ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม >>

วรรณกรรมพระพุทธศาสนาในสังคมยุคใหม่

ควอนตัมฟิสิกส์ กับ พระพุทธศาสนา

หลังจากคาปร้าได้วิพากษ์กระบวนทัศน์ตะวันตกที่ตั้งอยู่บนฐานคิดที่ผิดพลาดแล้ว เขาได้กล่าวถึงปรากฏการณ์อันแปลกประหลาดที่นักวิทยาศาสตร์ไม่เคยเจอมาก่อน คือ การสำรวจเกี่ยวกับอะตอม และอนุภาคที่เล็กกว่าอะตอม พวกเขาได้สัมผัสกับความเป็นจริงที่แปลกประหลาด และคาดไม่ถึง จนถึงกลับทำให้โลกทัศน์ของวิทยาศาสตร์แบบเดิมต้องแตกสลาย และบังคับให้พวกเขาต้องคิดด้วยวิธีใหม่อย่างสิ้นเชิง ถือว่าเป็นสิ่งไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในวงการวิทยาศาสตร์ กล่าวคือในคริสต์ศตวรรษที่ 20 นักฟิสิกส์ต้องเผชิญกับการท้าทายอย่างจริงจังเป็นครั้งแรกเกี่ยวกับความสามารถของเขาในการเข้าใจเอกภพ ทุกครั้งที่เขาถามปัญหาเกี่ยวกับธรรมชาติโดยการทดลองเกี่ยวกับอะตอม ธรรมชาติจะตอบในลักษณะผกผันขัดแย้งในตัวของมันเอง (paradox) และยิ่งเขาพยายามทำให้สิ่งต่าง ๆ ชัดเจนขึ้นเท่าไร ความผกผันก็ยิ่งปรากฏชัดเจนมากขึ้นเท่านั้น จากความพยายามที่จะเข้าใจความจริงใหม่นี้เอง ที่นักวิทยาศาสตร์เริ่มตระหนักถึงข้อจำกัดของความคิดพื้นฐาน ภาษาที่ใช้ ตลอดจนวิธีการคิดทั้งหมดว่า ไม่เพียงพอที่จะอธิบายถึงปรากฏการณ์ของอะตอมได้ ดังที่เวอเนอร์ ไฮเซนเบิร์ก ได้กล่าวไว้ว่า

ผมยังจำได้ถึงการถกเถียงกับบอห์รเป็นเวลาหลายชั่วโมง จนเวลาล่วงเลยเกือบค่อนคืน และเราก็จบลงด้วยความรู้สึกแทบจะสิ้นหวัง หลังจากการสนทนา ผมออกมาเดินเล่นคนเดียวในสวนสาธารณะใกล้บ้าน ผมพูดกับตัวเองซ้ำแล้วซ้ำเล่าว่า เป็นไปได้ละหรือที่ธรรมชาติจะเหลวไหลถึงปานนั้น อย่างที่ปรากฎต่อเราในการทดลองเกี่ยวกับอะตอม

แม้ไอน์สไตน์ ก็ได้กล่าวไว้ในลักษณะเดียวไฮเซนเบิร์กว่า “ความพยามทั้งหมดของผมในการปรับพื้นฐานทางทฤษฎีของวิชาฟิสิกส์ ให้เข้าใจกับความรู้สึกอย่างใหม่นี้ ต้องล้มเหลวอย่างสิ้นเชิง มันเหมือนกับว่าพื้นดินถูกดึงออกจากที่เรายืนและไม่มีพื้นฐานอันมั่นคงใด ๆ พอให้เราทรงตัวอยู่ได้”

ปรากฏการณ์อันแปลกประหลาดที่ว่านี้ก็คือ อะตอมไม่ใช่อนุภาคที่แข็งแกร่งและทำลายไม่ได้ตามทฤษฎีเดิมอีกต่อไป หากแต่ประกอบด้วยที่ว่างอันกว้างขวางและภายในที่ว่างนี้มีอนุภาคที่เล็กมากที่เรียกว่าอิเล็กตรอน เคลื่อนที่อยู่รอบนิวเคลียส หลายปีต่อมาทฤษฎีควอนตัมได้ให้ความกระจ่างว่า แม้อนุภาคที่เล็กกว่าอะตอม คือ อิเล็กตรอน โปรตอน และนิวตรอนในนิวเคลียส ก็มิใช่วัตถุแข็งตันตามแนวคิดเดิมของฟิสิกส์ดั้งเดิม หน่วยที่เล็กกว่าอะตอมของสสารเป็นความจริงที่ได้ใจได้ยาก โดยที่มีลักษณะที่ตรงกันข้ามสองลักษณะอยู่ในตัวของมัน (duality of particle-wave) ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับวิธีที่เราศึกษามัน บางครั้งมันก็ปรากฏในรูปของอนุภาค(particle) บางครั้งก็ปรากฏในรูปของคลื่น (wave) และธรรมชาติอันแตกต่างกันเป็นสองลักษณะเช่นนี้ก็ปรากฏอยู่ในแสงด้วย คือแสงอาจจะอยู่ในรูปของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าหรืออนุภาคก็ได้ ไอน์สไตน์เรียกอนุภาคของแสงนี้ว่า “ควอนตา” (quanta) จึงเป็นที่มาของทฤษฎีควอนตัม

