ความรู้ทั่วไป สารนิเทศ การศึกษา คอมพิวเตอร์

ประชาคมอาเซียน

พม่า (Myanmar)

พระพุทธศาสนาในประเทศพม่า

พระพุทธศาสนาเข้ามาสู่ประเทศพม่าในยุคใดนั้น ประวัติศาสตร์ยัง เลือนลางอยู่ แต่เชื่อกันว่า พุทธศาสนาเข้ามาสู่ประเทศพม่า เมื่อคราวที่พระเจ้า อโศกมหาราช แห่งอินเดีย ได้อุปถัมภ์การสังคายนา ครั้งที่ 3 เมื่อ พ.ศ. 236 ได้มี การส่งพระสมณทูตไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาในแถบ ประเทศต่าง ๆ รวม 9 สาย ด้วยกัน พม่าก็อยู่ในส่วนของสุวรรณภูมิด้วย และชาวพม่ายังเชื่อว่า สุวรรณภูมิ มี ศูนย์กลางอยู่ที่ เมืองสะเทิม ทางตอนใต้ของพม่า

จากประวัติศาสตร์ ได้ทราบว่า พุทธศาสนาได้เจริญรุ่งเรืองในพม่าในราว พุทธศตวรรษที่ 6 เพราะ ได้พบหลักฐานเป็นคำจารึกภาษาบาลี นัก ประวัติศาสตร์ท่านหนึ่งชื่อว่า ตารนาถ เห็นว่า พระพุทธศาสนาแบบเถรวาทได้ เข้ามาสู่เมือง พม่า ตั้งแต่สมัยพระเจ้าอโศกมหาราช ต่อมาได้มีพระสงฆ์ฝ่าย มหายานซึ่งเป็นศิษย์ของพระวสุพันธุ ได้นำเอาพระพุทธศาสนาแบบมหายานลัทธิ ตันตระ เข้าไปเผยแผ่ ในครั้งนั้น พม่ามีเมืองพุกามเป็นเมืองหลวง มีชื่อเรียกชาว พม่าว่า “มรัมมะ” ส่วนพวกมอญ หรือ ตะเลง ซึ่งมีเมืองหลวงชื่อ “สะเทิม” (สุ ธรรมวดี) และถิ่นใกล้เคียงรวมๆ เรียกว่า รามัญประกาศ จนพระพุทธศาสนาทั้ง แบบมหายาน และแบบเถรวาทเจริญรุ่งเรืองในพม่า เป็นเวลาหลายร้อยปี

ในพุทธศตวรรษที่ 11 พระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองในประเทศพม่าเป็น อย่างมากทั้งแบบเถรวาท และมหายาน ก่อนหน้าที่พม่าจะมานับถือศาสนาพุทธ พม่าก็นับถือผีสางนางไม้ เหมือนชนชาติอื่น ๆ ในแหลมอินโดจีนลงจนถึง อินโดนีเซีย ซึ่งชาวพม่านับถือ ผี สาง นางไม้ บูชากราบไหว้วิญญาณ หรือภูติผี ปีศาจ ซึ่งเรียกกันว่า นัต นัตนี้เป็นทั้งพระภูมิเจ้าที่ เทพยดาธรรมชาติ ผีดิน ผีฝน ผีลม ตลอดจนเจ้าเขา เจ้าป่า เจ้าแม่น้ำ เจ้าต้นไม้ รวมทั้งเจ้าประจำหมู่บ้าน เจ้า ประจำเรือน จากสงครามในครั้งนั้น สามารถรวมเอาเมืองสะเทิม ของพวกมอญ กับเมืองพุกามของพม่า รวมเป็นอาณาจักรเดียวกันได้ พวกมรัมมะหรือ พม่า เป็น ผู้ชนะได้รับเอาวัฒนธรรมของพวกมอญมาเป็นของตนเกือบทั้งหมด ตั้งแต่ ตัวอักษร ภาควรรณคดี และศาสนา เป็นต้น ตั้งแต่บัดนั้นมาพม่าจึงได้เปลี่ยนการ นับถือพระพุทธศาสนามหายาน มาเป็นแบบเถรวาท แต่ก็ยังหลงเหลืออิทธิพล ของความเชื่อฝ่ายมหายานอยู่บ้างไม่น้อย พระเง้า อนุรุทธทรงแลกเปลี่ยนศาสน ทูตกับลังกา ทรงนำเอาพระไตรปิฎกฉบับสมบูรณ์มาจากลังการ 3 จบ และนำมา ชำระสอบทานกับฉบับที่ได้จากเมืองสะเทิม ทรงอุปถัมภ์ศีลกรรมต่าง ๆ การ บำเพ็ญพระราชกรณียกิจของพระองค์ ทำให้พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาของชน ชาติพม่าทั่วทั้งประเทศ กษัตริย์พระองค์ต่อ ๆ มา ก็ได้เจริญรอยพระปฏิปทาใน การทำนุบำรุงพระศาสนาเช่นเดียวกับพระองค์ ส่วนศาสนาพราหมณ์ หรือฮินดูก็ เสื่อมไปหมด และในระหว่างสมัยที่พุกามรุ่งเรืองนี้พระภิกษุจำนวนมาก ได้ เดินทางไปศึกษาในลังกาทวีป บางท่านไปศึกษาแล้วรับอุปสมบทใหม่ กลับมาตั้ง คณะสงฆ์เถรวาทคณะใหม่ ๆ สายลังกา แยกออกไปก็มี เช่น พระจปฏะ ใน พ.ศ. 1725 ซึ่งทำให้มีการแข่งขันกันระหว่างสงฆ์ต่างคณะ มาเป็นเวลาประมาณ 3 ศตวรรษ พระเจ้าอโนรธามังช่อ ครองราชสมบัติได้ 33 ปี เจ้าเสด็จสวรรคต เพราะถูกกระบือเผือกขวิด เมื่อ พ.ศ. 1620 พระโอรสพระนามว่า จอลู ขึ้น ครองราชย์แทน ได้เพียง 2 ปี ก็ถูกปรงพระชนม์จากการกบฏ แม่ทัพกันชิตขึ้น ครองราชย์แทน พระเจ้ากันชิต ได้แผ่อาณาเขตลงมาถึงตะนาวศรี

