ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม >>
ตำนานพระฤๅษี
ปีพุทธศักราช ๒๕๕๐ หมายความว่า ศาสนาพุทธล่วงเลยมาแล้วถึง ๒๕๕๐ ปี
นับว่าเป็นศาสนาที่เก่าแก่และมั่นคงมาก
แม้ว่าเวลาที่ผ่านมาจะมีเหตุการณ์ต่างๆผันแปรทำให้ศาสนาพุทธสึกกร่อนลงไปบ้างแต่ปัจุบัน
ศาสนาพุทธก็ยังเป็นศาสนาหนึ่งที่มีผู้คนนับถือมากมายและกระจายไปทั่วทุกมุมโลกก่อนศาสนาพุทธยังมีศาสนาและลัทธิต่างๆอีกมากมายเช่น
ศาสนาพราหมณ์ เป็นต้น
ปัจจุบันศาสนาพุทธกับศาสนาพราหมณ์ใกล้ชิดสนิทสนมจนแทบจะกลืนเป็นเนื้อเดียวกันเมื่อมีพิธีทางศาสนาพุทธ ก็จะต้องมีพิธีทางศาสนาพราหมณ์ร่วมด้วยทุกครั้งเพราะคน ไทยเราเก่งในการผนวก พระฤๅษีเป็นคำเรียกขานของคนที่บำเพ็ญเพียรด้วยความอุตสาหะ เป็นความเชื่อของคนว่าต้องการจะหลุดพ้นจากความทุกข์บ้าง ก็ต้องการที่จะสร้างฤทธิ์สร้างบารมี จึงเกิดมีลัทธิมีการตั้งตัวเป็นอาจารย์สอนศิษย์ให้ประพฤติปฏิบัติตามหลักการ ที่วางไว้พระฤๅษี เป็นคำที่เรียกคนที่มีพลังจิตเด็ดเดี่ยวมุ่งปฏิบัติจนประสบผลสำเร็จในอย่าง ใดอย่างหนึ่ง หรือหลายๆอย่าง เช่นสามารถเหาะเหินเดินอากาศได้ มีวาจาสิทธิ์ และอีก มากมายบางท่านก็เก่งเรื่องยาสมุนไพรเช่น ปู่ชีวกโกมารภัทรซึ่งเป็นแพทย์ประจำพระองค์ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็รวมเรียกท่านอยู่ในกลุ่มของฤๅษีเช่นกัน
พระฤๅษีจัดคัดแยกเอาไว้ ๔ ชั้นหรือ ๔ จำพวก คือ
ชั้นที่ ๑ เรียกว่า ราชรรษี แปลว่า
เจ้าฤๅษีชั้นนี้จะมีความเป็นอยู่ตามพื้นธรรมชาติคือมีความปกติเป็นพื้นฐานเพียงแต่มีความริเริ่มและความพยายามที่จะบำเพ็ญเพียรในเบื้องต้นและปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง
ชั้นที่ ๒ เรียกว่า พรหมรรษี แปลว่า พรพรหมฤๅษี เมื่อปฏิบัติเพียงพอกับความต้องการ
ในเบื้องต้นแล้ว จึงได้ไปบังเกิดเป็น พระพรหม
ชั้นที่ ๓ เรียกว่า เทวรรษี แปลว่า เทพฤๅษี ผู้ที่ปฏิบัติอย่างมุงมั่นด้วยตบะ
จึงมีบารมีมาก พร้อมทั้งมีอิทธิฤทธิ์และมีอำนาจมหาศาล
ชั้นที่ ๔ เรียกว่า มหรรษี แปลว่า
มหาฤๅษีชั้นนี้นอกจากมีอิทธิฤทธิ์ที่เกิดจากบารมีแล้ว
ยังมีภูมิปัญญามากมีอาคมแก่กล้าเป็นที่สุด
เมื่อนำเอามาเปรียบเทียบกันแล้วจะเห็นชัดเจนว่าทั้ง
๔ชั้นมีความสามรถไม่เหมือนกัน หรือไม่เท่ากัน
แล้วแต่การปฏิบัติของแต่ละตนผู้ใดมีความมุ่งมั่นหมั่นเพียรและตั้งใจปฏิบัติ ทำ
