ปรัชญา อภิปรัชญา ญาณวิทยา จิตวิทยา ตรรกศาสตร์ >>
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรีชญาที่ถือว่าเป็นนวตกรรมที่มีคุณค่ายิ่ง และยังมีความลึกซึ้งก้าวหน้าและเหมาะสมสำหรับสังคม
หลักการสำคัญ 5 ประการ ของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง คือ
- ความพอประมาณ คือ ความพอดี ๆ ไม่น้อยเกินไป ไม่มากเกินไป ไม่เติบโตเกินไป ไม่ช้าเกินไป และไม่โดดเด่นเกินไป
- ความมีเหตุผล คือ ทุกอย่างต้องมีที่มาที่ไปอธิบายได้ การส่งเสริมกันในทางที่ดีสองคล้องกับหลักพุทธธรรม คือ ความเป็นเหตุเป็นผลเพราะสิ่งนี้ ทำให้เกิดทุกสิ่ง ทุกสิ่งที่เกิดขึ้นตามเหตุผลปัจจัย
- ความมีภูมิคุ้มกันที่ดี จะต้องปกป้องคุ้มครองไม่ให้เกิดความเสี่ยงที่ไม่ควรจะเป็น เช่น เกิดความเสี่ยงเพราะมีความโลภมากเกินไป
- ความรอบรู้ ต้องมีความรอบคอบ มีการใช้ความรู้ใช้วิทยาการ ด้วยความระมัดระวัง มีการจัดองค์ความรู้ที่ดี ดำเนินการอย่างรอบคอบ ครบถ้วนรอบด้าน ครบทุกมติ
- คุณธรรมความดี เป็นพื้นฐานของความมั่นคงซึ่งประกอบด้วย ความซื่อสัตย์ สุจริต มานะ และพากเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต
ความหมาย
เศรษฐกิจพอเพียง (Sufficiency Economy) เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัชและแนวทางดำเนินชีวิตแก่ พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดยาวนานกว่า 30 ปี เศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญาที่ชี้ถึงแนวทางการดำเนินชีวิต และการปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับ ครอบครัวชุมชน จนกระทั่งถึงระดับชาติ ทั้งในการพัฒนาการบริหารประเทศให้ดำเนินต่อไป
ในทางสายกลางความพอเพียง หมายถึง ความประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่ร้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่มีพอควรต่อการมีผลกระทบใด ๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงและภายนอก ทั้งนี้จะต้องอาศัยความรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวัง เป็นอย่างยิ่งนำวิชาการต่าง ๆ มาใช้ในการวางแผนและดำเนินการทุกขั้นตอน ขณะเดียวกันจะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติโดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ นักทฤษฏี และนักธุรกิจในทุกระดับให้มีจิตสำนึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์ สุจริต และให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสมตลอดจนดำเนินชีวิตในความอดทน มีความพากเพียร มีสติ และมีความรอบคอบ เพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และกว้างขวาง ทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี บางคนพูดบอกว่า เศรษฐกิจพอเพียงนี้ไม่ถูกทำไม่ดี ไม่ดี ได้ยินเค้าว่าส่วนใหญ่บอกว่าดี แต่พวกส่วนใหญ่ที่บอกว่าดีนี้เข้าใจแค่ไหนก็ไม่ทราบแต่ยังไงก็ตามเศรษฐกิจ หรือความประพฤติที่ทำอะไรเพื่อให้เกิดผล โดยมีเหตุผล คือ เกิดผลมักมาจากเหตุ ถ้าทำเหตุที่ดีถ้าคิดดีให้ผลที่ออกมาคือ สิ่งที่ติดตามเหตุการณ์ กระทำก็จะเป็นการกระทำที่ดี และผลของการกระทำนั้นก็จะเป็นการกระทำที่ดี ดีแปลว่ามีประโยชน์ ดีแปลว่าทำให้มีความสุข
