สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>

เศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาประชาธิปไตย

โดยนายสุริยะ วิริยะสวัสดิ์ รองอธิการวิทยาลัยการปกครอง

      เศรษฐกิจพอเพียง คือ กลไกหลักของสังคมไทยที่จะผลักดันให้เกิดความเป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์

ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น เศรษฐกิจพอเพียงเกี่ยวข้องกับการพัฒนาประชาธิปไตยอย่างไร

ประเทศไทยมีข้อด้อย/ข้อเด่น โอกาส และภัยคุกคามในการพัฒนาประเทศอะไรบ้างในด้านการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยและมีความจำเป็นต้องนำเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นหลักในการพัฒนาประชาธิปไตย

บทบาทของเยาวชนนิสิต นักศึกษา ในการส่งเสริมเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อพัฒนาประชาธิปไตยของประเทศให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น

ประชาธิปไตย คือ การปกครองที่เป็นของประชาชน โดยประชาชน และเพื่อประชาชน โดยมีนัยความหมายสำคัญ 3 มิติ

  • มิติที่ 1. อุดมการณ์ทางการเมือง คนทุกคนมีสิทธิเสรีภาพตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด เช่น สิทธิในการชุมนุมอย่างสงบโดยปราศจากอาวุธ สิทธิในชีวิตทรัพย์สิน และเสรีภาพทางศาสนาความเชื่อและการดำรงชีวิต ที่สำคัญ คือ จะต้องไม่มีการละเมิดสิทธิของบุคคลอื่นและมีหน้าที่ที่จะต้องรับผิดชอบต่อรัฐ
  • มิติที่ 2. กระบวนการทางการเมือง การเลือกตั้งการลงประชามติ การจัดตั้งพรรคการเมืองการไปใช้สิทธิเลือกตั้ง การตรวจสอบอย่างอิสระ เป็นต้น
  • มิติที่ 3. วิถีชีวิตประชาธิปไตย การเคารพกฎหมาย การดำรงชีวิตอย่างสุจริต การแก้ไขปัญหาโดยสันติ สร้างความสมานฉันท์ปรองดอง เพื่อความเป็นเอกภาพของชาติ

การปกครองในระบอบประชาธิปไตย จะมีความหลากหลายโดยอาจแบ่งเป็นสังคมนิยมประชาธิปไตยที่ถือว่า ความเป็นสังคมที่แสดงออกโดยพรรคมีความสำคัญกว่าความเป็นปัจเจกชนในขณะที่เสรีประชาธิปไตยจะให้สิทธิเสรีภาพแก่ปัจเจกชนอย่างเต็มที่ โดยรัฐจะเข้าแทรกแซงไม่ได้ ถ้าหากการใช้สิทธิเสรีภาพนั้นไม่ขัดกับความมั่นคงของรัฐ และส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการเมืองการปกครองเต็มที่

การปกครองในระบอบเสรีประชาธิปไตยได้พิสูจน์ให้เห็นว่า เป็นระบอบการปกครองที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมของรัฐที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และกระแสโลกาภิวัตน์ โดยเฉพาะการแพร่ขยายตัวของระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมที่เป็นกลไกขับเคลื่อนประชาธิปไตยได้กลายเป็นระบบเศรษฐกิจของโลก

  • การล่มสลายของสหภาพโซเวียต
  • การทลายลงของกำแพงเบอร์ลิน
  • การปรับเปลี่ยนระบบเศรษฐกิจของจีนและประเทศสังคมนิยมต่าง ๆ เข้าเป็นส่วนหนึ่งของระบบเศรษฐกิจทุนนิยม

ตามหลักวิชาระบบเศรษฐกิจทุนนิยมมีความสัมพันธ์กับประชาธิปไตยแทบเรียกว่า เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน โดยระบบเศรษฐกิจทุนนิยมเป็นกลไกขับเคลื่อนประชาธิปไตยสู่ความสมบูรณ์ คือ ทำให้คนมีสิทธิเสรีภาพอย่างเต็มที่ในการดำรงตนในรัฐที่เป็นประชาธิปไตย

อริสโตเติ้ล จัดให้การปกครองประชาธิปไตยเป็นแนวการปกครองสายกลาง
สุดโต่งด้านหนึ่ง คือ เผด็จการ แต่สุดโต่งอีกด้านหนึ่งคือ อนาธิปไตย คือสภาพบ้านเมืองวุ่นวายไม่มีขื่อมีแป

รัฐที่เหมาะกับการปกครองประชาธิปไตยคือ รัฐที่มีชนชั้นกลางมากที่สุดมากกว่าชนชั้นยากจน หรือชนชั้นมั่งมี