ได้เท่าใดผลก็จะส่งบุญก็จะบันดาล ให้ไปถึงขั้นนั้นๆ
พระฤๅษีที่ปรากฏในวรรณคดีมีอยู่หลายท่านโดยมากมักเป็นฤๅษีที่ละจากเรื่องทางโลกมุ่งสู่การบำเพ็ญบารมีเป็นที่นับถือแก่มนุษย์และเทพเทวดาทั่วไปยิ่งบำเพ็ญบารมีมากเท่าไรก็มีอำนาจ
วิเศษตามบารมีที่สั่งสมมามากขึ้นเท่านั้น ฤๅษีตามรากศัพย์ดูเหมือนจะแปลกันว่า
เป็นผู้มี ปัญญาอันได้มาจาก พระเป็นเจ้าตามพจนานุกรมฉบับมติชนปี ๒๕๔๗ ว่า ฤๅษี(รือ-สี)
ผู้สละบ้านเรือนออกบำเพ็ญพรต ส่วนฤๅษีที่ปรากฎชื่อใน ทศฤๅษี หรือที่เรียกกันว่าเป็น
พระประชาบดี นั้นในมานวธรรม ศาสตร์กล่าวว่ามี ๑๐ ตน คือ
๑.มรีจิ
๒.อัตริ
๓.อังคีรส
๔.ปุลัสยตะ
๕.ปุลหะ
๖.กรตุ
๗.วสิษฐ
๘.ประเจตัส หรือ ทักษะ
๙.ภฤคุ
๑๐.นารท
แต่บางตำราว่ามีแค่ 7 เรียกกันว่า สัปตฤๅษี หรือมานัสบุตร
(ลูกเกิดแต่มโนของพระพรหมา) ทั้ง 7 ตน มีชื่อดังนี้
๑.โคดม (โคตม)
๒.ภรัทวาช
๓.วิศวามิตร
๔.ชมัทอัคนี(บางตำราว่า ชมทัศนี)
๕.วสิษฐ
๖.กศป(กัศย์ป)
๗.อัตริ
ส่วนมหาภารตะระบุไว้ว่า
๑.มรีจิ
๒.อัตริ
๓.อังคีรส
๔.ปุละหะ
๕.กระตุ
๖.ปุลัสตยะ
๗.วสิษฐ วายุปุราณะเติม ภฤคุ อีก ๑ ตน แต่ยังเรียกรวมว่า สัปตฤๅษี
ส่วนวิษณุปุราณะเพิ่มอีก ๒ ตน คือ ภฤคุ กับ ทักษะ เรียกแปลกไปอีกว่า
พรหมฤๅษีทั้งเก้า
ตามชั้นและฐานะของพรฤๅษีนั้นก็ยังแยกระดับตามศรรพนามออกไป และชั้นที่ได้ยกระดับหรือแยกออกมาอีก ก็คือ
๑.พระสิทธา
๒.พระโยคี
๓.พระมุนี
๔.พระดาบส
๕.ชฎิล
๖.นักสิทธิ์
๗.นักพรต
๘.พราหมณ์
เมื่อรวมทั้งแปดนามเป็นหนึ่งเดียวกันแล้ว ผลลัพธ์ที่ได้ก็คือท่านเป็น"ผู้ทรงศีล"ผู้ที่มุ่งหวังตั้งใจบำเพ็ญเพียรตบะ เพื่อเสริมสร้างบารมี มุ่งหวังในผลสำเร็จ ถึงกับยอมสละทุกสิ่งทุกอย่างเหมือนกันหมด ในบรรดากลุ่มพระฤๅษีที่มีชื่อแยกออกไป ก็ยังมีความหมายต่างๆกัน เช่น
๑.พระสิทธา แปลว่า พระฤาคี ประเภทมีคุณธรรมวิเศษ มีหลักฐานมั่นคง
ที่สถิตสถานมีวิมานอยู่บนเทือก เขาและถ้ำ
ตามแต่ว่าจะเห็นสมควรในความสะดวกสบายอยู่ในระหว่างพระอาทิตย์ลงมาสู่พื้นแห่งโลก
มนุษย์
๒.พระโยคี แปลว่า เป็นผู้ที่มีความสำเร็จ หรือผู้ที่กำลังศึกษาสังโยค ในด้านหลักวิชาโยคกรรม มักจะเที่ยว ทรมานตนอยู่ตามเทือกเขาและป่าตามความเหมาะสมในความสันโดษ ที่จะมีและเท่าที่จะเห็นว่าสมควร
