ศิลปะ หัตถกรรม สถาปัตยกรรม ประติมากรรม สันทนาการ >>
บริษัทเครื่องประดับแท้ชื่อ Van Cleep & Arpels
ส่วนบริษัท Van Cleep & Arpels เป็นบริษัทที่ก่อตั้งขึ้นโดยมีนาย Alfred Van Cleep นาย Charles Arpels และนาย Julien Arpels ร่วมกัน โดยเริ่มเปิดร้านที่กรุงปารีส โดยเน้นผู้บริโภคที่มีฐานะ เนื่องจากบริษัท Van Cleep & Arpels ได้ออกแบบเครื่องประดับที่มีความหรูหราและสามารถเป็นเครื่องประดับแฟชั่นได้ดี
การออกแบบเครื่องประดับได้นำแรงบันดาลใจจากรูปทรงเรขาคณิตเป็นหลัก เนื่องจากสามารถผลิตในเชิงอุตสาหกรรมได้ดี จนผลงานเครื่องประดับของบริษัทได้เข้าร่วมงานนิทรรศการที่กรุงปารีส นอกจากเครื่องประดับที่ออกแบบเชิงเรขาคณิตแล้ว ยังนำรูปแบบในเชิงประวัติศาสตร์ที่นิยมในคริสต์ศตวรรษที่ 20 มาออกแบบร่วมสมัยด้วย โดยเฉพาะในยุค 1930 บริษัท Van Cleep & Arpels ได้ออกแบบรูปแบบนี้อย่างชัดเจน เช่น รูปแบบอียิปต์ นโปเลียน หลุยส์ เป็นต้น ลูกค้าส่วนใหญ่เป็นบุคคลที่มีชื่อเสียง ทั้งดารานักแสดง พระบรมวงศานุวงศ์ หรือบุคคลสำคัญต่างๆ ถึงแม้จะเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 บริษัท Van Cleep & Arpels ยังสามารถดำรงอยู่ได้ การออกแบบเครื่องประดับในช่วงนี้ได้พัฒนารูปแบบทางด้านพื้นผิวให้เกิดความโดดเด่นมาทดแทนสามารถเป็นเทคนิคที่มีความทันสมัยมากกว่าเครื่องประดับบริษัทอื่นๆ จึงทำให้บริษัท Van Cleep & Arpels มีความโดดเด่นมาดในช่วงยุค 1940 เป็นต้นลำดับต่อมา
เครื่องประดับแท้สามารถผลิตเครื่องประดับแบบอุตสาหกรรมได้ดีไม่แพ้กับเครื่องประดับเทียมที่กำลังได้รับความนิยมอยู่ในขณะนั้น แต่คุณภาพและความเป็นเครื่องประดับแท้แสดงถึงคุณค่าอย่างชัดเจน ซึ่งเป็นจุดขายที่สายเครื่องประดับแท้ได้เปรียบอยู่มาก แต่เครื่องประดับในยุค 1940 นี้ได้รับอิทธิพลการแต่งกายแบบแฟชั่นหรือแต่งกายตามแนวโน้มเป็นส่วนมากแล้ว ทำให้เครื่องประดับเทียมมีโอกาสทางการตลาดได้ดีกว่า ในปริมาณมาก เนื่องจากแฟชั่นได้แสดงแนวโน้มเป็นฤดูกาล ประเทศทางตะวันตกแบ่งฤดูกาลออกเป็นสีฤดู ทำให้การเคลื่อนไหวการแต่งกายตามแฟชั่นจึงเป็นช่วงสั้นๆ มีสีสันเฉพาะฤดู ดังนั้นเครื่องประดับเทียมจึงสามารถทำการตกแต่งร่างกายให้เป็นไปตามสมัยได้ดีกว่า และเกิดการตื่นเต้นในการแต่งกายใหม่ๆ ที่ดีกว่า จึงทำให้สุภาพสตรีทั้งหลายหันมาสวมใส่เครื่องประดับเทียมกันมาก ยิ่งเป็นยุคที่มีการทำยอดทางการตลาดด้วยวิธีการโฆษณากับสื่อต่างๆ ด้วยแล้ว เครื่องประดับเทียมจัดเป็นสีสันของเครื่องแต่งกายที่ดีเยี่ยม