รัฐจะต้องใช้กลไกทั้งทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม ในการพัฒนาความเป็นประชาธิปไตยให้เกิดความเข้มแข็ง โดยเฉพาะการผลักดันให้สังคมประกอบด้วย ชนชั้นกลางที่ตื่นตัวทางการเมือง

แต่ด้วยธรรมชาติของระบบเศรษฐกิจทุนนิยมที่มุ่งผลิตให้มากขึ้น ๆ เพื่อทำกำไรยิ่งขึ้น ทำให้เกิดวิกฤตทางเศรษฐกิจมาอย่างต่อเนื่อง นับตั้งแต่เศรษฐกิจตกต่ำหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 หรือ 2 วิกฤตเศรษฐกิจแฮมเบอร์เกอร์ในปัจจุบัน

การเกิดวิกฤตเศรษฐกิจดังกล่าวหากเกิดในประเทศที่มีประชาธิปไตยเข้มแข็ง เช่น สหรัฐ หรือ อังกฤษ ก็จะไม่ค่อยมีผลกระทบต่อระบบการเมืองการปกครอง แต่หากเกิดกับประเทศที่มีประชาธิปไตยไม่เข้มแข็งอย่างเช่น ประเทศไทย ก็จะมีผลกระทบอย่างมากมายต่อระบบการเมืองการปกครอง

สังคมไทยมีแรงดึงและดันสำคัญคู่หนึ่ง คู่ดังกล่าวคือ กระแสเศรษฐกิจทุนนิยมและกระแสเศรษฐกิจแบบพอเพียง
กระแสเศรษฐกิจทุนนิยมซึ่งเป็นกลไกขับเคลื่อนความเป็นประชาธิปไตยให้มีมากขึ้น เนื่องจากเป็นระบบเศรษฐกิจที่เน้น

  • กระตุ้นให้มนุษย์มีความละโมบโดยมองว่า คนเรามีความต้องการอย่างไม่มีขอบเขตจำกัด
  • กำไรสูงสุด
  • หาจุดประหยัดต่อขนาดใหม่ไม่สิ้นสุด
  • ทิศทางการผลิตไปทางเดียวคือ เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ
  • เน้นการแข่งขันขยายตลาดและหาตลาดใหม่อยู่เสมอ
  • ระดมทรัพยากรมาใช้อย่างฟุ่มเฟือย
  • ประชาชนไม่มีสิทธิเสรีภาพสมบูรณ์ขึ้น
  • เกิดช่องว่างคนจน/คนรวยมากขึ้นและ
  • เกิดการล่มสลายของชุมชน/ครัวเรือน
  • ควรผลิตให้บริการมีความเสี่ยงในการขาดทุนขึ้นเรื่อย ๆ

ประเทศไทยได้เร่งรัดพัฒนาทางเศรษฐกิจตามระบบเศรษฐกิจทุนนิยมอย่างเต็มที่แผนพัฒนาเศรษฐกิจ ฯ แผนที่ 1 – 7 เน้นการเติบโตทางเศรษฐกิจตามแนวทางเศรษฐกิจทุนนิยม ผลการพัฒนาปรกฏว่า เศรษฐกิจดี แต่สังคมมีปัญหาและการพัฒนาไม่ยั่งยืน เพราะผลประโยชน์การพัฒนาตกกับกลุ่มร่ำรวย ชนชั้นยากจนยังมีจำนวนมาก และชุมชน/ครัวเรือน แตกสลาย เนื่องจากมีการโยกย้ายแรงงานจากชนบทเข้าสู่เมือง และคนจนเป็นหนี้สิน และช่วยตัวเองไม่ได้มากขึ้น รวมทั้งถูกกีดกันการมีส่วนร่วมในการเมืองการปกครอง

เมื่อหันมาดูสัดส่วนของคนในสังคมปรากฏว่า คนยากจนมากขึ้น ครอบครองทรัพยากรของประเทศประมาณ 10 – 20 % ชนชั้นกลางเล็กลง และชนชั้นร่ำรวยเล็กลงแต่ครอบครองทรัพยากรของประเทศถึง 50 – 60 %

ชนชั้นยากจน โดยดูจากรายได้ต่ำกว่า 10,000 บาทลงมา จะมีถึง 84 – 85 % ชนชั้นกลาง ประมาณ 14 – 15 % ขณะที่ชนชั้นร่ำรวยมีไม่ถึง 1 % ของคนทั้งประเทศ

