ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม >>
กำเนิดพุทธปรัชญา
พระพุทธเจ้า พระนามเดิมว่า เจ้าชายสิตถะ ผู้เป็นต้นกำเนิดของพุทธปรัชญา เป็นราชโอรส ของ พระเจ้าสุทโธทนะ กับพระนางสิริมหามายา กษัตริย์ผู้คอรงกรุงบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของอินเดีย ประสูติ ณ ลุมพินีวัน ตั้งอยู่ระหว่างกรุงกบิลพัสดุ์ และกรุงเทวหะ ประสูติเมื่อ วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 (วันวิสาขบูชา) ก่อนพุทธศักราช 80 ปี หลังจากเจ้าชายสิทธัตถะประสูติได้เพียง 7 วัน พระมารดาก็สิ้นพระชนม์
ครั้งเจ้าชายสิทธัตถะเจริญวัยได้รับการศึกษาจากสำนักครูวิศวามิตร เป็นผู้ถวายการศึกษาแก่เจ้าชาย การศึกษาของเจ้าชายสิทธัตถะได้ก้าวหน้า และจบการศึกษาอย่างรวดเร็ว
เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะมีพระชนมายุได้ 16 พรรษา ได้อภิเษกสมรส กับพระนางพิมพาหรือ ยโสธรา ต่อมาก็ได้พระโอรสองค์หนึ่งพระนามว่า ราหุล แม้เจ้าชายสิทธัตถะจะทรงสุขสำราญเพียบพร้อมไปด้วยสมบัติ แต่พระองค์ก็มิได้ทรงหลงใหลอยู่กับสิ่งเหล่านั้น พระองค์ทรงสนพระทัยในปัญหาต่าง ๆ อยู่เสมอ ปัญหาที่กำลังสำคัญต่อประชาชนอยู่ในขณะนั้น คือ ความทุกข์ยากของประชาชน เจ้าชายสิทธัตถะจึงทรงตัดสินพระทัยออกผนวช ขณะที่พระองค์ทรงมีพระชนมายุได้ 29 พรรษา เพื่อที่จะทำการค้นหาหนทางแก้ไขความทุกข์ยากทั้งปวง
หลังจากที่พระองค์ได้ทรงผนวชเสด็จเข้าศึกษาในสำนักของคณาจารย์ที่มีชื่อเสียง สำนักของอาฬารดาบส และ อุทกดาบส เมื่อพระองค์ได้ศึกษาค้นคว้าจากสำนักอาจารย์ต่าง ๆ แล้ว พระองค์ก็พบว่าคำสอนและวิธีปฏิบัติของบรรดาอาจารย์เหล่านั้นมิใช่หนทางแห่งการดับทุกข์ได้หมดสิ้น ดังนั้น พระองค์จึงออกมาค้นหาสัจธรรมด้วยพระองค์เอง
ในการออกผนวช ครั้งนั้น ได้มีพราหมณ์ 5 คน คือ ปัญจวัคคีย์ ได้ติดตามอุปัฏฐากพระองค์ โดยมีจุดมุ่งหมายว่า เมื่อพระองค์ ได้ตรัสรู้แล้วจะได้สอนให้พวกตนได้รู้ตาม พระพุทธเจ้า ทรงออกมาค้นหาหนทางแห่งการดับทุกข์ พระองค์ ทรงเริ่มทำความเพียรที่เรียกว่า ทุกกรกิริยา เป็นการบำเพ็ญเพียรทางกาย โดยเริ่มจากการทรงเอาพระทนต์กดพระทนต์ ทรงกลั้นลมอัสสะ ปัสสาสะ (กลั้นลมหายใจเข้าออก) จนกระทั่งทรงอดอาหาร การทรงอดพระกระยาหารนั้น ทำให้พระวรกายของพระองค์ผ่ายผอม
พระองค์ก็ทรงพบว่าไม่ใช่วิธีการที่จะนำตนไปสู่การดับทุกข์ ในที่สุดพระองค์ก็ทรงเลิกวิธีการบำเพ็ญเพียร เป็นเหตุให้พวกปัญจวัคคีย์วิจารณ์กันว่า พระองค์ทรงละทิ้งการทำความเพียรกลับมาเป็นคนมักมากเสียแล้ว เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว พระองค์ก็คงจะไม่สามารถตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าได้ ปัญจวัคคีย์จึงตกลงใจพากันหลีกหนีไปอยู่ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี
เมื่อพระพุทธเจ้า ทรงอยู่เพียงลำพังพระองค์เอง พระองค์ก็ทรงบำเพ็ญเพียรทางจิตต่อไป จนตรัสรู้ สัมโพธิญาณได้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ก่อนพุทธศักราช45 ปี (วันวิสาขบูชา) สัจธรรมที่พระองค์ค้นพบ ก็คือ ความจริงอันประเสริฐ 4 ประการ หรือ อริยสัจ 4 ซึ่งเป็นความจริงแท้ที่นำไปสู่การดับทุกข์ เป็นหนทางข์ในการดับทุกข์ มีดังนี้ คือ
