ประวัติศาสตร์  ภูมิศาสตร์ บุคคลสำคัญ ประเทศและทวีป >>

ราชอาณาจักรภูฏาน

ชื่ออย่างเป็นทางการ: ราชอาณาจักรภูฏาน

พื้นที่: ประมาณ 38,394 ตารางกิโลเมตร (ขนาดใกล้เคียงกับประเทศสวิตเซอร์แลนด์) ตั้งอยู่เหนือรัฐอัสสัมของประเทศอินเดีย ที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล ตั้งอยู่บนพื้นที่สูงของเทือกเขาหิมาลัย มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศจีนคือแคว้นทิเบตทางตอนเหนือ และประเทศอินเดียทางตอนใต้

ภูมิประเทศ: ประกอบด้วยภูเขาสูงสลับซับซ้อน มีพื้นที่ราบและทุ่งหญ้าระหว่างหุบเขาพื้นที่ต่ำสุดสูงกว่าระดับน้ำทะเล 970 ฟุต พื้นที่สูงสุดอยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเล 17,553 ฟุต

ภูมิอากาศ: เนื่องจากภูฏานเป็นประเทศขนาดเล็ก ลักษณะภูมิอากาศจึงไม่แตกต่างกันมากนัก โดยมากเป็นภูมิอากาศแบบกึ่งร้อนมีฝนชุก ยกเว้นตอนเหนือซึ่งเป็นภูเขาสูง ทำให้มีอากาศแบบหนาวเทือกเขาอากาศกลางวัน 25 – 15 องศาเซลเซียส กลางคืน 10 – 5 องศาเซลเซียส มี 4 ฤดู

  • ฤดูใบไม้ผลิต จะอยู่ในช่วงเดือนมีนาคม-พฤษภาคม ช่วงนี้อากาศจะอบอุ่นและอาจมีฝนประปราย
  • ฤดูร้อน จะอยู่ในช่วงเดือนมิถุนายน-สิงหาคม ช่วงนี้จะมีพายุฝน ตามเทือกเขาจะเขียวชอุ่ม
  • ฤดูใบไม้ร่วง จะอยู่ในช่วงเดือนกันยายน-พฤศจิกายน ช่วงนี้อากาศจะเย็น ท้องฟ้าแจ่มใส เหมาะแก่การเดินเขา
  • ฤดูหนาว จะอยู่ในช่วงเดือนธันวาคม-กุมภาพันธ์ อากาศจัดเย็นจัดตอนกลางคืนและรุ่งเช้า และจะมีหมอกหนา บางครั้งโดยเฉพาะในช่วงเดือนมกราคม อาจมีหิมะตกบ้าง

จำนวนประชากร: ประชากร 752,700 คน (เมื่อปี พ.ศ. 2547) เป็นชาย 380,090 คน และหญิง 372,610 คน

เชื้อชาติ: ประกอบด้วย 3 เชื้อชาติ ได้แก่

  • โลซาม ชนเชื้อสายเนปาล ส่วนใหญ่อยู่ทางใต้
  • งาลอบ ชนเชื้อสายธิเบต ส่วนใหญ่อยู่ทางภาคตะวันตก
  • ชาร์คอป ชนพื้นเมืองดั้งเดิม ส่วนใหญ่อยู่ทางภาคตะวันออก

การปกครอง: มีองค์พระมหากษัตริย์เป็นประมุข ภายใต้การปกครองโดย

สมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี เคเซอร์ นัมเกล วังชุก ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ลำดับที่ 5 ของราชวงศ์วังชุก ทรงปกครองประเทศโดยมีคณะองคมนตรีเป็นที่ปรึกษา และสภาแห่งชาติ หรือ ซงดู ทำหน้าที่ออกกฏหมาย

เมืองหลวง: เมืองทิมพู

เมืองสำคัญ: เมืองพาโร เป็นที่ตั้งสนามบินนานาชาติ

เมืองพูนาคา เป็นเมืองหสวงเก่าที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ เป็นที่ตั้งราชวังฤดูหนาว

ภาษา: ภาษาประจำชาติ คือ ภาษาซองก้า ซึ่งแต่เดิมเป็นภาษาท้องถิ่นแถบตะวันตกของ ภูฐาน ต่อมาได้กลายเป็นภาษาประจำชาติเครื่องแต่งกายประจำชาติ ผู้ชายเรียกว่า โก ส่วนของผู้หญิงเรียกว่า คีร่า

