ขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรม อารยธรรม >>
สาเหตุที่มนุษย์มีการแต่งกายแตกต่างกัน
การแต่งกายไทยตามสมัยประวัติศาสตร์และโบราณคดี
การแต่งกายสมัยรัตนโกสินทร์
การเปลี่ยนแปลงและพัฒนาการของการใช้เสื้อผ้าในแต่ละยุคสมัย
การเปลี่ยนแปลงและพัฒนาการของการใช้เครื่องประดับในแต่ละยุคสมัย
การแต่งกายของชาวเขาในประเทศไทย
การแต่งกายชาวเอเซีย
การแต่งกายชาวตะวันออกกลางและยุโรป
การแต่งกายของยุโรปตอนเหนือ
แนวความคิดในการออกแบบเครืองแต่งกายจากสมัยต่าง ๆ
การแต่งกายสมัยรัตนโกสินทร์
การแต่งกายสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน
(รัชกาลที่ 9 พ.ศ. 2489) ทรงครองราชย์มาถึงปัจจุบัน
ในปี พ.ศ. 2503 มีเหตุการณ์เกี่ยวกับการแต่งกายที่ต้องบันทึกไว้ นั่นคือ เกิดชุดประจำชาติ
ของฝ่ายหญิงสำหรับเป็นเครื่องแต่งกายหลัก แสดงเอกลักษณ์ไทยโดยตรง
ต้นเดิมของเรื่องที่ปรากฏไว้อย่างแจ่มชัดในหนังสือพระราชนิพนธ์ของสมเด็จพระนางเจ้าฯ
พระบรมราชินีนาถชื่อหนังสือ ความทรงจำในการตามเสด็จต่างประเทศทางราชการ ซึ่ง
เป็นหนังสือที่กล่าวถึงการตามเสด็จเยือนยุโรปและอเมริกา 14 ประเทศอย่างเป็นทางการของ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชนินีนาถ เมื่อ ปี พ.ศ. 2503
รวมเวลา ถึง 6 เดือน
ในการตระเตรียมการครั้งนั้น สมเด็จฯ ทรงกล่าวว่า การตระเตรียมเสื้อผ้าเครื่อง
แต่งกายก็นับเป็นเรื่องสำคัญสำหรับผู้หญิงเรา เพราะต้องเสียเวลาไปนานและหลายเดือน
ในหลายฤดูกาล นอกจากนั้น ที่สำคัญยิ่งคือประสบปัญหาเรื่อง เสื้อผ้าที่จะใช้เป็นแบบฉบับ
คือ ชุดประจำชาติที่เหมาะสมกับสมัย
ด้วยปัญหานีเ้อง พระองค์โปรดฯ ให้ช่วยกันค้นพระบรมรูปของพระมเหสีเก่ามาทอดพระเนตร
พิจารณา แต่ก็ทรงเห็นว่า ชุดต่าง ๆ ในอดีตเหล่านี้ ไม่เข้ากับสมัยปัจจุบันเลย บางชุดก็บวกเอา
เสื้อ แบบฝรั่งเข้ามาผสมผ้านุ่งเสียด้วยซำ้ เช่น ชุดที่สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถทรง
ฉลองพระองค์แขนพองแบบขาหมูแฮม เป็นต้น ส่วนพระบรมราชินีในรัชกาลที่ 6 แม้จะทรงนุ่งซิ่น
ก็จริง แต่ฉลองพระองค์ข้างบนกลับเป็นแบบฝรั่งสมัยหลังสงครามโลกครั้งแรกเสียอีก
ดังนั้น จึงทรงตัดสินพระทัยให้คิดแบบขึ้นใหม่ โดยให้หม่อมหลวงมณีรัตน์ บุนนาค ไปพบ
