ขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรม อารยธรรม>>
ตาลปัตร พัดรอง
ทุกวันนี้คนไทยทั่วไปมักเข้าใจว่า พัดที่ทำจากใบตาลมีแต่เฉพาะตาลปัตร ซึ่งพระสงฆ์ใช้ประกอบพิธีทางศาสนาเท่านั้น แท้จริงในอดีต พัดที่ทำจากใบตาลมีหลายรูปแบบ สำหรับใช้โบกให้ความเย็น และใช้เป็นการบ่งบอกถึงฐานะ บรรดาศักดิ์ของผู้ใช้ สำหรับในราชสำนัก ได้นำพัดที่ทำจากใบตาลมีด้ามจับด้านข้าง มาใช้เป็นเครื่องราชกกุธภัณฑ์ อย่างหนึ่งสำหรับองค์พระมหากษัตริย์ ซึ่งเรียกว่า "สุวรรณวาลวิชนี"
ในสมัยรัตนโกสินทร์ ราวรัชกาลที่ 4 และ รัชกาลที่ 5 เรียกตาลปัตรของพระสงฆ์ที่มีบรรดาศักดิ์สูงใช้ ว่า "วิชนี หรือ พัชนี" ซึ่งเป็นภาษาบาลีหมายความว่า เครื่องพัดโบกสำหรับผู้สูงศักดิ์ ไทยอาจแปลงเป็นพัชนี ในสมัยนั้น ตาลปัตรมักทำจากใบตาลมีรูปร่างไม่สวยงาม งองุ้มเหมือนจวักตักแกง พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงพระราชดำริให้สร้างขึ้นใหม่ ให้มีลักษณะเป็นพัดหน้านาง หรือรูปไข่ มีการประดับตกแต่งให้สวยงาม วัสดุที่ใช้ทำจากแพร ผ้าโหมด หรือผ้าลายดอกต่างๆ และเรียกใหม่ว่า "พัดรอง" สำหรับพัดที่พระมหากษัตริย์พระราชทานแก่พระสงฆ์ ที่ได้รับสมณศักดิ์สูงให้เรียกว่า "พัดยศ" มีลักษณะเป็นพัดแฉกทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ แต่จะถือได้เฉพาะในงานพระราชพิธี และรัฐพิธี โดยจะใช้ในการถวายอดิเรก (ถวายพระพรชัยมงคล) เท่านั้น
- พัดรองที่ระลึกงานพระราชพิธีบรมราชาภิเษก
- พัดรองที่ระลึกงานพระราชกุศล
- พัดรองที่ระลึกงานพระราชพิธีบรมราชาภิเษก
- พัดรองที่ระลึกงานพระราชพิธีบรมราชาภิเษก
- พัดรองที่ระลึกงานพระบรมศพ
- พัดรองที่ระลึกงานพระราชพิธีรัชมังคลาภิเษก