ศาสนา: 70% ของประชากรนับถือศาสนาพุทธ 25% นับถือศาสนาฮินดู และ 4.9% นับถือศาสนามุสลิม และประมาณ 0.1% นับถือศาสนาคริสต์

ไฟฟ้า: กระแสไฟที่ใช้คือ 220 โวลท์ เป็นปลั๊กชนิด 3 ขา

น้ำประปา: ท่านไม่ควรที่จะดื่มน้ำโดยตรงจากก๊อก ขอแนะนำว่าควรซื้อน้ำขวด

เวลา: เวลาของ ภูฎาน จะช้ากว่าที่เมืองไทย 1 ชั่วโมง

โทรศัพท์: โทรศัพท์สาธารณะใน ภูฎาน เพื่อความสะดวกกรุณาติดต่อกับทางโรงแรมที่ท่านพัก

โทรศัพท์กลับมาประเทศไทยด้วยโทรศัพท์กด 001 + 66 + รหัสเมือง + หมายเลขที่ปลายต้องการ
โทรศัพท์จากประเทศไทยสู่ประเทศภูฏานกด 001 + 975 + รหัสเมือง + หมายเลขที่ต้องการ

สัตว์ประจำชาติ: ตัวทาคิน เป็นสัตว์ที่หาได้ยาก เพราะมีอยู่ในดินแดนภูฏานเพียงแห่งเดียว และอยู่ในสถานะใกล้สูญพันธุ์ มีลักษณะคล้ายวัวผสมแพะตัวใหญ่ มีเขา ขนตามตัวมีสีดำ มักจะอาศัยอยู่กันเป็นฝูงในป่าโปร่ง บนความสูงกว่า 4,000 เมตรเหนือระดับน้ำทะเลขึ้นไปชอบกินไม้ไผ่เป็นอาหาร

ต้นไม้ และดอกไม้ประจำชาติ: ต้นไซปรัส นิยมปลูกกับตามวัด และ ดอกป๊อปปี้สีฟ้า เป็นดอกไม้ป่าที่พบตามเขตภูเขาในภูฏาน

อาหารประจำชาติ: อาหารพื้นบ้านเป็นอาหารเรียบง่าย อาหารหลักเป็นทั้งข้าว บะหมี่

ข้าวโพด ยังนิยมเคี้ยวหมากอยู่ อาหารส่วนใหญ่ประกอบด้วยพริก ผักและมันหมู อาหารประจำชาติคือ emadate ซึ่งประกอบด้วยพริกสดกับซอสเนยต้มกับหัวไชเท้า มันหมูและหนังหมู ชาวภูฏานนิยมอาหารรสจัด เครื่องดื่มมักเป็นชาใส่นมหรือน้ำตาล ในฤดูหนาวนิยมดื่มเหล้าหมักที่ผสมข้าวและไข่ ไม่นิยมสูบบุหรี่ นอกจากนั้นมีอาหารจากทิเบต เข่นซาลาเปาไส้เนื้อ ชาใส่เนยและเกลือ และอาหารแบบเนปาลในภาคใต้ที่กินข้าวเป็นหลัก

เงินตรา: หน่วยเงินตราของ ภูฐาน เรียกว่า นูงล์ตรัม (Ngultrum) อัตราแลกเปลี่ยนจะมีค่าเท่ากับเงินรูปีของประเทศอินเดีย ซึ่งประมาณ 40 รูปี ต่อ 1 USD

 

สถานที่ท่องเที่ยวในภูฏาน

ทิมพู

มีชื่ออย่างเป็นทางการในภูฏานว่า ตาชิโชซอง เป็นเมืองหลวงของภูฏานตั้งแต่ พ.ศ. 2504 เริ่มแรกเป็นเพียงเมืองเล็กๆในสมัยซับดรุง นัมเกล เมื่อเป็นเมืองหลักจึงมีประชากรมากขึ้น เมืองทิมพูตั้งอยู่ทางตะวันตกของแม่น้ำวัง เป็นเมืองหลวงแห่งเดียวในโลกที่ไม่มีสัญญาณไฟจราจร ใช้ตำรวจจราจรโบกมือให้สัญญาณเท่านั้น