กับอาจารย์ที่มีความรู้ทางประวัติศาสตร์ ช่วยกันค้นคว้าและออกแบบขึ้น ในที่สุดก็เกิดเป็นชุดไทย
ที่มีความเป็นไทยออกมานับแต่นั้น ชุดเหล่านี้ ภายหลังเรียกว่า ชุดไทยพระราชนิยม ส่วนมาก
นิยมใช้ผ้าไหม และผ้าซิ่นเป็นหลัก มีชื่อชุดและกาลเทศะสำหรับใส่ต่าง ๆ กัน มีผู้โดยเสด็จกัน
แพร่หลาย จนเป็นที่คุ้นตา และเป็นการแต่งกายสำหรับชุดประจำชาติฝ่ายหญิงโดยแท้จริง
ชื่อชุดไทยพระราชนิยม ได้แก่
-
ไทยเรือนต้น ใช้แต่งในงานที่ไม่เป็นพิธี และต้องการความสบาย เช่น ไปเที่ยว
-
ไทยจิตรลดา เป็นชุดไทยพิธีกลางวัน ใช้รับประมุขต่างประเทศเป็นทางการหรืองาน สวนสนาม
-
ไทยอมรินทร์ สำหรับงานเลี้ยงรับรองตอนหัวค่ำ อนุโลมไม่คาดเข็มขัดได้
-
ไทยบรมพิมาน ชุดไทยพิธีตอนค่ำ คาดเข็มขัด
-
ไทยจักรี คือชุดไทยสไบ
-
ไทยดุสิต สำหรับงานพิธีตอนคํ่า จัดให้สะดวกสำหรับสวมสายสะพาย
-
ไทยจักรพรรดิ เป็นแบบไทยแท้
-
ไทยศิวาลัย เหมาะสำหรับเมื่ออากาศเย็น
ชุดไทยพระราชนิยม
สมเด็จพระบรมราชินีนาถทรงเป็นผู้นำในการแต่งกายอย่างแท้จริง ทั้งทรงมีพระสิริโฉม
งดงามด้วย บรรดาผู้เชี่ยวชาญการออกแบบเครื่องแต่งกายสตรีของโลกจำนวน 2,000 คน
ได้เคยถวายพระเกียรติด้วยการออกเสียงให้เป็นสตรี 1 ใน 10 ที่ฉลองพระองค์งดงามที่สุดในโลก
ของรอบปี พ.ศ. 2503 และ 2504 กับได้ทรงรับเลือกขึ้น เป็นสตรีผู้มีการแต่งกายเยี่ยมที่สุดในโลก
ของรอบปี พ.ศ. 2506 และ 2507 ต่อมายังทรงได้รับพระเกียรติจารึกพระนามาภิไธยในหอแห่ง
เกียรติคุณ ณ นครนิวยอร์ค สหรัฐอเมริกา ในบรรดาสตรีแต่งกายงามที่สุดในโลก 12 คน
ประจำปี พ.ศ. 2508
การแต่งกายในระยะแรกต่อเนื่องจากรัชกาลก่อน คือ ชายสวมกางเกงทรงหลวม ๆ
เสื้อเชิ้ต
ส่วนหญิงนุ่งกระโปรงหรือนุ่งผ้าถุง เสื้อคอแบบต่าง ๆ หรือเสื้อเชิ้ต ของผู้ชายจะมีเปลี่ยนแปลงบ้าง
ก็มีเสื้อคอฮาวายเพิ่มเข้ามา เป็นเสื้อที่ปกไม่ตั้งเหมือนเสื้อปกเชิ้ต ส่วนผู้หญิงก็มีการเปลี่ยนแปลง
หรือเพิ่มเติมทรงกระโปรง ช่วงต้นรัชกาลจะมีกระโปรงที่เรียกกันคุ้นหู 3 แบบ คือ
-
กระโปรงนิวลุค เป็นกระโปรงบาน ใช้ผ้าเฉลียงวงกลม ในช่วงปี 2493
-
กระโปรง 4 ชิ้น 6 ชิ้น 8 ชิ้น
-
กระโปรงสุ่มไก่ เป็นกระโปรงที่มีโครงไม้กลม ๆ อยู่ข้างใน สอดในรอยต่อระหว่างชั้น ทุกชั้น เหมือนห่วงฮูลาฮูบ มีจีบรอบด้วย