ส่วนระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม ขยายตัวถึงจุดอิ่มตัวและพังทลายลงมา ในปี 2540 เพราะเปิดเสรีการเงิน เอกชนยืมเงินมาอย่างมากมายแต่นำมาใช้โดยไม่ก่อให้เกิดรายได้ นั่นคือ เกิดวิกฤตเศรษฐกิจ “ต้มยำกุ้ง” ไทยยืมเงิน IMF หรือ WB มาบริหารประเทศ

เหมือนฝนหลั่งจากฟ้าในช่วงที่ดินกำลังแห้งแล้ง ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระราชทาน “ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” ให้ประชาชนทุกหมู่เหล่านำไปใช้จนสามารถลดความเดือดร้อนจากวิกฤตเศรษฐกิจและความทุกข์ยากที่เกิดขึ้นในขณะนั้น

ชนบทกลายเป็นแหล่งซึมซับคนตกงานกลับไปพักพิงและประกอบอาชีพต่อไป รัฐบาลนำเงินยืมมาใช้จ่ายในโครงการจ้างงานในชนบทอย่างกว้างขวางเพื่อให้คนในชนบทมีรายได้

การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้เปลี่ยนแนวทาง โดยเน้นการพัฒนาคนให้มีความสามารถในการพึ่งตนเองและปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

เศรษฐกิจพอเพียงสามารถแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคม และสนับสนุนการพัฒนาประชาธิปไตย เนื่องจาก

  • เป็นการผลิตที่เน้นจุดประหยัดต่อขนาดแบบพอเพียงสอดคล้องกับสภาพการณ์ โดยไม่ต้องละโมบหาตลาดใหม่เพื่อสร้างกำไรสูงสุด
  • ลดต้นทุนการผลิตและลดความเสี่ยงด้วยการกำหนดราคาไม่สูงหรือต่ำเกินไป ผลิตให้น้อยเท่าที่ศักยภาพมี ลดความเสี่ยงด้วยการผลิตสินค้าที่หลากหลาย และพึ่งพาตนเองได้
  • ให้ความสำคัญกับการเอื้ออาทรพึ่งพาอาศัยกัน มีมิตรจิต มิตรใจต่อกันมากกว่า “แข่งขัน”
  • มุ่งการอยู่ร่วมกันอย่างสมดุจมากกว่าแสวงหากำไรสูงสุด และ
  • แรงงานมีอิสรเสรีภาพในการทำงานไม่ต้องเร่งการผลิตจนเสียความเป็นอิสรเสรี
  • เป็นเศรษฐกิจที่มีทิศทางยืดหยุ่นจะเพิ่มหรือลดได้ตามศักยภาพของผู้ทำ
  • ให้ความสำคัญกับการใช้ทรัพยากรอย่างประหยัด

อย่างไรก็ตามการดำเนินการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศนับแต่แผน ฯ 8 ที่ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นแนวปฏิบัติ

รัฐบาลบางชุดไม่ได้นำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้อย่างเต็มที่ แต่กลับใช้การพัฒนาเศรษฐกิจแบบทุนนิยม คือ กระตุ้นให้ประชาชนใช้เงินเพื่อการบริโภคอย่างเต็มที่ ในชื่อของนโยบายประชานิยม ทำให้เงินที่ผ่านมาประชาชนหมดไปกับการซื้อหาสินค้าฟุ่มเฟือย เช่น โทรศัพท์มือถือ เป็นต้น ทำให้ประชาชนยังไม่สามารถพึ่งตนเองได้ จนเกิดวิกฤตเศรษฐกิจแฮมเบอร์เกอร์และไข้หวัดใหญ่สายพันธ์ใหม่ 2009 ได้ก่อให้เกิดวิกฤตของเศรษฐกิจรวมทั้งทางการเมืองจนถึงปัจจุบัน

ทางการเมือง ประชาชนทั้งชนชั้นยากจนและชนชั้นกลาง ได้มีการแบ่งกลุ่มเพื่อเรียกร้องสิ่งที่ต้องการ ทำให้การเมืองขาดเสถียรภาพ มีการเลือกตั้งใหม่โดยเฉพาะหลังปี 2549 มีการรัฐประหารและสับเปลี่ยนรัฐบาลหลายครั้ง แต่การเคลื่อนไหวต่าง ๆ ทางการเมืองยังมีอย่างต่อเนื่อง และบางครั้งได้นำไปสู่ความรุนแรง จนกระทั่งปัจจุบัน แม้การเมืองจะลดความรุนแรงลง ก็ยังมีการเคลื่อนไหวอยู่