1. ทุกข์ คือ การมีอยู่ของทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ และตายล้วนเป็นทุกข์ ความเศร้าโศก ความโกรธ ความอิจฉาริษยา ความวิตกกังวล ความกลัวและความผิดหวังล้วนเป็น ทุกข์ การพลัดพรากจากของที่รักก็เป็นทุกข์ ความเกลียดก็เป็นทุกข์ ความอยาก ความยึดมั่นถือมั่น ความยึดติดในขันธ์ทั้ง 5 ล้วนเป็นทุกข์
2. สมุทัย
คือ เหตุแห่งทุกข์ เพราะอวิชา ผู้คนจึงไม่สามารถเห็นความจริงของชีวิต พวกเขาตกอยู่ในเปลวเพลิงแห่งตัณหา ความโกรธ ความอิจฉาริษยา ความเศร้าโศก ความวิตกกังวล ความกลัว และความผิดหวัง
3. นิโรธ คือ ความดับทุกข์ การเข้าใจความจริงของชีวิตนำไปสู่การดับความเศร้า โศกทั้งมวล อันยังให้เกิดความสงบและความเบิกบาน
4. มรรค คือ หนทางนำไปสู่ความดับทุกข์ อัน
ได้แก่ อริยมรรค 8 คือ
1. สัมมาทิฏฐิ คือ ความเข้าใจถูกต้อง
2. สัมมาสังกัปปะ คือ ความใฝ่ใจถูกต้อง
3. สัมมาวาจา คือ การพูดจาถูกต้อง
4. สัมมากัมมันตะ คือ การกระทำถูกต้อง
5. สัมมาอาชีวะ คือ การดำรงชีพถูกต้อง
6. สัมมาวายามะ คือ ความพากเพียรถูกต้อง
7. สัมมาสติ คือ การระลึกประจำใจถูกต้อง
8. สัมมาสมาธิ คือ การตั้งใจมั่นถูกต้อง
การปฏิบัติธรรมทุกขั้นตอน รวมลงในมรรคอันประกอบด้วยองค์แปดนี้ เมื่อรวมกันแล้วเหลือเพียง 3 คือ
- ศีล สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ
- สมาธิ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ
- ปัญญา สัมมาทิฎฐิ สัมมาสังกัปปะ
สรุป คือ การปฏิบัติธรรม (ศีล-สมาธิ-ปัญญา) คือ การเดินทางตามมรรค ซึ่งได้รับการหล่อ เลี้ยงด้วยการดำรงชีวิตอย่างมีสติความมีสตินำไปสู่สมาธิและปัญญาซึ่งจะปลดปล่อย ให้พ้นจากความทุกข์และความโศกเศร้าทั้งมวลอันจะนำไปสู่ความศานติและ ความเบิกบาน พระพุทธองค์ได้ทรงเมตตานำทางพวกเราไปตามหนทางแห่งความรู้แจ้งนี้
เมื่อพระสัมมาสมพุทธเจ้าทรงตรัสรู้แล้ว พระองค์ทรงออกประกาศสัจธรรม เพื่อประโยชน์สุขแก่ชาวโลกต่อไป โดยระลึกถึงอาจารย์ทั้งสอง คือ อาฬารดาบสและอุทกดาบส ก็ทราบว่าท่านทั้งสองได้สิ้นชีวิตไปแล้ว พระองค์จึงทรงระลึกถึง เหล่าปัญจวัคคีย์ ที่พอจะเข้าใจสัจธรรมได้ง่ายกว่าคนอื่น แล้วได้เสด็จไปยังป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี เมือพบพราหมณ์ทั้ง 5 แล้ว ทรงแสดงปฐมเทศนา โดยแสดง ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร แก่บรรดาปัญจวัคคีย์ โกณฑัญญะเป็นผู้ได้ดวงตาเห็นธรรมเป็นคนแรก ในที่สุดโกณฑัญญะก็ขอบวชในพระพุทธศาสนา และเป็นพระสงฆ์รูปแรกในพุทธศาสนา (วันอาสาฬหบูชา) ดังนั้น พระรัตนตรัย (แก้วสามดวง) จึงเกิดขึ้นครบบริบูรณ์
หลังจากนั้น พระพุทธองค์ ทรงประกาศศาสนา และส่งสาวกจาริกไปยังส่วนต่าง ๆ เพื่อสั่งสอนประชาชนให้เกิดประโยชน์สุข และประโยชน์เกื้อกูลแก่ประชาชนเหล่านั้น พระองค์ทรงบำเพ็ญพุทธกิจอยู่เป็นเวลานานถึง 45 ปี พระพุทธองค์เข้าสู่ปรินิพพาน ณ เมืองกุสินารา เมื่อพระชนมายุได้ 80 พรรษา ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 (วันวิสาขบูชา) ก่อนที่พระองค์จะเข้าสู่ปรินิพพาน พระองค์ได้ประทาน ปัจฉิมโอวาทว่า (วันมาฆบูชา) ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ เราขอเตือนพวกเธอทั้งหลายให้รู้ สังขารทั้งหลายมีการเสื่อมสลายไปเป็นธรรมดาเธอทั้งหลาย จงยังกิจของตนและผู้อื่นให้บริบูรณ์ด้วยความไม่ประมาทเถิด (โอวาทปาติโมกข์) พระพุทธเจ้ามิได้ทรงแต่ตั้งให้สาวกรูปใดเป็นศาสดาแทนพระองค์ โดยพระองค์ตรัสว่า พระธรรมวินัยเป็นศาสนาแทนพระองค์ การที่จะเห็นพระพุทธองค์นั้นก็คือการเห็นธรรมวินัย ดังที่พระพุทธองค์ตรัสว่า ใครเห็นธรรมว่าเห็นเรา