กรอบความคิดเศรษฐกิจพอเพียง
เศรษฐกิจพอเพียง เศรษฐกิจพอเพียง เป็นเสมือนรากฐานของชีวิต รากฐานความมั่นคงของแผ่นดินเปรียบเสมือนเสาเข็มที่ตอกรองรับป้ายเรือนตัวอาคาร ไว้นั่นเองสิ่งก่อสร้างที่จะมั่นคงได้ก็อยู่ที่เสาเข็มนั่นเองแต่คนส่วนมาก มองไม่เห็นเสาเข็ม และถือเสาเข็มเสียด้วยซ้ำ (พระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว )
หลักปฏิบัติตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง
- การพึ่งตนเองเป็นหลัก
- การพิจารณาถึงความพอดี พอเหมาะ พอควร สมเหตุสมผล
- การสร้างความสามัคคีให้เกิดขึ้นบนพื้นฐานของความสมดุล
- ความครอบคลุมทั้งทางด้านจิตใจ สังคม เทคโนโลยี ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจพอเพียง
หลักของความประมาณ (พอดี) 5 ประการ
- พอดีด้านจิตใจ เข้มแข็ง มีจิตสำนึกที่ดี เอื้ออาทร ประนีประนอม นึกถึงประโยชน์ส่วนรวม
- พอดีด้านสังคม ช่วยเหลือเกื้อกูล รู้รักสามัคคี สร้างความเข้มแข็งให้ครัวเรือนและชุมชน
- พอดีด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รู้จักใช้และจัดการอย่างฉลาดและรอบคอบและเกิดความยั่งยืนสูงสุด
- พอดีด้านเทคโนโลยี รู้จักใช้ เทคโนโลยีที่เหมาะสมและสอดคล้องต่อความต้องการเป็นประโยชน์สภาพแวดล้อมและเกิดประโยชน์ต่อส่วนรวม และพัฒนาจากภูมิปัญญาชาวบ้านก่อน
- พอดีด้านเศรษฐกิจ เพิ่มรายได้ ลดรายจ่าย ดำรงชีวิตอย่างพอควรพออยู่ พอกิน สมควรตามอัตภาพและฐานะของตนเอง
หลักของความมีเหตุผล
- ยึดความประหยัด ตัดทอนค่าใช้จ่ายในทุกด้าน ลดความฟุ่มเฟือยในการดำรงชีพ
- ยึดถือการประกอบอาชีพด้วยความถูกต้อง สุจริต แม้จะตกอยู่ในภาวะขาดแคลนในการดำรงชีพ
- ละเลิกการแย่งผลประโยชน์ และแข่งขันในทางด้านการค้าขาย ประกอบอาชีพแบบต่อสู้กันอย่างรุนแรง
- ไม่หยุดนิ่ง หาทางในชีวิตให้หลุดพ้นจากความทุกข์
- ปฏิบัติตนในแนวทางที่ดี ลด เลิก สิ่งยั่วกิเลสให้หมดสิ้นไป ไม่ก่อความชัวให้เป็นเครื่องทำลายตัวเองทำลายผู้อื่น
หลักของการมีภูมิคุ้มกัน
- มีความรอบคอบและระมัดระวัง
- มีคุณธรรม ซื่อสัตย์ สุจริต ขยัน อดทน และแบ่งปัน
ข้อคิดในการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในการจัดกิจกรรมการศึกษานอกโรงเรียนสู่ชุมชน
- การพัฒนาต้องเกิดจากภายในจึงจะมั่นคง
- การพัฒนาต้องเป็นลำดับขั้นตอน ไม่ใช่ก้าวกระโดด
- เน้นเรื่องความสามารถพึ่งตนเองเป็นมาตรฐานขั้นตอน
- ศึกษาทดลองจนหาวิธีที่เหมาะสม
- การพัฒนาที่ยั่งยืนต้องอนุรักษ์และพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติ