สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>

กรณีพิพาทอินโดจีนฝรั่งเศส

การรบที่เกาะช้าง
ในกรณีพิพาทระหว่างไทยกับอินโดจีนของฝรั่งเศส พ.ศ.2483 - 2484

เรือรบหลวงธนบุรี

เมื่ออากาศยานฝ่ายข้าศึกได้เข้ามาทิ้งระเบิดที่จังหวัดนครพนมเมื่อ 28 พ.ย.83 กองทัพเรือได้เริ่มดำเนินการส่งกำลังไปป้องกัน ตำบลคลองใหญ่ จังหวัดตราด ซึ่งเป็นพื้นที่ชายแดนสุดทางด้านตะวันออกของไทยที่อยู่ริมฝั่งทะเล ติดต่อกับอินโดจีน ฝรั่งเศส และได้เริ่มลำเลียงกำลังพล พรรคนาวิกโยธินอันเป็นกำลังส่วนใหญ่ของกองพลผสมจันทบุรี ไปยังจังหวัดจันทบุรี และจังหวัดตราดเพื่อป้องกันการยกพลขึ้นบกของข้าศึกทางฝั่งตะวันออกของอ่าวไทย อันเป็นการป้องกันปีก และการตีโอบหลังกำลังทางบกของฝ่ายเรา

ก่อนการรบที่เกาะช้าง กองทัพเรือได้ส่งกำลังทางเรือ 1 หมวด ประกอบด้วย เรือรบหลวง 6 ลำ คือ

- เรือรบหลวงศรีอยุธยา มี นายนาวาตรีหลวงชำนาญ อรรถยุทธ เป็นผู้บังคับการเรือ
- ร.ล.ภูเก็ต มี น.ต.หลวงมงคลยุทธนาวี เป็นผู้บังคับการเรือ
- ร.ล.ปัตตานี มี น.ต.อำพัน ภมรบุตร เป็นผู้บังคับการเรือ
- ร.ล.สุราษฏร์ มี นายเรือเอก ชวน แสงต่าย เป็นผู้บังคับการเรือ
- ร.ล.คราม มี ร.ท.เจตน์ จุลชาติ เป็นผู้บังคับการเรือ
- ร.ล.ตระเวนวารี

ทั้งหมดอยู่ในบังคับบัญชาของ น.ต.หลวงมงคลยุทธนาวี ไปรักษาการณ์อยู่บริเวณเกาะช้าง ต่อมาเมื่อ 14 ม.ค.34 กองทัพเรือได้จัดกำลังทางเรืออีก 1 หมวดไปผลัดเปลี่ยน ประกอบด้วย

- ร.ล.ธนบุรี มี น.ท.หลวงพร้อม วีรพันธ์ เป็นผู้บังคับการเรือ
- ร.ล.ระยอง มี น.ต.ใบ เทศนะสดับ เป็นผู้บังคับการเรือ
- ร.ล.สงขลา มี น.ต.ชั้น สิงหชาญ เป็นผู้บังคับการเรือ
- ร.ล.ชลบุรี มี ร.อ.ประทิน ไชยปัญญา เป็นผู้บังคับการเรือ
- ร.ล.หนองสาหร่าย มี ร.อ.ดาวเรือง เพชรชาติ เป็นผู้บังคับการเรือ
- ร.ล.เทียวอุทก

ทั้งหมดอยู่ในบังคับบัญชาของ น.ท.หลวงพร้อม วีรพันธ์

กำลังเรือฝ่ายข้าศึก

เรือลาดตระเวน ลามอตตฺปิเกตฺ
กำลังเรือข้าศึก ในบังคับบัญฃาของ นายนาวาเอก เบรังเยรฺ (Be"ranger) จำนวน 9 ลำ ประกอบด้วย
- เรือลาดตระเวน ลามอตตฺปิเกตตฺ เป็นเรือธง
- เรือสลุปแบบเรือ อามิราล ชารฺเนรฺ 2 ลำ
- เรือปืน 4 ลำ
- เรือสินค้าขนาดใหญ่ติดอาวุธ 1 ลำ
- เรือดำน้ำ 1 ลำ

เรือลาดตระเวน ลามอตตฺปิเกตฺ

การรบ

ร.ล.สงขลา
เช้าวันที่ 17 ม.ค.83 เวลา 0600 ข้าศึกได้ส่งเรือบินทะเล 1 ลำ มาลาดตระเวนบริเวณเกาะช้างและได้ทิ้งระเบิด จำนวน 2 ลูก แต่ไม่ถูกที่หมาย ร.ล.สงขลา และ ร.ล.ชลบุรี ได้ใช้ปืนต่อสู้อากาศยานขนาด 75 มม. และปืนกล ขนาด 20 มม. ยิงถูกเครื่องบนข้าศึกดังกล่าวตกทะเล ทางด้านใต้เกาะหวาย

ในขณะเดียวกันนั้นกำลังทางเรือข้าศึก จำนวน 7 ลำ ได้เข้าโจมตี ร.ล.สงขลา และ ร.ล.ชลบุรี รวมทั้งอาคารบนเกาะง่าม ร.ล.สงขลา ได้ระดมยิงเรือลาดตระเวนลามตตฺปิเกตฺ แต่ลำเดียว ส่วน ร.ล.ชลบุรี ได้ทำการยิงไปหมู่เรือที่ 2 และ 3 ของข้าศึก

เรือสลุป อามิราล ชารฺเนรฺ
ร.ล.สงขลา ยิงถูกเรือลาดตระเวนข้าศึกบริเวณท้ายเรือ เรือทั้งสองฝ่ายร่นระยะใกล้เข้ามาตามลำดับ เมื่อสายมากขึ้นทัศนวิสัยดีขึ้น ร.ล.สงขลาจึงเริ่มถูกยิง จากเรือข้าศึกหลายทิศทาง ทำให้พลประจำปืนเสียชีวิตและบาดเจ็บ เรือเสียหายจนน้ำเข้าเรือ เกิดเพลิงไหม้ตอนกลางลำและท้ายเรือ ลูกปืนหมด ผู้บังคับการเรือจึงสั่งให้สละเรือใหญ่ เมื่อเวลาประมาณ 0645

ร.ล.ชลบุรี ยิงถูกเรือสลุปในหมู่เรือที่ 2 ของข้าศึกจนต้องหนีออกไปจากแนวรบ และยิงรบเรือข้าศึกหมู่ที่ 3 อีก 2 ลำ จนไฟไหม้อย่างหนัก และตามทางสืบสวนอันเชื่อถือได้ มีว่าเรือดังกล่าวได้อับปางลงในทะเลลึก ร.ล.ชลบุรี เองก็ถูกเรือข้าศึกยิงได้รับความเสียหายมาก เกิดไฟไหม้ตอนกลางลำและตอนท้ายเรือและเรือได้เริ่มจมลง ผู้บังคับการเรือจึงส่งให้ทำการสละเรือใหญ่ เมื่อเวลาประมาณ 0650

ในขณะที่ปืนของเรือตอร์ปิโด ทั้งสองลำของฝ่ายเราเงียบเสียง และทหารประจำเรือ กำลังสละเรือใหญ่อยู่ ฝ่ายข้าศึกก็ยังคนระดมยิงอยู่อย่างไม่ลดละ นอกจากนั้นเมื่อเรือรบฝ่ายเราจมมิดน้ำหายไป แทนที่ข้าศึกจะเข้ามาช่วยเหลือชีวิตทหารที่ลอยคออยู่ในทะเล ฝ่ายข้าศึกกลับใช้ปืนใหญ่ ปืนกลยิงกราดมายังทหาร ซึ่งอยู่ในเรือเล็กและว่ายเข้าหาฝั่ง และสันนิษฐานได้ว่าข้าศึกได้ใช้กระสุนกาซพิษ นับว่าผิดอารยธรรมและประเพณีการรบทางเรืออย่างที่สุด

การเสียดินแดนเมื่อ ร.ศ. 112
ฝรั่งเศสเสนอทำกติกาสัญญาไม่รุกรานกับประเทศไทย
ฝรั่งเศสทำสัญญาให้ญี่ปุ่นยึดอินโดจีนเป็นฐานทัพ
การเดินขบวนเรียกร้องดินแดนคืน
กองทัพไทยเคลื่อนกำลังเข้ายึดดินแดน
การรับมอบดินแดนคืน
การปักปันดินแดน
สร้างอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
การรบที่เกาะช้าง
การต่อสู้ระหว่าง ร.ล.ธนบุรี กับเรือข้าศึก 4 ลำ

แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย

» นิยาย-เรื่องสั้น
» ข้อเขียน-บทความ
» บทกวี
» สารคดี-ท่องเที่ยว

» การจัดระเบียบทางสังคม
การจัดระเบียบสังคมเป็นกระบวนการที่สมาชิกได้พัฒนาการกระทำระหว่างกันทางสังคมอย่างมีระเบียบ โดยสมาชิกส่วนรวมของสังคมได้ยอมรับเป็นแนวความประพฤติร่วมกัน

» การควบคุมทางสังคม
วิธีการและกระบวนการทั้งหมด ซึ่งกลุ่มหรือสังคมใช้ในการให้สมาชิกของสังคมปฏิบัติตามที่สังคมคาดหวัง

» ค่านิยมทางเพศ (Sexual Value)
หลักการพื้นฐานที่บุคคลยึดเป็นหลักในการปฏิบัติเพื่อดำเนินชีวิตซึ่งเกี่ยวกับเรื่องเพศ โดยค่านิยมทางเพศของบุคคลเกิดจากการอบรมสั่งสอนจากพ่อแม่ในสถาบันครอบครัว ระบบการศึกษา ประสบการณ์

» ลัทธิของค้านท์
ลัทธิที่ยึดมั่นในคุณธรรมหรือเหตุผลอย่างเคร่งครัด หรือ Moral Purism แปลว่า บริสุทธิ์นิยมทางศีลธรรม หรือบางทีก็เรียกว่า หน้าที่นิยม เพราะเน้นที่หน้าที่เป็นหลัก

» ประชุมพงศาวดาร
การศึกษาหาความรู้พงศาวดาร และตำนานเก่าย่อมถือว่าเป็นส่วนสำคัญอย่างหนึ่งใน การศึกษาทั่วทุกประเทศ

» อปริหานิยธรรม 7
ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความไม่เสื่อม 7 ประการ ผู้ปฏิบัติ ธรรมนี้จะเป็นไปเพื่อความเจริญทั้งฝ่ายบ้านเมืองและฝ่ายสงฆ์

» จริยธรรม
จริยธรรมไม่แยกเด็ดขาดจากศีลธรรม แต่มีความหมายกว้างกว่าศีลธรรม