คาปร้า กล่าวต่อไปว่า ทวิลักษณะ (duality) ของสสารและแสงนี้ เป็นสิ่งที่แปลกประหลาดมาก เป็นเรื่องที่แทบเป็นไปไม่ได้ที่จะยอมรับว่าสิ่งหนึ่งเป็นได้ทั้งอนุภาคที่จำกัดตัวอยู่ในปริมาตรที่เล็กมาก และขณะเดียวกันก็เป็นคลื่นที่แผ่กระจายไปในอวกาศอย่างกว้างขวาง ยกตัวอย่างอิเล็กตรอน มันไม่ใช่ทั้งอนุภาคหรือคลื่น เพียงแต่จะปรากฏคล้ายอนุภาคในสถานการณ์หนึ่ง และคล้ายคลื่นในอีกสถานการณ์หนึ่ง นี้แสดงว่าทั้งอิเล็กตรอน และอนุภาคอื่นๆ ของอะตอมไม่มีคุณลักษณะที่แท้จริงของตัวมันเองที่เป็นอิสระจากสิ่งแวดล้อม ลักษณะที่ปรากฏตัวคล้ายอนุภาค หรือคล้ายคลื่น ล้วนขึ้นอยู่กับสถานการณ์ทดลอง กล่าวคือขึ้นอยู่กับอุปกรณ์ที่จะทำให้มันมีปฏิกิริยาตอบโต้ออกมา

คาปร้ามองว่าทฤษฎีควอนตัมฟิสิกส์มีส่วนคล้ายคลึงกับแนวคิดแบบองค์รวมของพระพุทธศาสนามาก โดยเฉพาะทฤษฎีบูทสแตรป (Bootstrap) ของจอฟฟรีย์ ชิว ที่เสนอขึ้นมาในปี ค.ศ. 1960 ทฤษฎีบูทสแตรปเสนอว่า ธรรมชาติไม่สามารถถูกลดส่วนลงเป็นหน่วยพื้นฐานเหมือนหน่วยย่อยพื้นฐานของวัตถุ แต่ต้องทำความเข้าใจธรรมชาติในแง่ของความสอดคล้องต้องกันของส่วนทั้งหมด วิชาฟิสิกส์ทั้งปวงต้องดำเนินไปตามข้อกำหนดในลักษณะที่ส่วนประกอบต่าง ๆ ของมันมีความสัมพันธ์ ที่สอดคล้องซึ่งกันและกันและสอดคล้องภายในตัวมันเองด้วย ความคิดนี้ทำให้เกิดการแยกขาดขั้นรากฐาน จากวิธีการวิจัยพื้นฐานทางฟิสิกส์แบบเดิม ๆ ซึ่งจะมีแนวโน้มจะหาส่วนประกอบพื้นฐานของวัตถุ ปรัชญาบูทสแตรปไม่เพียงแต่ปฏิเสธความคิดเกี่ยวกับหน่วยพื้นฐานของวัตถุเท่านั้น แต่ยังปฏิเสธสิ่งที่เป็นพื้นฐานทุกอย่างด้วย ไม่มีสิ่งคงตัว กฎ หรือสมการขั้นพื้นฐานใด ๆ เอกภพเป็นข่ายใยที่มีความเคลื่อนไหวแห่งเหตุการณ์ที่เชื่อมโยงถึงกันและกัน ไม่มีคุณสมบัติของส่วนใด ๆ ในข่ายใยนี้ที่ถือว่าเป็นคุณสมบัติพื้นฐาน หากจะเป็นไปตามคุณสมบัติของส่วนอื่น ๆ และตามความสอดคล้องโดยส่วนรวมของความสัมพันธ์เชื่อมประสาน ซึ่งเป็นตัวกำหนดโครงสร้างของข่ายใยทั้งหมด คาปร้ามองว่าแนวคิดนี้ความสอดคล้องกับแนวคิดของพระพุทธศาสนา ดังที่เขากล่าวไว้ว่า “หลักการพื้นฐานทางปรัชญาวิทยาศาสตร์ของชิวนั้น ขัดแย้งอย่างถึงรากเหง้ากับประเพณีวิทยาศาตสตร์ทางตะวันตก แต่สอดคล้องกับแนวคิดของตะวันออก โดยเฉพาะอย่างยิ่งพระพุทธศาสนา” และเขาได้กล่าวต่อไปอีกว่า