เสื้อในสมัยนั้น นิยมประดับลูกไม้ จีบระบาย ผมดัดหยิก
มีเสื้อผ้าทรงวัยรุ่นชาวกรุงสมัยรัฐบาลจอมพลสฤษฎ์ ธนะรัตน์ เรียกว่า ทรงออร์เหลน
มีลักษณะเด่นคือ นุ่งกางเกงขาลีบ เสื้อพอง ได้รับอิทธิพลจากดาราภาพยนตร์ประเภทร็อคแอนโรล
ซึ่งในสมัยนั้น โด่งดังมาก
ในช่วงประมาณปี 2511 จะมีกระโปรงชนิดหนึ่งแพร่เข้ามาจากต่างประเทศคือ มินิสเกิ้ต
เป็นกระโปรงสั้น เหนือเข่า และที่สั้น กว่ากระโปรงมินิสเกิ้ต เรียกว่า ไมโครสเกิ้ต ในขณะเดียวกัน
คนที่ไม่นุ่งกระโปรงมินิสเกิ้ต ก็จะนุ่งกระโปรงมิดี้เป็นกระโปรงครึ่งน่อง ถ้ายาวลงมาจนกรอมเท้า
เรียกว่า กระโปรงแม็กซี่ ใส่กันในงานราตรี ในสมัยกระโปรงมินิสเกิตจะมีรองเท้าหนา ๆ สูงมารองรับ
สูงถึงประมาณ 3-4 นิ้ว หรือกว่านี้บางคนเรียกว่า ตึก หรือ เตารีด
ในช่วงปี พ.ศ. 2513 เริ่มมีแฟชั่นผมจากต่างประเทศ คือ ผมฮิปปี้ ประมาณไล่เลี่ยกันก็มี
กางเกงที่นิยมกันคือ กางเกงเด๊ฟ และกางเกงม๊อด
กางเกงม๊อด เป็นกางเกงขาลีบจากต้นขาถึงหัวเข่าแล้วบานออกไปจนคลุมเท้าเหมือนขาม้า
กางเกงม๊อดภายหลังปล่อยตรง เข่าบานออกเท่ากับส่วนอื่น ๆ เรียกว่า ทรงเซลเล่อร์ (Sailor) คนที่
ใส่กางเกงม๊อดมักใช้รองเท้าหัวโตส้นสูง 3-4 นิ้ว
ชายไทยยอมรับเอากางเกงเข้ามาเป็นเครื่องแต่งกายท่อนล่างโดยทั่วไปทั้งประเทศแทน
ผ้านุ่ง เพราะฉะนั้น เมื่อจะแสวงหาชุดประจำชาติของฝ่ายชายจึงปล่อยให้กางเกงเป็นของหลัก
ตายตัวไม่ต้องคิดอีก คิดหาแต่เฉพาะเสื้อซึ่งทำอย่างไรจึงจะดูเป็นไทยและให้ความสง่างามต้องตา
คนที่สุด
ได้มีผู้คิดเรื่องนีกั้นมาพอสมควร บ้างก็คิดส่วนตัว และบ้างก็เผยแพร่ออกไป แต่ที่โด่งดัง
มากนั้น ได้แก่เสื้อซาฟารี เสื้อพ่อขุนรามคำแหง และสุดท้ายที่ลงตัวแล้ว คือ เสื้อพระราชทาน
เสื้อซาฟารีนั้น ที่จริงหาได้แสดงเอกลักษณ์ไทยแต่อย่างใดไม่ แม้แต่เพียงชื่อ เพราะเป็น
เสื้อฝรั่งทั้งดุ้น ฝรั่งใส่กันในอาฟริกาและในเมืองขึ้น ต่าง ๆ ของคนในเอเชีย เนื่องจากสะดวกสบาย
เหมาะกับอากาศร้อน
เสื้อซาฟารีเข้ามาเมืองไทยและฮือฮากันมากในปี พ.ศ. 2516 สรุปความจากบทความใน
หนังสือพิมพ์สยามรัฐเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2516 ก็จะทราบว่าแต่เดิมพลโทแสวง เสนาณรงค์
ใส่คนเดียวก่อนมานานจนจอมพลถนอม กิตติขจรเกิดชอบด้วย ถึงกับประกาศให้ข้าราชการ
