สุขภาพ ความงาม อาหารและยา สมุนไพร สาระน่ารู้ >>

สมุนไพรต้านโรคมะเร็ง

พลูคาว

พลูคาว เป็นสมุนไพรท้องถิ่นที่พบในประเทศต่างๆ แถบเอเชียตะวันออกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีถิ่นกำเนิดอยู่ในอินโดจีน และประเทศไทยทางภาคเหนือ โดยจะมีลักษณะที่แตกต่างจากพลูชนิดอื่นๆ คือที่ใต้ใบของพลูคาวจะมีสีแดงอ่อนไปจนถึงสีแดงเข้ม ชาวบ้านในภาคเหนือเรียกสมุนไพรชนิดนี้ว่า “ผักคาวตอง”

ตำราไทยโบราณ ใช้ใบพลูคาวแก้กามโรค หนองใน เป็นแผลเปื่อยผุพองทำให้น้ำหนองแห้ง แก้โรคผิวหนัง ผอกฝี เป็นต้น สารสำคัญในพลูคาว คือ น้ำมันหอมระเหย สารกลุ่มฟลาโวนอยด์ สารกลุ่มแอลคาลอยด์
ที่สำคัญพลูคาวยังสามารถรักษาโรคมะเร็งได้อีกด้วย

รายงานการวิจัยฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของสมุนไพรพลูคาวพบว่ามีสารต่อต้านอนุมูลอิสระ ช่วยป้องกันการสลายตัวของโปรตีนและป้องกันการแพ้ชนิดรุนแรงได้ โดยฤทธิ์ดังกล่าวจะส่งผลต่อการรักษาโรคมะเร็งได้และมีฤทธิ์ในการทำลายเซลล์มะเร็งเช่น เซลล์มะเร็งปอด เซลล์มะเร็งรังไข่ เป็นต้น หากผู้ป่วยดื่มน้ำต้มพลูคาวบำรุงร่างกายสามารถช่วยกระตุ้นการสร้างภูมิคุ้มกันในร่างกายผู้ป่วยมะเร็งได้ ทั้งยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษาได้มาก ทำให้อาการของผู้ป่วยดีขึ้นและยืดอายุของผู้ป่วยได้นานกว่าการรักษาโดยแพทย์ปัจจุบัน

กระเทียม
บอระเพ็ด
พลูคาว
สมอไทย
ทองพันชั่ง

แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย

» รอยต่อพัฒนาการ
หนึ่งในมโนทัศน์ของ เลฟ เซเมโนวิช ไวก็อตสกี้ ที่มีชื่อเสียงเป็นอย่างมาก ซึ่งอธิบายเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างการเรียนรู้และพัฒนาการ และเป็นที่รู้จักเป็นอย่างดีในวงการการศึกษาของเด็กปฐมวัยและพัฒนาการเด็ก

» ทฤษฎีการดูแลของวัตสัน
เป็นทั้งปรัชญาและทฤษฏีทางการพยาบาล ที่มีจุดเน้นที่การดูแล ซึ่งพัฒนามาตั้งแต่ปี ค.ศ.1979 ภายใต้อิทธิพลทางด้านมานุษยวิทยา รวมทั้งความรู้สึกผูกพันต่อบทบาทการดูแลเพื่อการฟื้นหายของผู้ป่วยที่วัตสันประจักษ์ด้วยตัวเอง

» ทฤษฎีแห่งการสร้างสรรค์ด้วยปัญญา
ผู้เรียนเป็นฝ่ายสร้างความรู้ขึ้นด้วยตนเอง มิใช่ได้มาจากครูและในการสร้างความรู้นั้น ผู้เรียนจะต้องลงมือสร้างสิ่งใดสิ่งหนึ่งขึ้นมา

» ทฤษฎีและหลักการพัฒนาชุมชน
มิติทางวิชาการหลายมิติที่ซ้อนทับ เคลื่อนไหว และมีปฏิสัมพันธ์ต่อกัน รวมทั้งเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเข้าใจในทุกบริบทที่เกี่ยวข้อง

» การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมไทย
สังคมทุกสังคมย่อมมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นเสมอ ตราบใดที่สังคมนั้นยังต้องมีการติดต่อและสัมพันธ์กับสังคมอื่น การเปลี่ยนแปลงนั้นเป็นปรากฏการณ์ทางสังคมอย่างหนึ่ง

» ทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการ
เมื่อบุคคลปรารถนาที่จะได้รับความพึงพอใจและเมื่อบุคคลได้รับความพึงพอใจในสิ่งหนึ่งแล้วก็จะยังคงเรียกร้องความพึงพอใจสิ่งอื่นๆ ต่อไป ซึ่งถือเป็นคุณลักษณะของมนุษย์