ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม >>

คณะสงฆ์อนัมนิกาย
(พระญวน)

การปกครองคณะสงฆ์อนัมนิกายของไทย

เดิมบรรพชิตมหานิกายฝ่ายเหนือ คณะอานัมและคณะจีนในประเทศไทย ขึ้นอยู่กับกรมท่าซ้ายตามทางราชการ แต่พระสงฆ์ทั้ง 2 นิกายดังกล่าว ได้ยื่นบัญชีไปยังกระทรวงธรรมการ (กระทรวงศึกษาธิการ) ทุกปี คงต้องการที่จะให้ขึ้นกับกระทรวงนี้ ดังนั้น เมื่อมีการสิ่งใดที่เกี่ยวบรรพชิตมหายาน ทางกระทรวงธรรมการก็จัดทำไปโดยอนุโลม ไม่แต่ 2 นิกายดังกล่าวแล้วเท่านั้น พระมหายานคณะญี่ปุ่น ที่เข้ามาอยู่ในไทย กระทรวงการต่างประเทศและทูตญี่ปุ่น ก็ขอให้กระทรวงธรรมการช่วยเป็นธุระให้ ได้จัดให้อยู่ที่วัดสระเกศบ้าง วัดญวนบ้าง

ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2441 ทางกระทรวงธรรมการได้ทำเรื่องกราบบังคมทูลขอพระบรมราชานุญาต ให้บรรตชิตมหายานคณะต่าง ๆ มาขึ้นกับกระทรวงธรรมการ ซึ่งในขณะนั้นมีจำนวนวัดฝ่ายอานัมนิกายอยู่ 7 วัด บรรพชิต 54 รูป คณะจีนนิกาย 3 วัด บรรพชิต 20 รูป บรรพชิตญี่ปุ่น 2 รูป ฝากไว้ที่วัดสระเกศ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ดำเนินการตามที่ขอมา พระจีนและพระญวนจึงได้มาขึ้นอยู่กับกระทรวงธรรมการนับแต่นั้นมา

วัดญวนในไทย
พระญวนในประเทศไทย
พัดยศพระสงฆ์อนัมนิกาย
เครื่องยศที่พระราชทานพระสงฆ์อนัมนิกาย
สมณศักดิ์ชั้นสัญญาบัตรของคณะสงฆ์อานัมนิกาย
การปกครองคณะสงฆ์อนัมนิกายของไทย
ตราประจำตำแหน่ง

ที่มา : หอมรดกไทย

แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย

» นิยาย-เรื่องสั้น
» ข้อเขียน-บทความ
» บทกวี
» สารคดี-ท่องเที่ยว

» การจัดระเบียบทางสังคม
การจัดระเบียบสังคมเป็นกระบวนการที่สมาชิกได้พัฒนาการกระทำระหว่างกันทางสังคมอย่างมีระเบียบ โดยสมาชิกส่วนรวมของสังคมได้ยอมรับเป็นแนวความประพฤติร่วมกัน

» การควบคุมทางสังคม
วิธีการและกระบวนการทั้งหมด ซึ่งกลุ่มหรือสังคมใช้ในการให้สมาชิกของสังคมปฏิบัติตามที่สังคมคาดหวัง

» ค่านิยมทางเพศ (Sexual Value)
หลักการพื้นฐานที่บุคคลยึดเป็นหลักในการปฏิบัติเพื่อดำเนินชีวิตซึ่งเกี่ยวกับเรื่องเพศ โดยค่านิยมทางเพศของบุคคลเกิดจากการอบรมสั่งสอนจากพ่อแม่ในสถาบันครอบครัว ระบบการศึกษา ประสบการณ์

» ลัทธิของค้านท์
ลัทธิที่ยึดมั่นในคุณธรรมหรือเหตุผลอย่างเคร่งครัด หรือ Moral Purism แปลว่า บริสุทธิ์นิยมทางศีลธรรม หรือบางทีก็เรียกว่า หน้าที่นิยม เพราะเน้นที่หน้าที่เป็นหลัก

» ประชุมพงศาวดาร
การศึกษาหาความรู้พงศาวดาร และตำนานเก่าย่อมถือว่าเป็นส่วนสำคัญอย่างหนึ่งใน การศึกษาทั่วทุกประเทศ

» อปริหานิยธรรม 7
ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความไม่เสื่อม 7 ประการ ผู้ปฏิบัติ ธรรมนี้จะเป็นไปเพื่อความเจริญทั้งฝ่ายบ้านเมืองและฝ่ายสงฆ์

» จริยธรรม
จริยธรรมไม่แยกเด็ดขาดจากศีลธรรม แต่มีความหมายกว้างกว่าศีลธรรม