แต่งชุดซาฟารีไปทำงาน นับแต่เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2516 เป็นต้นไป
เมื่อเป็นข่าวขึ้น มา ม.ร.ว.คึกฤทธิ ปราโมช ก็เขียนบทความไม่เห็นด้วย ในฉบับวันที่ 13
มิถุนายน พ.ศ. 2516 และ นเรศ นโรปกรณ์ ก็แสดงความตะขิดตะขวงใจออกมาในด้วยในเวลา
ไล่เลี่ยกัน
ถึงกระนั้น ก็มีข้าราชการ และประชาชนผู้ตามสมัยจำนวนมากพากันฮิตเสื้อซาฟารีอัน
กลายเป็นเสื้อ ระดับชาติอยู่พักหนึ่ง แต่ไม่นานก็หมดความนิยมไป เมื่อหนังสือพิมพ์ไม่เห็นด้วย
กับ ชุดซาฟารี โดยอ้างว่าเป็นเสื้อฝรั่ง หรือเสื้อของพวกล่าเมืองขึ้น จอมพลถนอม กิตติขจร ก็
ยอมรับว่าเป็นฝรั่งมากไปหน่อย ไล่เลี่ยกันนั่นเอง คือ เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2516 จึงมีชุดแบบใหม่
ออกมาเสนออีก เช่นที่เป็นข่าวในหนังสือพิมพ์สยามรัฐ ฉบับวันพฤหัสบดีที่ 16 สิงหาคม 2516 จะ
เห็นรูป พันเอกณรงค์ กิตติขจร รองเลขาธิการฝ่ายการเมือง สำนักงานคณะกรรมการตรวจและ
ติดตามผล การปฏิบัติราชการ (ก.ต.ป) ยืนโชว์เสื้อคอกลมเหมือนเสื้อม่อฮ่อมอยู่ แจ้งว่าเป็นชุดที่
จอมพลถนอม กิตติขจร นายกรัฐมนตรี สั่งเอาแบบจากกรมศิลปากรโดยตรง และเป็นเสื้อแบบ
สมัย พ่อขุนรามคำแหง จะอนุโลมให้ข้าราชการแต่งได้อีกนอกเหนือจากการแต่งชุดซาฟารี
แต่ชุดม่อฮ่อมหรือชุดพ่อขุนรามคำแหงดังกล่าวก็ไม่เป็นที่นิยมของประชาชนและ
ข้าราชการนัก จึงไม่มีใครใส่ แล้วก็เลิกล้มกันไปอีกโดยปริยาย
ในที่สุดเมื่อถึง พ.ศ. 2522 จึงเกิดชุดประจำชาติฝ่ายชายขึ้น อย่างแท้จริง และนับเป็นเสื้อ
แสดงเอกลักษณ์ได้ชัดเจนกว่า นับเป็นที่พอใจของคนไทยอย่างแท้จริง
เสื้อดังกล่าวเรียกว่า เสื้อพระราชทาน นำออกเผยแพร่ครั้งแรก เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม
พ.ศ. 2522 โดยพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ขณะนั้น พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ได้ใส่ไปเป็น
ประธานเปิดงานฉลองครบรอบ 60 ปี ของวงเวียน 22 กรกฎาคม เมื่อพวกหนังสือพิมพ์เห็นก็พา
กันแปลกตา และในวันพุธที่ 25 เดือนเดียวกัน ท่านผู้นี้ก็สวมชุดดังกล่าวเข้าไปในสภา ก็พลอยให้
ส.ส. ตื่นเต้น ประหลาดใจกันไปตาม ๆ กัน นับจากนั้น หนังสือพิมพ์ก็ลงข่าวเรื่องเสื้อแบบใหม่กัน
