ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม >>

คณะสงฆ์อนัมนิกาย

(พระญวน)

       คนญวนที่เข้ามาอยู่ในประเทศไทย สมัยก่อนกรุงรัตนโกสินทร์ ยังไม่มีหลักฐานปรากฏ จากพงศาวดารของพวกญวน ที่อยู่ในกรุงเทพ ฯ

เมื่อประมาณปี พ.ศ.2316 ได้เกิดกบฏขึ้นที่ เมืองเว้ อันเป็นเมืองหลวง ของประเทศญวน พวกราชวงศ์ญวน ได้พากันหนีพวกกบฏ ลงมาทางเมืองไซ่ง่อนหลายองค์องเชียงชุนราชบุตรองค์ที่ 4 ของเจ้าเมืองเว้ ได้หนีมาอาศัยอยู่ที่เมืองฮาเตียน ต่อแดนมณฑลบันทายมาศของเขมร เมื่อพวกกบฏยกกำลังติดตามมา เจ้าเมืองฮาเตียนก็อพยพครอบครัว พาองเชียงชุนเข้ามากรุงธนบุรี เมื่อประมาณปี พ.ศ.2319 สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ได้โปรดเกล้า ฯ ให้รับไว้ และพระราชทานที่ให้พวกญวน ตั้งบ้านเรือนอยู่นอกฝั่งพระนคร ทางฝั่งตะวันออก บริเวณถนนพาหุรัดในปัจจุบัน

ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ องเชียงสือ ราชนัดดาของเจ้าเมืองเว้ ได้หนีกบฏไปอยู่เมืองไซ่ง่อน แต่ต่อมาเมื่อสู้กบฏไม่ได้ จึงได้หนีมาอยู่ที่เกาะกระบือในเขมร ต่อมาได้เข้ามาขอพึ่งพระบรมโพธิสมภาร พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า ฯ ที่กรุงเทพ ฯ เมื่อปี พ.ศ.2326 และได้รับพระราชทานที่ให้ญวนพวกองเชียงสือ ตั้งบ้านเรือนบริเวณริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันออก ตำบลคอกกระบือ พวกญวนที่นับถือองเชียงสือได้พากันอพยพครอบครัวมาอยู่ด้วยเป็นจำนวนมาก องเชียงสือได้คุมพวกญวนไปตามเสด็จในการทำสงครามกับพม่าหลายครั้ง และได้รับพระราชทานกองทัพไปตีเมืองไซ่ง่อนครั้งหนึ่ง ต่อมาองเชียงสือได้ลอบหนีกลับไปเมืองญวน เพื่อคิดอ่านตีเอาเมืองไซ่ง่อนคืน พฤติกรรมครั้งนี้กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาททรงขัดเคืองมาก จึงโปรดให้ญวนพวกองเชียงสือย้ายไปตั้งบ้านเรือนอยู่ที่บางโพ และได้สืบเชื้อสายมาถึงปัจจุบัน

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อปี พ.ศ.2377 พระเจ้าแผ่นดินญวนพระนามมินมาง ประกาศห้ามประกาศมิให้ญวนถือศาสนาคริสตัง และจับพวกญวนที่เข้ารีดทำโทษด้วยประการต่าง ๆ จึงมีพวกญวนเข้ารีดอพยพหนีภัยเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารอยู่ในไทย โดยมาอยู่ที่เมืองจันทบุรีเป็นส่วนใหญ่ มีบางส่วนอพยพเข้ามาอยู่ในกรุงเทพ ฯ และได้รับพระราชทานที่อยู่ให้ที่สามเสน