ต่อมาเริ่มมีการทำลอกเลียนแบบซึ่งกันและกันเพื่อการแข่งขันที่เข้มข้นกันอยู่นั้น ได้เกิดความสมดุลของการได้เปรียบเสียเปรียบ เช่น บริษัท Trifari ทำเครื่องประดับจริงได้มีคุณภาพเหมือนกับบริษัทของ cartier และบริษัทของ VanCleep & Arpels ทำให้เป็นช่วงที่นักออกแบบเครื่องประดับเริ่มแข่งขันทางด้านการออกแบบกันสูงมาก โดยเฉพาะรูปแบบสมัยใหม่ ที่มีการออกแบบด้านการนำเสนอแนวความคิดก่อน มีการเลือกรูปทรงต่างๆ และตรวจสอบความต้องการของผู้บริโภค เป็นต้น ทำให้การออกแบบเครื่องประดับเป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก
จากความเข้มข้นทางธุรกิจของเครื่องประดับที่กล่าวมาในเบื้องต้นนั้น ทำให้นักออกแบบต่างคิดค้นหารูปแบบต่างๆ มานำเสนอ เพื่อให้เครื่องประดับของตนเองได้รับความสนใจ และสามารถขายผลงานได้ จึงทำให้ในยุคนี้เกิดการออกแบบเครื่องประดับที่เรียกว่า Retro หรือเครื่องประดับที่ประกอบด้วยโลหะกับความสวยงามของ อัญมณี ที่มีความโดดเด่นเพียงเม็ดเดียวหรืออัญมณีสีที่มีขนาดใหญ่ ในขณะนั้นได้มีบริษัทขายอัญมณีเทียมที่ทำมาจากแก้ว ได้ผลิตมาจากประเทศออสเตรีย ประเทศเช็กโกสโลวาเกีย และประเทศเยอรมนี เป็นตัวแทนจำหน่ายที่สำคัญ ซึ่งนักออกแบบเครื่องประดับส่วนใหญ่ได้ออกแบบเครื่องประดับแบบ Retro นี้ในรูปแบบที่คลาสสิค และมีผลงานหลายชิ้นที่ทำมาจากโลหะเงิน กับหินหรืออัญมณีกึ่งมีค่าอย่างแอมิทิส อะความารีน ทับทิม และโทปาซมากที่สุด
รูปแบบของดอกไม้ การผูกโบว์ ริบบิ้น ได้เป็นอีกงานออกแบบรูปแบบหนึ่งที่เครื่องประดับยุค 1940 นี้นิยมเช่นเดียวกัน เป็นรูปแบบที่มีเสน่ห์และสร้างความหลากหลายของเครื่องประดับได้มาก นอกจากรูปแบบของดอกไม้ พรรณไม้ต่างๆ แล้ว รูปแบบ Novelty เป็นอีกรูปแบบหนึ่งที่เกิดขึ้นเช่นกัน โดยอิงเรื่องราวมาใช้ในงานออกแบบเครื่องประดับ ซึ่งเป็นงานผลิตแบบอุตสาหกรรมที่ราคาไม่แพงมาก และทำการลดราคาได้อย่างรวดเร็ว เป็นรูปแบบที่สนุก มีสีสัน และมีหลายผลิตภัณฑ์ เหมาะแก่การให้เป็นของขวัญให้กับผู้อื่นได้ โดยลักษณะการออกแบบนอกจากมาเรื่องราวต่างๆ แล้ว การออกแบบมักจะมีการพิมพ์รูปแบบจากแม่พิมพ์ ทำให้การสร้างเรื่องราวเป็นไปได้โดยง่าย