เกรียวกราว และกลายเป็นสัญลักษณ์ของพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ไปเลย เมื่อใครเขียนการ์ตูน
ก็ต้องเขียนให้ท่านสวมชุดพระราชทานติดตัวเสมอไป
พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ไปเปิดเผยถึงที่มาของเสื้อพระราชทาน (เก็บความจาก
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ฉบับวันศุกร์ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2522) ว่าเกิดจากการไปเยือนประเทศใน
อาเซียนประเทศอื่น ๆ ต่างมีชุดของตัว เช่น ชวามีเสื้อบาติก ฟิลิปปินส์มีเสื้อบาลอง แต่สำหรับ
ประเทศไทยซึ่งเป็นประเทศเก่าแก่กลับไม่มีเสื้อประจำชาติ กล่าวกันอย่างง่าย ๆ ก็คือทำให้กระอัก
กระอ่วนใจ หรือเป็นปมด้อยอย่างหนึ่งก็ว่าได้ เมื่อพอเอกเปรม ติณสูลานนท์กลับมาเมืองไทยแล้ว
จึงได้นำความเข้ากราบทูลปรึกษาสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ในที่สุดสมเด็จพระนางเจ้า
ฯ พระบรมราชินีนาถก็ทรงพระราชทานเสื้อให้ตัวหนึ่ง เป็นฉลองพระองค์ที่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ใช้เป็นประจำ พร้อมทั้งพระราชทานแบบเสื้อให้ด้วย จากจุดนีเ้องที่พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ได้
นำมาเผยแพร่และเป็นที่เกรียวกราว และพอใจของทุกฝ่าย ไม่ว่าข้าราชการชั้น ผู้ใหญ่ ส.ส. พ่อค้า
ประชาชน เป็นการค้นหาที่ลงตัวเป็นครั้งแรก ก็มีผู้ยอมรับกันพร้อมเพรียง
ที่น่าสังเกตคือ
เสื้อพระราชทานนีเ้กิดขึ้นหลังจากที่ฝ่ายหญิงมีชุดประจำชาติไปแล้วถึง 19
ปี
เสื้อพระราชทานมี 3 แบบ คือ แบบแขนสั้น แบบแขนยาวคาดผ้า และแบบแขนยาวไม่
คาดผ้า สำหรับแบบคาดผ้านั้น ถือเป็นแบบเต็มยศที่สุด ลักษณะเด่นของเสื้อชนิดนีคื้อ เป็นเสื้อ
คอตั้ง มีสาบผ่าอก กระดุม 5 เม็ด และนิยมทำขลิบขอบต่าง ๆ
ราคาของเสื้อพระราชทานแขนสั้น ที่ตัดขายกันนั้น
มีทั้งที่ราคา 100 กว่าบาทขึ้น ไปแพงขึ้น
เท่าใดก็แล้วแต่เนื้อผ้า เพราะมีทั้งผ้าธรรมดาและผ้าไหม ผ้ามัดหมี่
จนปัจจุบัน พ.ศ. 2531 สตรีไทยก้าวตามแฟชั่นยุโรป โดยเฉพาะปารีส ซึ่งถือเป็นศูนย์กลาง
แฟชั่นของโลกไม่ยอมล้าสมัย ไม่ว่าแฟชั่นฝรั่งจะนิยมแบบใด คนไทยก็รับเอาแบบนั้น มาเป็น
แบบฉบับ จนกล่าวได้ว่าคนไทยยุคนีแ้ต่งกายทันสมัยไม่น้อยหน้าอารยประเทศชาติใดเลย ทำให้
ต้องถือเอาชุดพระราชนิยมและชุดพระราชทานเป็นชุดประจำชาติ ใช้แต่งในโอกาสสำคัญหรือ
