ขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรม อารยธรรม >>
เครื่องแขวนไทย
เรียงร้อยหัตถศิลป์ สร้างสรรค์งานสวยด้วยความประณีตบรรจง ละเมียดละไม ดื่มด่ำความเป็นไทยที่นับวันจะหมดไป
ตาข่ายหน้าช้าง
สันนิฐานว่า
เป็นเครื่องแขวนที่คิดขึ้นมาเป็นแบบแรก
เพราะโครงสร้างเป็นแบบเส้นตรงเส้นเดียว
ไม่สลับซับซ้อน
นอกจากใช้แขวนประดับสถานที่แล้ว
ยังใช้คลุมหน้าผากช้างสำคัญเวลาเข้าพิธี
เช่น พิธีถวายช้างสำคัญ
หรือสมโภชช้าง เป็นต้น
พัดหน้านาง
ลักษณะคล้ายพัดหน้านาง
หรือตาลปัตรของพระภิกษุ
ตัวพัดร้อยเป็นสายด้วยดอกพุดแผ่รัศมีออก
คล้ายพัดใบลาน
ส่วนบนและล่างตกแต่งด้วยอุบะและตุ้งติ้ง
เหมาะสำหรับแขวนประดับช่องประตู
หน้าต่างหรือตามฝาฝนัง
พัดจามร
นอกจากพัดหน้านางแล้ว
พัดจามรถือเป็นพัดไทยที่มีรูปลักษณ์อ่อนช้อยงดงาม
เหมาะที่จะนำมาดัดแปลงเป็นเครื่องแขวน
เมื่อนำมาตกแต่งด้วยดอกไม้สีสันสดใส
จะเพิ่มความสะดุดตาชวนมอง
กลิ่นจระเข้
รูปร่างคล้ายจระเข้
ประกอบด้วยรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน
สามอันซ้อนทับกัน
โดยอันกลางมีขนาดใหญ่กว่าอันบนและล่างเล็กน้อย
ใช้เส้นรอบรูปที่เกิดขึ้นใหม่
บรรจุลายและตกแต่งตามมุมด้วยอุบะให้ดูวิจิตร
พู่กลิ่น
เป็นพวงดอกไม้มีลักษณะคล้ายพู่
คือ ตรงกลางป่อง หัวและเท้าเรียว
ใช้แขวนห้องเพื่อความสวยงาม
และส่งกลิ่นหอมอบอวลของดอกไม้สด
พู่กลิ่นมีหลายขนาดตั้งแต่ 3-7
ชั้น
ในงานมงคลใช้พู่กลิ่นจำนวนชั้นเป็นเลขคี่
และใช้จำนวนชั้นเป็นเลขคู่สำหรับงานศพ
บันไดแก้ว
ลักษณะคล้ายขั้นบันได 3 ขั้น
นำมาผูกโยงกันด้วยสายร้อยด้านข้าง
และสายร้อยไขว้กากบาท
ตกแต่งด้วยตุ้งติ้ง
ใช้ดอกไม้สีขาวนวลทั้งหมด
เพื่อให้ความรู้สึกคล้ายบันไดแก้ว
ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นบันไดเนรมิต
โดยเทวฤทธิ์แห่งท้าวโกลีย์
รับองค์พระพุทธเจ้าเสด็จลงจากดาวดึงส์
บันไดเงิน
ลักษณะคล้ายบันไดแก้ว
แตกต่างกันที่สีสันของดอกไม้
ซึ่งใช้ดอกสีฟ้าคราม ขาว นวล
อมเทาบ้าง
และลวดลายตกแต่งที่แปลกออกไป
ตามพุทธประวัตินั้น
พรหมทั้งหลายใช้บันไดเงิน
ตามส่งเด็จพระพุทธเจ้าลงจากดาวดึงส์
โดยท่านท้าวมหาพรหม
ทรงกั้นเศวตฉัตรถวาย
บันไดทอง
ลักษณะคล้ายบันไดแก้วและบันไดเงิน
หากแต่ใช้ดอกไม้สีเหลืองทอง
เพื่อให้ความรู้สึกคล้ายบันไดทอง
ซึ่งเทพยดา
ใช้ตามส่งเสด็จพระพุทธเจ้า
ลงจากดาวดึงส์สู่พื้นพิภพ
โดยมีท้าวโกลีย์ถือบาตรนำเสด็จ
ต่อหน้า ๒ >>