นอกจากเป็นเครื่องประดับที่ทำมาจากโลหะแล้ว พลาสติกเป็นอีกวัสดุหนึ่งที่มีความนิยมเช่นกัน โดยเฉพาะบริษัท Trifari และบริษัท Cohn & Rosenberger ซึ่งได้นำพลาสติกใสมาผลิตเป็นเครื่องประดับได้อย่างน่าอัศจรรย์ เพราะแสดงถึงความสดในของเครื่องประดับได้เป็นอย่างดี โดยออกแบบเครื่องประดับในนามของ jelly belly เป็นผลงานการออกแบบที่ได้รับความนิยมมากและทำการขายได้เป็นอย่างดี อีกรูปแบบหนึ่งที่ปรากฏในยุค 1940 นี้คือ เครื่องประดับของกลุ่มชาวเม็กซิโก เนื่องจากโดยภูมิศาสตร์ของประเทศเม็กซิโกนั้น เป็นประเทศที่อยู่ทางตอนใต้ของประเทศสหรัฐอเมริกา และประเทศสหรัฐอเมริกาจัดเป็นตลาดการซื้อขายเครื่องประดับที่มีขนาดใหญ่ในโลก รูปแบบเครื่องประดับของชาวเม็กซิโก จึงเป็นที่น่าสนใจของเครื่องประดับโลกได้โดยง่าย หากตลาดสหรัฐอเมริกาให้ความสนใจ โดยสิ่งที่น่าสนใจของเครื่องประดับจากประเทศเม็กซิโกก็คือ การนำวัฒนธรรมของเม็กซิโกที่มีความแปลกใหม่ในขณะนั้นเป็นสิ่งนำเสนอเครื่องประดับเป็นเช่นนี้เรื่อยมาจนถึงช่วงปลายของยุค 1940 ซึ่งบริษัท Christian Dior ได้ทำการออกแบบเครื่องประดับ โดยได้เปลี่ยนแปลงรูปแบบใหม่ หรือเปลี่ยนแปลงประวัติศาสตร์ทางด้านการออกแบบเครื่องประดับนั่นก็คือ การออกแบบคอลเลคชั่นเครื่องประดับในคอลเลคชั่นที่ชื่อว่า New Look เมื่อปี ค.ศ.1947 โดยเน้นการออกแบบให้แสดงถึงการเล่นแสงของอัญมณี โดยใช้อัญมณีจำนวนมากให้เล่นแสงกันเอง จัดเป็นการออกแบบที่ท้าทายมาในการปิดท้ายในช่วงยุค 1940 นี้ เพราะรูปแบบนี้ได้รับความนิยมมาจนถึงปี ค.ศ.1950
ลักษณะต้นแบบโบราณ
ลักษณะการนำต้นแบบมาพัฒนาใหม่ หรือมาเป็นแรงบันดาลใจในการออกแบบ
ลักษณะการออกแบบรูปแบบใหม่
ลักษณะการออกแบบข้ามวัฒนธรรม
ประวัติศาสตร์ศิลปะเครื่องประดับตะวันตกยุดก่อนประวัติศาสตร์
ประวัติศาสตร์ศิลปะเครื่องประดับอารยธรรมโบราณ
ศิลปะเครื่องประดับอียิปต์ (Egypt)
ยุค Middle Kingdom หรือยุคอาณาจักรกลาง
ยุค New Kingdom หรือยุคอาณาจักรใหญ่
ศิลปะเครื่องประดับเมโสโปเตเมีย (Mesopotamia)
ศิลปะเครื่องประดับมิโนอัน - ไมซีเน (Minoan - Mycenae)
ศิลปะเครื่องประดับกรีก (Greek)
ศิลปะเครื่องประดับอีทรัสกัน (Etrucan)
ศิลปะเครื่องประดับเชลติก (Celtic)
ยุค Princes
ยุควัฒนธรรม La Tene
ยุคขยายอาณาจักร
ยุคอิทธิพลของนักรบ
ศิลปะเครื่องประดับโรมัน (Rome)
ศิลปะเครื่องประดับไบแซนไทน์ (Byzantine)
ประวัติศาสตร์ศิลปะเครื่องประดับตะวันตกยุคประวัติศาสตร์