|| หน้าถัดไป >>

อ้างอิง : http://watmai.atspace.com/burma.htm

ประวัติศาสตร์ประเทศพม่า
การเมืองพม่า
ข้อมูลประเทศพม่า
เปียงมนา เนปิดอว์ เมืองหลวงใหม่
พระพุทธศาสนาในประเทศพม่า
พม่า : เพื่อนบ้านที่เราไม่คุ้นเคย
การแต่งกายพม่า

สาระความรู้ ข้อมูลอาเซียน

แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย

» "บ้าน" มรดกทางวัฒนธรรม
"บ้าน" คือการบอกเล่าความเป็นมา คือการบอกล่าวถึงพัฒนาการในการดำรงชีพของมนุษย์ "บ้าน" ที่อยู่อาศัยหนึ่งในปัจจัยสี่ ซึ่งมีความจำเป็นสำหรับมนุษย์ และบ่งบอกถึงความั่นคง

» ภูมิปัญญากีฬาไทย
กีฬาไทยที่บรรพชนไทยค้นคิด และถ่ายทอดมาสู่ลูกหลาน บางชนิดกลายเป็นตำนานและความทรงจำ และบางชนิดยังคงมีการเล่นกันอยู่

» สะพานสู่ฟ้าใหม่
สะพานข้ามน้ำเป็นสัญลักษณ์การข้ามอุปสรรคขวางกั้นไปสู่จุดหมาย และการเชื่อมโยงสิ่งตรงข้ามมา เพื่อสร้างเอกภาพอันกลมกลืนมั่นคง

» ทิวธงมงคลชัย
สิ่งสะท้อนความคิด และสืบทอดคติความเชื่อ ขนบธรรมเนียมประเพณี ของชนรุ่นแล้วรุ่นเล่า จากยุคสมัยหนึ่งสู่อีกยุคสมัยหนึ่ง ดุจตัวแทนที่น้อมนำสู่มงคลแห่งชีวิต

» พระราชลัญจกรประจำรัชกาล
ตราประจำพระมหากษัตริย์ แต่ละรัชกาล ซึ่งจะทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเมื่อเริ่มต้นรัชกาล เพื่อประทับกำกับพระปรมาภิไธย ในเอกสารสำคัญต่างๆของชาติ ที่เกี่ยวกับราชการแผ่นดิน

» สามล้อไทย
วิถีหนึ่งของสายทาง ซึ่งแม้เวลาจะหมุนเวียนเปลี่ยนไป หากสายทางของสามล้อยังคงผูกพัน เป็นส่วนหนึ่งของสังคมไทย

» กีฬาสัตว์
ด้วยนิสัยช่างสังเกตของคนไทย จึงเป็นที่มาของกีฬาซึ่งใช้สัตว์เป็นผู้แข่งขัน จนกลายเป็นกิจกรรมบันเทิงพื้นบ้าน ยามว่างนับแต่อดีต

» ตาลปัตร พัดรอง
พัดที่ทำจากใบตาลมีหลายรูปแบบ สำหรับใช้โบกให้ความเย็น และใช้เป็นการบ่งบอกถึงฐานะ บรรดาศักดิ์ของผู้ใช้