งานพระราชพิธีเพื่อความงดงามเป็นเอกลักษณ์ของเครื่องแต่งกายไทย (THAI COSTUME) ไว้
-
แบบแขนสั้น เป็นเสื้อคอตั้งสูงประมาณ 3.5 4 ซ.ม. ตัวเสื้อเข้ารูปเล็กน้อย และผ่าอก ตลอด มีสาบกว้างประมาณ 3.5 ซ.ม. มีขลิบรอบคอและสาบอก ปลายแขนมีขลิบหรือพับแล้ว ขลิบที่รอยเย็บ ติดกระดุม 5 เม็ด กระดุมมีลักษณะเป็นรูปกลมแบนทำด้วยวัสดุหุ้มด้วยผ้าสีเดียวกัน หรือคล้ายคลึงกับเสื้อ กระเป๋าบนมีหรือไม่มีก็ได้ ถ้ามีให้เป็นกระเป๋าเจาะข้างซ้าย 1 กระเป๋า กระเป๋าล่างเป็นกระเป๋าเจาะข้างละ 1 กระเป๋า อยู่สูงกว่าระดับกระดุมเม็ดสุดท้ายเล็กน้อย ขอบกระเป๋ามีขลิบ ชายเสื้ออาจผ่ากันตึง เส้นรอยตัดต่อมีหรือไม่มีก็ได้ ถ้ามีให้เดินจักรทับตะเข็บ
-
แบบแขนยาว เป็นเสื้อคอตั้งสูงประมาณ 3.5-4 ซม. ตัวเสื้อเข้ารูปเล็กน้อย และผ่าอก ตลอดมีสาบกว้างประมาณ 3.5 มีขลิบรอบคอและสาบอกติดกระดุม 5 เม็ด กระดุมมีลักษณะ เป็นรูปกลมและแบนทำด้วยวัสดุหุ้มด้วยผ้าสีเดียวกันหรือคล้ายคลึงกับเสื้อ กระเป๋าบนมีหรือไม่มี ก็ได้ ถ้ามีให้เป็นกระเป๋าเจาะข้างซ้าย 1 กระเป๋า กระเป๋าล่างเป็นกระเป๋าเจาะข้าง 1 กระเป๋า อยู่สูงกว่าระดับกระดุมเม็ดสุดท้ายเล็กน้อย และมีขลิบที่ขอบแขนเสื้อตัดแบบเสื้อสากล ปลายแขน เย็บทาบด้วยผ้าชนิดและสีเดียวกันกับตัวเสื้อ กว้างประมาณ 4-5 ซม. โดยเริ่มจากตะเข็บด้านใน อ้อมด้านหน้าไปสิน้ สุดเป็นปลายมนทับตะเข็บด้านหลังชายเสื้อ อาจผ่ากันตึง เส้นรอยตัดต่อมี หรือไม่ก็ได้ ถ้ามีให้เดินจักรทับตะเข็บ
-
แบบแขนยาวคาดเอว ตัวเสื้อเหมือนแบบที่ 2 แต่มีผ้าคาดเอว ขนาดความกว้าง ความยาวตามความเหมาะสม สีกลมกลืน หรือตัดกับเสื้อ ผูกเงื่อนแน่นทางซ้ายมือของผู้สวมใส่
ภาพประกอบแบบเสื้อพระราชทานของผู้ชาย ได้รวบรวมมาจากหนังสือเสื้อชุดไทย
รัชกาลที่ 4 พ.ศ. 2394 2411 ระยะ 17 ปี
สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
กลางสมัยรัชกาลที่ 5
ปลายรัชกาลที่ 5
สมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
สมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
สมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล
สมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน
เครื่องแต่งกายสำหรับงานพระราชพิธีหรือรัฐพิธี