ในขณะที่ทัศนะการมองจักรวาลว่าเป็นข่ายใยของความสัมพันธ์ต่าง ๆ นั้นเป็นลักษณะพิเศษของความคิดทางตะวันออก ผมได้แสดงให้เห็นว่า เอกภพและความสัมพันธ์ซึ่งและกันของสรรพสิ่งและเหตุการณ์นั้น ได้มีการแสดงไว้อย่างชัดเจนที่สุดและอธิบายไว้อย่างละเอียดที่สุดในศาสนาพุทธฝ่ายมหายาน ความคิดของพระพุทธศาสนาสำนักนิกายนี้สอดคล้องกลมกลืนอย่างสมบูรณ์กับฟิสิกส์แนวบูตสแตรปทั้งในด้านปรัชญาทั่วไปและในเรื่องเฉพาะเกี่ยวกับสสาร

ยุคใหม่ในสังคมตะวันตก
ยุคใหม่ในสังคมไทย
วรรณกรรมแบบจารีตลังกา
จักรวาลวิทยาแบบไตรภูมิ
วรรณกรรมในช่วงเปลี่ยนผ่านเข้าสู่สังคมยุคใหม่
แนวโน้มวรรณกรรมพระพุทธศาสนาในสังคมยุคใหม่
โครงเรื่องแนวเหตุผลนิยม
การวิพากษ์เรื่องอภินิหาร
การตีความเรื่องอภินิหาร
การวิพากษ์ความไม่สมเหตุสมผล
ยุคใหม่ตอนกลาง : วรรณกรรมของท่านพุทธทาสภิกขุ
ภาษาคน-ภาษาธรรม : ทฤษฎีการตีความของท่านพุทธทาส
การวิพากษ์พระไตรปิฎก อรรถกถา และวิสุทธิมรรค
การปฏิเสธจักรวาลวิทยาแบบอภิปรัชญา
การตีความปฏิจจสมุปบาทแนวใหม่
การฟื้นฟูมิติโลกุตรธรรม
วรรณกรรมของพระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต)
การฟื้นฟูมิติทางสังคมแนวพุทธ
การวิพากษ์ฐานคิดตะวันตกและเสนอแนวคิดแบบองค์รวมเชิงพุทธ
วรรณกรรมของฟริตจ๊อฟ คาปร้า
ทัศนะแบบจักรกล (mechanistic view)
ทรรศนะแบบลดทอน (Reductionistic view)
แนวคิดพิชิตธรรมชาติ (conquest of nature)
ควอนตัมฟิสิกส์ กับ พระพุทธศาสนา
กลุ่มวรรณกรรมที่เน้นพุทธจริยธรรมเชิงสังคม
วรรณกรรมของนายแพทย์ประเวศ วสี
วรรณกรรมของนิธิ เอียวศรีวงศ์
วรรณกรรมที่เน้นจริยธรรมแบบผูกพันกับสังคม
วรรณกรรมของนายแพทย์ประสาน ต่างใจ
นิพพานในฐานะเป็นวิวัฒนาการขั้นสูงสุดของจิต
วรรณกรรมของปริญญา ตันสกุล
โครงสร้างจิตและการทำงานของจิต
การเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏ
การปฏิบัติเพื่อเข้าสู่นิพพาน
วรรณกรรมพระพุทธศาสนากับแนวคิดหลังสมัยใหม่
บทสรุป
บรรณานุกรม

แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย

ข้อเขียน-บทความ »

» จินตนา แก้วขาว กราบเธอที่ดวงใจ
» ทะริด ตะนาวศรี คนไทยที่ถูกลืม
» ปู่เย็น ณ สะพานลำใย แห่งลุ่มแม่น้ำเพชรบุรี

» จอมยุทธ แห่งบ้านจอมยุทธ (รวมงานเขียน)
» ฉายเดี่ยว (รวมงานเขียน)
» งูเขียว หางบอบช้ำ (รวมงานเขียน)

» ตีหัวเข้าบ้าน ตะคอกโลก ตีหัวหมา
» ผายลมนี้มีผลย้อนหลัง
» ได้แต่หวังว่า เราจะอยู่ร่วมกันได้บนโลกที่เปรียบเสมือนบ้านของเราใบนี้ ด้วยความรู้สึกที่ดีประดุจดั่งกินข้าวจากหม้อเดียวกัน

» ขอเป็นตาแก่ขี้บ่นในหัวใจเธอ
» เมื่อคนขับรถปลอมตัวไปเล่นหุ้น (บันทึกการเล่นสด)

นิยาย-เรื่องสั้น »

» ตำนานบันลือโลก
» บันทึกทรราชย์
» ผมเกือบได้เป็นนักแต่งเพลงชื่อดังเสียแล้ว
» ชีวิตเริ่มต้นอีกครั้งหลังเกษียณ
» แสนยานุภาพแห่งการรอคอย