ในปี พ.ศ. 2376 เจ้าพระยาบดินทร์เดชาได้ยกทัพไปตีเมืองญวน และได้ครัวญวนส่งเข้ามาถึงกรุงเทพ ฯ เมื่อปลายปี พ.ศ.2377 ครัวญวนที่เข้ามาครั้งนี้แบ่งเป็น 2 พวก คือ พวกที่ถือพุทธศาสนาพวกหนึ่ง และพวกที่ถือคริสตศาสนาอีกพวกหนึ่ง พวกญวนที่ถือพุทธศาสนานั้นโปรดเกล้า ฯ ให้ไปตั้งบ้านเรือนอยู่ที่จังหวัดกาญจนบุรี สำหรับรักษาป้อมเมืองใหม่ที่ทรงสร้างขึ้นที่ปากแพรก ส่วนพวกญวนที่ถือศาสนาคริสตตังให้ไปตั้งบ้านเรือนอยู่ที่สามเสน ซึ่งมีญวนที่ถือคริสตังตั้งอยู่มาแล้วแต่เดิมและโปรดเกล้า ฯ ให้ขึ้นอยู่ในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งยังทรงดำรงพระยศเป็นสมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนอิศเรศรังสรรค์ เพื่อทรงฝึกหัดเป็นทหารปืนใหญ่

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานพระบรมราชานุญาต ให้ญวนที่อยู่เมืองกาญจนบุรี มาตั้งบ้านเรือนอยู่ที่ริมคลองผดุงกรุงเกษม แล้วจัดให้เป็นทหารปืนใหญ่ฝ่ายวังหลวงสืบมา

วัดญวนในไทย
พระญวนในประเทศไทย
พัดยศพระสงฆ์อนัมนิกาย
เครื่องยศที่พระราชทานพระสงฆ์อนัมนิกาย
สมณศักดิ์ชั้นสัญญาบัตรของคณะสงฆ์อานัมนิกาย
การปกครองคณะสงฆ์อนัมนิกายของไทย
ตราประจำตำแหน่ง

ที่มา : หอมรดกไทย

แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย

» นิยาย-เรื่องสั้น
» ข้อเขียน-บทความ
» บทกวี
» สารคดี-ท่องเที่ยว

» การจัดระเบียบทางสังคม
การจัดระเบียบสังคมเป็นกระบวนการที่สมาชิกได้พัฒนาการกระทำระหว่างกันทางสังคมอย่างมีระเบียบ โดยสมาชิกส่วนรวมของสังคมได้ยอมรับเป็นแนวความประพฤติร่วมกัน

» การควบคุมทางสังคม
วิธีการและกระบวนการทั้งหมด ซึ่งกลุ่มหรือสังคมใช้ในการให้สมาชิกของสังคมปฏิบัติตามที่สังคมคาดหวัง

» ค่านิยมทางเพศ (Sexual Value)
หลักการพื้นฐานที่บุคคลยึดเป็นหลักในการปฏิบัติเพื่อดำเนินชีวิตซึ่งเกี่ยวกับเรื่องเพศ โดยค่านิยมทางเพศของบุคคลเกิดจากการอบรมสั่งสอนจากพ่อแม่ในสถาบันครอบครัว ระบบการศึกษา ประสบการณ์

» ลัทธิของค้านท์
ลัทธิที่ยึดมั่นในคุณธรรมหรือเหตุผลอย่างเคร่งครัด หรือ Moral Purism แปลว่า บริสุทธิ์นิยมทางศีลธรรม หรือบางทีก็เรียกว่า หน้าที่นิยม เพราะเน้นที่หน้าที่เป็นหลัก

» ประชุมพงศาวดาร
การศึกษาหาความรู้พงศาวดาร และตำนานเก่าย่อมถือว่าเป็นส่วนสำคัญอย่างหนึ่งใน การศึกษาทั่วทุกประเทศ

» อปริหานิยธรรม 7
ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความไม่เสื่อม 7 ประการ ผู้ปฏิบัติ ธรรมนี้จะเป็นไปเพื่อความเจริญทั้งฝ่ายบ้านเมืองและฝ่ายสงฆ์

» จริยธรรม
จริยธรรมไม่แยกเด็ดขาดจากศีลธรรม แต่มีความหมายกว้างกว่าศีลธรรม