๓.พระมุนี แปลว่า ในกลุ่มพราหมณ์ที่มีความพยายาม กระทำกิจพิธีบำเพ็ญด้วยความพากเพียร มุมานะ พยายามจนกระทั่งพบความสำเร็จ จึงกลายเป็นผู้ที่มีปัญญาและมีความรู้ความสามารถอยู่ในระดับสูง
๔.พระดาบส แปลว่า ผู้บำเพ็ญตนสร้างบารมี มุ่งมั่นในตบะธรรมที่คิดว่าจะเผาผลาญกองกิเลสให้หมดสิ้นไป ใช้ความพยายามพากเพียร พยายามมุ่งแต่ในทางทรมานร่างกายและจิตใจ เพื่อมุ่งหวังในโลกุตตรสุขที่เป็นผล แห่งบารมี
๕.ชฎิล แปลว่า นักพรตจำพวกหนึ่ง ที่ชอบเกล้ามุ่นมวยผมเป็นแบบชฎาเอาไว้ หนวดเครารกรุงรังราวกับคน บ้า ทั้งผ้าที่นุ่งห่มก็รุ่มร่าม ไม่ชอบในการรักสวยรักงาม ทำตนเป็นพราหมณ์รอนแรมอยู่ตามป่าดงพงไพร
๖.นักสิทธิ์ แปลว่า เป็นผู้ทรงศีลที่กึ่งมนุษย์กึ่งเทพ หรือเทวดา พวกนี้มักจะรักสัจจะวาจา มีความเที่ยงธรรม เป็นที่ตั้งชอบช่วยเหลือผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนอยู่เสมอๆ มีที่อยู่อาศัยอยู่ในระหว่างกลางที่ว่างเปล่าและบริสุทธิ์ วัดระยะตั้งแต่ดวงอาทิตย์ลงมาจนกระทั่งถึงโลกมนุษย์ พวกนี้มีอยู่กันเป็นจำนวนมากมายหลายแสนองค์เที่ยว ตระเวนไปในที่ต่างๆ เพื่อที่จะสอดส่งหาทางลงมาช่วยเหลือมวลมนุษย์
๗.นักพรต แปลว่า เป็นผู้ที่ปฏิบัติดีเคร่งครัดในการปฏิบัติ ทรงศีลอันประเสริฐมิยอมให้ศีลบกพร่องแต่ประการ ใด ตั้งใจบำเพ็ญพรต บำเพ็ญตบะ เพื่อที่จะเสริมสร้างบารมีให้มากๆ อยู่ประจำ ชอบสถิตย์อยู่ตามป่าเขาลำเนา ไพร และตามถ้ำหน้าผา มักไม่ยอมให้ผู้ใดได้พบเห็น มีความเป็นอยู่อย่างเรียบง่าย แต่มีอิทธิฤทธิ์มาก
๘.พราหมณ์ แปลว่า ผู้ที่เกี่ยวข้องกับฤๅษีเหมือนกัน
แต่เป็นด้านการปฏิบัติบูชาบำเพ็ญตบะสร้างบารมีอย่าง มุ่งมั่นเป็นผู้สละแล้ว
สละเรื่องของโลกภายนอกได้หมดแล้วมีความมุ่งมั่นว่าจะต้องออกไปปฏิบัติการช่วยเหลือ
มนุษย์และสรรพสัตว์โดยทั่วไป พราหมณ์มักจะชุมนุมรวมกลุ่มกันเป็นหมู่คณะ ตามเทวสถานต่างๆ
ด้วยความพร้อม เพรียงและสามัคคีกันอย่างดี
เมื่อมีผู้ใดเชิญให้ช่วยกระทำพิธีให้ไม่ว่าจะเป็นพิธีอะไรที่จะต้องเกี่ยวกับพระฤๅษีหรือ
องค์เทพต่างๆพราหมณ์ก็ออกไปทำพิธีให้ทันที
ไม่เรียกร้องค่าป่วยการหรือค่าตอบแทนใดๆทั้งสิ้น ไม่เห็นแก่ลาภ
ไม่เห็นกับประโยชน์ส่วนตัว (นั่นเป็นพราหมณ์สมัยก่อน
สมัยนี้ก็คงจะต้องมีค่าใช้จ่ายมากน้อยตามแต่จะเห็นสมควร)
สำหรับพราหมณ์พวกนี้ก็มักมีกันอยู่เป็นจำนวนมาก ชอบฝักใฝ่ในธรรม โปรดสัตว์