ความขัดแย้งสาเหตุหนึ่งเกิดจากความไม่เข้าใจในหลักประชาธิปไตย ที่ให้ความสำคัญ กับการอยู่ร่วมกันกับคนอื่นที่มีความแตกต่างหลากหลายอย่างมีความสุขสันติได้ นี้คือ หลักการพื้นฐานของประชาธิปไตยที่ประเทศไทยจะต้องมี ไม่ใช่มีแต่การเลือกตั้ง เป็นต้น

เยาวชน เช่น ท่านนักศึกษา นิสิต เป็นพลังสำคัญที่จะทำให้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นกระบวนการทางสังคมในการพัฒนาประชาธิปไตยได้เป็นอย่างดี โดย

  • เทิดทูนสถาบันหลักที่สร้างความเป็นปึกแผ่นให้ประเทศคือ ชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์
  • เผยแพร่หลักประชาธิปไตยอย่างต่อเนื่อง
  • ไปเลือกตั้งทุกระดับและใช้เหตุผลตัดสินใจเลือกผู้สมัครที่ดี
  • ร่วมกันสร้างความสมานฉันท์โดยเริ่มที่บ้านและชุมชน
  • ยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการประพฤติปฏิบัติตน
  • เรียนรู้ชุมชนซึ่งเป็นการเรียนรู้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงอย่างเป็นรูปธรรม
  • สร้างกลุ่ม ชมรม ชุมนุม เพื่อเสวนาถึงเศรษฐกิจและประชาธิปไตยเพื่อพัฒนาองค์ความรู้
  • สร้างและพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือสู่ชุมชน
  • การนำความรู้ไปสร้างประโยชน์ให้กับประชาชนด้อยโอกาสในชนบทหรือเมือง เช่น การตั้งกลุ่มช่วยเหลือ การสร้างค่ายอาสา หรือการอาสาสมัครสในโอกาสต่าง ๆ เป็นต้น

เศรษฐกิจพอเพียงจะเป็นกระบวนการสังคมสร้างประชาธิปไตยที่สำคัญมากน้อยเพียงใดก็ขึ้นอยู่กับภาคีที่เกี่ยวข้องไม่ว่าภาครัฐ ธุรกิจเอกชน หรือองค์การประชาชน โดยเฉพาะเยาวชนที่จะเป็นหัวหอกของการสร้างประชาธิปไตยให้เข้มแข็ง

แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย

» นิยาย-เรื่องสั้น
» ข้อเขียน-บทความ
» บทกวี
» สารคดี-ท่องเที่ยว

» การจัดระเบียบทางสังคม
การจัดระเบียบสังคมเป็นกระบวนการที่สมาชิกได้พัฒนาการกระทำระหว่างกันทางสังคมอย่างมีระเบียบ โดยสมาชิกส่วนรวมของสังคมได้ยอมรับเป็นแนวความประพฤติร่วมกัน

» การควบคุมทางสังคม
วิธีการและกระบวนการทั้งหมด ซึ่งกลุ่มหรือสังคมใช้ในการให้สมาชิกของสังคมปฏิบัติตามที่สังคมคาดหวัง

» ค่านิยมทางเพศ (Sexual Value)
หลักการพื้นฐานที่บุคคลยึดเป็นหลักในการปฏิบัติเพื่อดำเนินชีวิตซึ่งเกี่ยวกับเรื่องเพศ โดยค่านิยมทางเพศของบุคคลเกิดจากการอบรมสั่งสอนจากพ่อแม่ในสถาบันครอบครัว ระบบการศึกษา ประสบการณ์

» ลัทธิของค้านท์
ลัทธิที่ยึดมั่นในคุณธรรมหรือเหตุผลอย่างเคร่งครัด หรือ Moral Purism แปลว่า บริสุทธิ์นิยมทางศีลธรรม หรือบางทีก็เรียกว่า หน้าที่นิยม เพราะเน้นที่หน้าที่เป็นหลัก

» ประชุมพงศาวดาร
การศึกษาหาความรู้พงศาวดาร และตำนานเก่าย่อมถือว่าเป็นส่วนสำคัญอย่างหนึ่งใน การศึกษาทั่วทุกประเทศ

» อปริหานิยธรรม 7
ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความไม่เสื่อม 7 ประการ ผู้ปฏิบัติ ธรรมนี้จะเป็นไปเพื่อความเจริญทั้งฝ่ายบ้านเมืองและฝ่ายสงฆ์

» จริยธรรม
จริยธรรมไม่แยกเด็ดขาดจากศีลธรรม แต่มีความหมายกว้างกว่าศีลธรรม