะสลักได้อย่างสวยงาน ส่วนผลงานของ Faberge ที่โดดเด่นที่สุดแห่งคริสต์ศตวรรษที่ 19 นี้คือ การออกแบบไข่อีสเตอร์ด้วยกรรมวิธีการผลิตแบบเครื่องประดับ ซึ่งเป็นผลงานการออกแบบที่เป็นเอกลักษณ์จวบจนทุกวันนี้ รูปแบบการออกแบบนอกจากเป็นรูปทรงไข่แล้ว ยังเสนอเรื่องราวเหตุการณ์ในปีนั้นๆ ของประเทศรัสเซียด้วย จัดเป็นผลงานทางประวัติศาสตร์ของประเทศรัสเซียได้ดี และเป็นเครื่องประดับที่มีค่าในการถวายแด่พระเจ้าซาร์แห่งราชวงศ์โรมานอฟทุกปี จึงทำให้ไข่อีสเตอร์ของนาย Faberge เป็นที่งดงามมากที่สุดและเป็นรูปแบบที่มีการลอกเลียนแบบมากที่สุดด้วย
กิจการของ Faberge ได้สิ้นสุดลงเมื่อเกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 ถึงแม้ว่าบุตรชายได้พยายามในการสร้างผลงานที่ดี สุดท้ายยังคงเหลือแต่ผลงานที่มีความโดดเด่น และราคาเครื่องประดับของ Faberge มีแต่ราคาที่สูงมากขึ้น
นักออกแบบเครื่องประดับที่มีผลงานโดดเด่นในช่วงนี้อีกคนหนึ่งคือนาย Eugene Fontenay เป็นนักออกแบบเครื่องประดับที่นำแรงบันดาลในจากประวัติศาสตร์มาออกแบบใหม่ได้อย่างสวยงามมีชื่อเสียงทางด้านคุณภาพผลงานที่มีความประณีต
ลักษณะต้นแบบโบราณ
ลักษณะการนำต้นแบบมาพัฒนาใหม่ หรือมาเป็นแรงบันดาลใจในการออกแบบ
ลักษณะการออกแบบรูปแบบใหม่
ลักษณะการออกแบบข้ามวัฒนธรรม
ประวัติศาสตร์ศิลปะเครื่องประดับตะวันตกยุดก่อนประวัติศาสตร์
ประวัติศาสตร์ศิลปะเครื่องประดับอารยธรรมโบราณ
ศิลปะเครื่องประดับอียิปต์ (Egypt)
ยุค Middle Kingdom หรือยุคอาณาจักรกลาง
ยุค New Kingdom หรือยุคอาณาจักรใหญ่
ศิลปะเครื่องประดับเมโสโปเตเมีย (Mesopotamia)
ศิลปะเครื่องประดับมิโนอัน - ไมซีเน (Minoan - Mycenae)
ศิลปะเครื่องประดับกรีก (Greek)
ศิลปะเครื่องประดับอีทรัสกัน (Etrucan)
ศิลปะเครื่องประดับเชลติก (Celtic)
ยุค Princes
ยุควัฒนธรรม La Tene
ยุคขยายอาณาจักร
ยุคอิทธิพลของนักรบ
ศิลปะเครื่องประดับโรมัน (Rome)
ศิลปะเครื่องประดับไบแซนไทน์ (Byzantine)
ประวัติศาสตร์ศิลปะเครื่องประดับตะวันตกยุคประวัติศาสตร์
ศิลปะเครื่องประดับช่วงยุคกลาง
ศิลปะเครื่องประดับโกธิค (Gothic)
ศิลปะเครื่องประดับสมัยเรอนาซองค์ (Renaissance)
ศิลปะเครื่องประดับแมนเนอริส (Mannerist)
นักออกแบบเครื่องประดับ Benvenuto Cellini
การออกแบบเครื่องประดับเชิงนามธรรม
ศิลปะเครื่องประดับสมัยอลิซาเบธที่ 1
ศิลปะเครื่องประดับบาร็อค (Baroque)
การประดิษฐ์ตกแต่ง
ศิลปะเครื่องประดับโรโคโค
ศิลปะเครื่องประดับนีโอคลาสสิค
ศิลปะเครื่องประดับคาเมโอ (Cameo)
ศิลปะเครื่องประดับนโปเลียนกับโจเซฟิน (Napoleon & Josephine)
ศิลปะเครื่องประดับแบบคัทสติล (Cut Steel)
ศิลปะเครื่องประดับแบบแชทเทิลเลน (Chatelaines)
ศิลปะเครื่องประดับสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 19
ศิลปะเครื่องประดับอนุรักษ์นิยม
นักออกแบบเครื่องประดับ Fortunato Pio Castellani
นักออกแบบเครื่องประดับชื่อนาย Carlo Giuliano
นักออกแบบเครื่องประดับชื่อ Peter Carl Faberge
นักออกแบบเครื่องประดับชื่อ Eugene Fontenay
ศิลปะเครื่องประดับอาร์ตนูโว (Art Nouveau)
นักออกแบบเครื่องประดับชื่อ Rene Lalique
นักออกแบบเครื่องประดับชื่อ Charles Lewis Tiffany
ศิลปะเครื่องประดับวิคตอเรีย (Victoria)
ศิลปะเครื่องประดับสมัยใหม่
ศิลปะเครื่องประดับช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1
นักออกแบบเครื่องประดับ Fulco di Verdura
ศิลปะเครื่องประดับอาร์ตเดโค (Art Deco)
ศิลปะเครื่องประดับยุค 1920
ศิลปะเครื่องประดับยุค 1930
นักออกแบบเครื่องประดับเทียมชื่อ McClelland Barclay
ศิลปะเครื่องประดับยุค 1940
บริษัทที่ออกแบบเครื่องประดับเทียมชื่อ Trifari
บริษัทเครื่องประดับเทียมชื่อ Coro
บริษัทเครื่องประดับเทียมชื่อ Boucher
บริษัทเครื่องประดับเทียมชื่อ Haskell
บริษัทเครื่องประดับแท้ชื่อ Cartier
บริษัทเครื่องประดับแท้ชื่อ Van Cleep & Arpels
ศิลปะเครื่องประดับยุค 1950
นักออกแบบเครื่องประดับชื่อ Daniel Swarovski
บริษัทเครื่องประดับเทียมชื่อ Eisenberg
บริษัทเครื่องประดับเทียมชื่อ Hobe
ศิลปะเครื่องประดับยุค 1960
นักออกแบบเครื่องประดับชื่อ Bulgari
ศิลปะเครื่องประดับยุค 1970
ศิลปะเครื่องประดับยุค 1980
ศิลปะเครื่องประดับยุค 1990
ศิลปะเครื่องประดับหลังสมัยใหม่
ศิลปะเครื่องประดับมินิมอล (Minimalism)
ศิลปะเครื่องประดับเชิงศิลปะ
ศิลปะเครื่องประดับเชิงอุตสาหกรรม