ช่วยเหลือมนุษย์ด้วยความเต็มใจ
เมื่อเสร็จสิ้นจากภารกิจแล้วก็จะเข้าจำศีลภาวนาต่อไปอย่างไม่มีคำว่าพอ
ลำดับรายชื่อย่อๆ ในส่วนหนึ่งของพระฤๅษีในแต่ละชั้น จะแบ่งแยกเป็นชั้นๆดังต่อไปนี้
๑.พระฤๅษีชั้นพรหม พระฤๅษีในชั้นพรหมนั้นมีรายชื่อดังต่อไปนี้ พระฤๅษีพรหมเมศร์ พระฤๅษีพรหมมา พระฤๅษีพรหม มุนี พระฤๅษีพรหมนารถ พระฤๅษีพรหมวาลมีกิ เป็นต้น
๒.พระฤๅษีชั้นเทพ พระฤๅษีชั้นเทพนั้นมีรายชื่อดังต่อไปนี้ พระฤๅษีบรมโกฏิ พระฤๅษีประลัยโกฏิ พระฤๅษีนารอด พระ ฤๅษีนารายณ์ พระฤๅษีนาเรศร์ พระฤๅษีอิศวร พระฤๅษีพิฆเนศ พระฤๅษีเพชรฉลูกัณฑ์ พระฤๅษีปัญญาสด พระฤๅษีตาไฟ พระฤๅษีหน้าวัว พระฤๅษีหน้าเนื้อ พระฤๅษีปัญจสิขร (หรือพระประคนธรรพ) บางทีเรียกว่า พระประโคนทัพ) เป็นต้น
๓.พระฤๅษีชั้นมนุษย์ พระฤๅษีชั้นมนุษย์ก็มีมากมายเช่นเดียวกัน เช่น พระฤๅษีโกเมน พระฤๅษีโกเมท พระฤๅษีโกมุท พระฤๅษีสัตตบุตร พระฤๅษีสัตบัน พระฤๅษีสัตบงกช พระฤๅษีโคบุตร พระฤๅษีโคดม พระฤๅษีสมมิตร พระฤๅษีลูกประคำ เป็นต้น
๔.พระฤๅษีชั้นอสูร พระฤๅษีชั้นอสูรก็มีตามรายชื่อดังนี้ ท่านท้าวคีรีเนศร์ ท่านท้าวเวสสุวัณ ท่านท้าวหัสกัณฑ์ ท่าน ท้าวหิรัญฮู พระฤๅษีพิลาภ พระฤๅษีพิรอด ท้าวพลี หิรัญยักษ์ อนันตยักษ์ วาณุราช วาหุโลม เป็นต้น
- พระฤๅษีพรหมบุตร
- พระฤๅษีพรหมประทาน
- พระฤๅษีพรหมปรเมศฎ์
- พระฤๅษีพรหมประสิทธิ์
- พระฤๅษีพรหมนิมิตร
- พระพรหมฤๅษีวิสิษฐ์
- พระฤๅษีตาทิพย์
- พระฤๅษีอิศวร
- พระฤๅษีพรหมมินทร์
- พระฤๅษีตาไฟ
- พระฤๅษีไชมินี
- พระฤๅษีมารกัณเฑยะ
- พระฤๅษีวยาสมุนี
- พระฤๅษีพรหมโลก
- พระฤๅษีพรหมโลกา
- พระฤๅษีเพชรฉลูกัณฑ์
- พระฤๅษีประโคนธรรพ
- พระฤๅษีปัญญาสด
- พระฤๅษีอังคต
- พระฤๅษีอรรคต
- พระฤๅษีหิมพานต์
- พระฤๅษีทุรวาส
- พระฤๅษีนนทิ
- พระฤๅษีรามเทพมุนี
- พระฤๅษีสิงหล
- พระฤๅษีสุขวัฒน์
- พระฤๅษีปรเมศ
- พระฤๅษีกาศยปมุนี
- พระโคดมพรหมฤๅษี
- พระฤๅษีพรหมจักร
- พระฤๅษีสิงขรณ์
- พระฤๅษีประไลยโกฏิ
- พระฤๅษีชนกจักรวรรดิ
- พระฤๅษีนาวัน
- พระมหาเทพฤๅษีเทวราตมุนี
- พระฤๅษีคิชฌกูฎ
- พระฤๅษีไพรวัน
- พระฤๅษีบรมครูพระพิลาภ(พระฤๅษีวิราธ)
- พระฤๅษีโกมุท
- พระฤๅษีสัตบงกฎ
- พระพรหมฤๅษีอคัสตยะ
- พระดาบสสินี ฤๅษีหน้ากวาง(สีดา)
- พระฤๅษีนารอด
- พระฤๅษีกาลสิทธิ
- พระฤๅษีโคศก
- ปู่ฤๅษีนารายณ์
- พระฤๅษีอัษฎง