ตาชิโชซอง หรือ ทิมพูซอง

เป็นศูนย์กลางการปกครองและศาสนาและเป็นสัญลักษณ์ประจำเมือง ภายในแบ่งแยกเป็นเขตฆราวาสและสังฆาวาส และลานอเนกประสงค์ ซึ่งใช้จัดการแสดงเซชูในเทศกาลสำคัญ สร้างเมื่อพุทธศตวรรษที่ 12 โดยลามะจา กทิเบต จน พ.ศ. 2184 ซับดรุง นัมเกลจึงเข้ามายึดครองและตั้งชื่อใหม่ว่าตาชิโชซอง แปลว่าปราการของศาสนาที่ยิ่งใหญ่ ภายหลังเกิดไฟไหม้จึงถูกทิ้งร้างไป มาซ่อมแซมใหม่ในสมัยสมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี ดอร์จิ วังชุก

อนุสรณ์สถานชอร์เตน

สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2517 เพื่อถวายพระเกียรติ แด่สมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี ดอร์จิ วังชุก เป็นสถานที่สำคัญทางศาสนาของภูฏาน ประกอบด้วยภาพจิตรกรรมฝาผนัง เป็นพุทธประวัติและพระพุทธรูปต่างๆ

Handicrafts Emporiums

สถานที่รวมรวมผลงานหัตรถกรรมเช่นผ้าขนแกะ และงานฝีมือของชาวภูฏานแบบต่างๆ

ปูนาคา

อดีตราชธานีของภูฏาน ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1639-1955 ซึ่งสร้างและปกครองโดย ชับดรุง งาวังนัมเกล เป็นพระลามะจากธิเบตที่ธุดงค์มาถึงภูฏาน ระยะทางจากเมืองทิมพูสู่ปูนาคาประมาณ 77 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางประมาณ 3 ช.ม. ระหว่างทางท่านสามารถชมทิวทัศน์ของภูเขาสูงสลับกับแม่น้ำลำธารน้อยใหญ่ อีกทั้งยังมีดงกุหลาบพันปีดอกไม้ประจำชาติของประเทศภูฏานให้เห็นได้ทั่วไป เช่นเดียวกับฝูงจามรีป่า (Yak) ที่จะพบมากในเส้นทางสายนี้ตามไหล่เขา

ปูนาคาซอง

เป็นที่ประทับของพระสังฆราชในฤดูหนาว เนื่องจากปูนาคา มีอากาศไม่หนาวเย็นจนเกินไป ด้วยเหตุที่เป็นเมืองที่ตั้งอยู่บนพื้นที่สูงเพียง 1,468 เมตร เท่านั้นเมื่อเทียบกับเมืองอื่นๆ ที่นี่จึงมีอากาศอบอุ่นกว่าในช่วงฤดูหนาว ด้านหน้าของปูนาคาซองจะเ ป็นจุดที่แม่น้ำโพ (Po Chu) และแม่น้ำโม (Mo Chu) ซึ่งหมายถึง แม่น้ำพ่อ และแม่น้ำแม่ไหลมาบรรจบกันพอดี

โดชูลา

เป็นจุดสูงสุดของเส้นทางทิมพู-ปูนาคา ที่อยู่ในระดับความสูงราว 3,100 เมตร บริเวณโดชูลาจะเต็มไปด้วยธงหลากหลายสีสันที่ปลิวพัดโบกไสว ทั้งนี้ชาวภูฏานได้นำมาปักไว้เพื่อบูชาเจ้าป่าเจ้าเขาแห่งโดชูลาโดยละแวกนั้นจะมีสถูป(ซอร์เตน) องค์ใหญ่แบบภูฏานตั้งตระหง่านอยู่ ซึ่งชาวภูฏานเชื่อว่านี่คือสถูปที่ช่วยสยบฤทธิ์เดชของ ภูตผีปีศาจและวิญญาณชั่วร้าย อีกทั้งยังช่วยคุ้มภัยให้กับผู้ที่เดินทางผ่านไป-มา ใครที่ลงไปชมสถูปเคล้าเสียงธงปะทะลมดังอื้ออึงก็จะรู้สึกได้ถึงพลังของความขรึมขลังแห่งโดชูลา