ศิลปะเครื่องประดับช่วงยุคกลาง
ศิลปะเครื่องประดับโกธิค (Gothic)
ศิลปะเครื่องประดับสมัยเรอนาซองค์ (Renaissance)
ศิลปะเครื่องประดับแมนเนอริส (Mannerist)
นักออกแบบเครื่องประดับ Benvenuto Cellini
การออกแบบเครื่องประดับเชิงนามธรรม
ศิลปะเครื่องประดับสมัยอลิซาเบธที่ 1
ศิลปะเครื่องประดับบาร็อค (Baroque)
การประดิษฐ์ตกแต่ง
ศิลปะเครื่องประดับโรโคโค
ศิลปะเครื่องประดับนีโอคลาสสิค
ศิลปะเครื่องประดับคาเมโอ (Cameo)
ศิลปะเครื่องประดับนโปเลียนกับโจเซฟิน (Napoleon & Josephine)
ศิลปะเครื่องประดับแบบคัทสติล (Cut Steel)
ศิลปะเครื่องประดับแบบแชทเทิลเลน (Chatelaines)
ศิลปะเครื่องประดับสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 19
ศิลปะเครื่องประดับอนุรักษ์นิยม
นักออกแบบเครื่องประดับ Fortunato Pio Castellani
นักออกแบบเครื่องประดับชื่อนาย Carlo Giuliano
นักออกแบบเครื่องประดับชื่อ Peter Carl Faberge
นักออกแบบเครื่องประดับชื่อ Eugene Fontenay
ศิลปะเครื่องประดับอาร์ตนูโว (Art Nouveau)
นักออกแบบเครื่องประดับชื่อ Rene Lalique
นักออกแบบเครื่องประดับชื่อ Charles Lewis Tiffany
ศิลปะเครื่องประดับวิคตอเรีย (Victoria)
ศิลปะเครื่องประดับสมัยใหม่
ศิลปะเครื่องประดับช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1
นักออกแบบเครื่องประดับ Fulco di Verdura
ศิลปะเครื่องประดับอาร์ตเดโค (Art Deco)
ศิลปะเครื่องประดับยุค 1920
ศิลปะเครื่องประดับยุค 1930
นักออกแบบเครื่องประดับเทียมชื่อ McClelland Barclay
ศิลปะเครื่องประดับยุค 1940
บริษัทที่ออกแบบเครื่องประดับเทียมชื่อ Trifari
บริษัทเครื่องประดับเทียมชื่อ Coro
บริษัทเครื่องประดับเทียมชื่อ Boucher
บริษัทเครื่องประดับเทียมชื่อ Haskell
บริษัทเครื่องประดับแท้ชื่อ Cartier
บริษัทเครื่องประดับแท้ชื่อ Van Cleep & Arpels
ศิลปะเครื่องประดับยุค 1950
นักออกแบบเครื่องประดับชื่อ Daniel Swarovski
บริษัทเครื่องประดับเทียมชื่อ Eisenberg
บริษัทเครื่องประดับเทียมชื่อ Hobe
ศิลปะเครื่องประดับยุค 1960
นักออกแบบเครื่องประดับชื่อ Bulgari
ศิลปะเครื่องประดับยุค 1970
ศิลปะเครื่องประดับยุค 1980
ศิลปะเครื่องประดับยุค 1990
ศิลปะเครื่องประดับหลังสมัยใหม่
ศิลปะเครื่องประดับมินิมอล (Minimalism)
ศิลปะเครื่องประดับเชิงศิลปะ
ศิลปะเครื่องประดับเชิงอุตสาหกรรม