วังดรี โพดราง

เป็นเมืองในอดีตที่สำคัญของประวัติศาสตร์ สร้างโดย ชับดรุง นาวังนัมเกล ในปี ค.ศ. 1638 ซองแห่งนี้ตั้งอยู่บนสันเขาระหว่างแม่น้ำ พูนาคา และแม่น้ำดาง

พาโร

อยู่ทางตะวันตกของภูฏาน ห่างจากทิมพูไป 53 กิโลเมตร เป็นถิ่นฐานเดิมของชาวภูฏานตั้งแต่แรกสร้างอาณาจักร มีแม่น้ำไหลผ่านสามสายคือ แม่น้ำตอสา แม่น้ำวัง และแม่น้ำพูนาซอง ในสมัยที่เมืองพูนาคาเป็นเมืองหลวง เมืองนี้เป็นที่ตั้งของทำเนียบรัฐบาล และเป็นศูนย์กลางการค้าขาย

พาโรซองหรือรันเซนปุงซอง แปลว่าป้อมปราการแห่งอัญมณี สร้างโดยซับดรุง นัมเกลเมื่อ พ.ศ. 1921 โดยก่อจากฐานเดิมที่คุรุรินโปเชสร้างไว้

วัดทักซัง

แปลว่าวัดถ้ำเสือ ตั้งอยู่บนหน้าผาสูง วัดนี้ถูกไฟไหม้จนเสียหายหลายครั้งเมื่อ พ.ศ. 2494 และ พ.ศ. 2541 แต่ก็ซ่อมแซมและบูรณะขึ้นใหม่ทุกครั้ง เป็นสถานที่ศักดิ์ สิทธิ์ของชาวภูฏาน คยิจุ เป็นโบสถ์ที่พระเจ้าซรอนซันกัมโป กษัตริย์ทิเบตสร้างขึ้นตั้งแต่ พ.ศ. 1212 ภายในวัดมีรูปปั้นของคุรุรินโปเชสูงห้าเมตร

แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย

» รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560

» เงิน
ระบบการแลกเปลี่ยนสิ่งของต่อสิ่งของหรือการแลกเปลี่ยนสินค้ากับสินค้า ต่อมาได้ใช้สิ่งของเป็นสื่อ เช่น เปลือกหอย ผ้าขนสัตว์ หนังสัตว์ เกลือ ใบชา ใบยาสูบ

» ปรมนุตรสุญญตา
ว่างหมด คือ ปรมนุตรสุญญตา อะไรว่างหมด กาย ว่างหมด เวทนา ว่างหมด จิต ว่างหมด ธรรมชาติ ว่างหมด

» กฎบัตรสหประชาชาติ
บรรดาประชาชนแห่งสหประชาชาติ ได้ตั้งเจตน์จำนง ที่จะช่วยชนรุ่นหลังให้พ้นจากภัยพิบัติแห่งสงคราม ซึ่งได้นำความวิปโยคอย่างสุดจะพรรณามาสู่มนุษย์ชาติในชั่วชีวิต

» กรณีพิพาทอินโดจีนฝรั่งเศส
ไทยต้องยินยอมเสียดินแดนบางส่วนไป เพื่อรักษาเอกราชและดินแดนส่วนใหญ่ไว้ ทำให้พื้นที่ประเทศไทยเหลืออยู่เพียง 513,600 ตารางกิโลเมตร

» เพลงพื้นบ้าน
เพลงของชาวบ้านในท้องถิ่นต่างๆ ซึ่งแต่ละท้องถิ่นประดิษฐ์แบบแผนการร้องเพลงของตนไปตามความนิยม และสำเนียงภาษาพูดที่เพี้ยนแปร่งแตกต่างกันไป

» วิถีโลก
เพื่อให้สามารถนำความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสภาพสังคม เศรษฐกิจการเมืองและการปกครองของสังคมไทยและโลก ไปเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตอยู่ในสังคมได้

» ประเทศไทยในอดีต
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นมาแล้วในอดีต หลายเรื่องเป็นเรื่องที่น่าจะได้ทราบไว้เพื่อประโยชน์ในการเรียนรู้ในเรื่องนั้น ๆ และความสัมพันธ์เชื่อมโยงไปยังเรื่องอื่น ๆ