ขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรม อารยธรรม >>
สาเหตุที่มนุษย์มีการแต่งกายแตกต่างกัน
การแต่งกายไทยตามสมัยประวัติศาสตร์และโบราณคดี
การแต่งกายสมัยรัตนโกสินทร์
การเปลี่ยนแปลงและพัฒนาการของการใช้เสื้อผ้าในแต่ละยุคสมัย
การเปลี่ยนแปลงและพัฒนาการของการใช้เครื่องประดับในแต่ละยุคสมัย
การแต่งกายของชาวเขาในประเทศไทย
การแต่งกายชาวเอเซีย
การแต่งกายชาวตะวันออกกลางและยุโรป
การแต่งกายของยุโรปตอนเหนือ
แนวความคิดในการออกแบบเครืองแต่งกายจากสมัยต่าง ๆ
สาเหตุที่มนุษย์มีการแต่งกายแตกต่างกัน
ในทางฟิสิกส์มนุษย์เป็นสัตว์โลกที่อ่อนแอที่สุด ผิวหนังมนุษย์จะบอบบางกว่าสัตว์อื่น ๆ จึงมีความจำเป็นต้องมีสิ่งมาปกปิดร่างกายเพื่อการดำรงชีวิตอยู่ได้ (พวงผกา คุโรวาท, 2540: 2) สิ่งนี้จึงเป็นแรงกระตุ้นที่สำคัญที่ให้มนุษย์ขวนขวายที่จะแต่งกายเพื่อสนองความต้องการของ ตนเอง สังคม และอื่น ๆ ประกอบกัน ซึ่งความต้องการของมนุษย์นักออกแบบได้แบ่งความ ต้องการของมนุษย์ออกเป็น 3 ลักษณะ คือ
- ความต้องการพื้น ฐานของมนุษย์ (Biological Needs) ได้แก่ ปัจจัย 4 คือ อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย และยารักษาโรค
- ความต้องการด้านร่างกาย (Physical Needs) เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้น เพื่อ ตอบสนองความต้องการพื้นฐาน เพื่อให้ได้มาซึ่งสิ่งที่มนุษย์ต้องการ
- ความต้องการด้านจิตวิทยา (Psychological Needs) เป็นความต้องการทางด้านจิตใจ ของมนุษย์ด้านความงาม
นอกจากนี้ อาจกล่าวได้ว่า มนุษย์ในยุคโบราณต้องแก้ปัญหาพื้น ฐานในเรื่องปัจจัย 4 เป็น
อย่างมาก(พวงผกา คุโรวาท, 2540: 2) และเป็นความพยายามในการควบคุมสิ่งแวดล้อมให้
เหมาะสมกับตนเอง ดังนั้น การแต่งกายของมนุษย์ก็จะแตกต่างกันออกไปตามมูลเหตุต่อไปนี้
สภาพภูมิอากาศ
ภูมิอากาศของประเทศเป็นเหตุใหญ่ที่ทำให้การแต่งกายของแต่ละประเทศมีความแตกต่าง
กัน คนท้องถิ่นอยู่ในประเทศที่มีอากาศหนาวมากจะแต่งกายเพื่อห่อหุ้มร่างกายจากสภาพอากาศ พวกที่อาศัยอยู่ในเขตอากาศร้อน ก็จะแต่งกายด้วยเสื้อ ผ้าที่ทำจากใยฝ้ายเพื่อช่วยให้
ระบายความร้อนได้ดี หรือไม่ก็จะหาวิธีเพื่อป้องกันความร้อนจากดวงอาทิตย์โดยใช้เชือกย้อมด้วย
สีเข้มมาพันตัว เช่น ชนเผ่า Blue men ใช้เงาของเขาใหญ่บังแสงอาทิตย์หรือใช้คบไฟป้องกันความ
หนาวแทนการสวมใส่เสื้อ ผ้า ชนเผ่าบางเผ่ามักถูกสัตว์และแมลงรบกวนจึงหาวิธีพอกร่างกาย
ด้วยโคลนเพื่อป้องกันแมลงศัตรูทางธรรมชาติ ชาวฮาไวเอียนและพวกโมชั่นนิคใช้หญ้ามาทำ
กระโปรงเพื่อป้องกันแมลง ชนเผ่าไอนุซึ่งเป็นชาวพื้น เมืองญี่ปุ่นใช้กางเกงขายาวป้องกันสัตว์และ
แมลงได้
สภาพงานและอาชีพ
ในการปฏิบัติงานของแต่ละอาชีพ ความต้องการเสื้อ ผ้าสวมใส่ในการทำงานจะมีลักษณะ
ที่แตกต่างกันในแต่ละอาชีพ มนุษย์จึงคิดประดิษฐ์เส้นใยต่างขึ้น มาเพื่อให้มีคุณสมบัติต่าง ๆ
เพื่อให้เหมาะสมกับแต่ละอาชีพนั้น ๆ เช่น การทนต่อสารเคมี ไม่เป็นสื่อไฟฟ้า และ ไม่นำความ
ร้อน
ขนบธรรมเนียม ประเพณี และวัฒนธรรม
การที่มนุษย์อยู่ร่วมกันอย่างเป็นหมู่ จึงจำเป็นต้องมี กฎ ระเบียบ เพื่อให้การเป็นอยู่
ร่วมกันอย่างสงบสุข ไม่มีการรุกรานซึ่งกันและกัน การปฏิบัติสืบต่อกันมานี้เองจึงกลายเป็น
ขนบธรรมเนียม ประเพณี และวัฒนธรรม มนุษย์เริ่มรู้จักการเข้าสังคม รู้จักแต่งตัว ซึ่งมีมาตั้ง แต่
สมัยโบราณแล้ว เช่น การทาสี การสัก การทำลวดลายตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ดังจะเห็นได้
จากการทาสีร่างกาย ได้เป็นการประดับร่างกายอย่างหนึ่งของหญิงสาวนิวกีนีจะเขียนลวดลาย
บนใบหน้าถือว่างาม นักรบชาวเกาะนิวกีนี ใช้สีทาหน้าจนดำ แสดงความแข็งแรงและความเป็น
ลูกผู้ชาย จากพัฒนาการดังกล่าวจนถึงปัจจุบันได้มีการนี้นำมาประยุกต์ในการแต่งหน้า โดยผลิตเป็น
เครื่องสำอางที่มีสีสัน เช่น ลิปสติก อายแชร์โดว์ เป็นต้น
นอกจากนี้ การสักตามร่างกายก็ถือว่า เป็นศิลปะในสมัยอียิปต์โบราณและจนปัจจุบันนี้
การสักก็เป็นแฟชั่นของการแต่งกายอย่างหนึ่งเหมือนกัน เช่น หญิงสาว เผ่ามาคอนด์ จะทำ
ลวดลายบนแผ่นหลัง โดยการแหวะผิวหนังให้เป็นร่องแล้วอัดด้วยหินให้นูนขึ้น มาเหมือนผืนผ้าที่
ปักด้วยไหม หญิงสาวที่มีลวดลายเช่นนี้ถือว่าเป็นคนสวยของชนเผ่าเดียวกัน หรือการสักใบหน้า
ของหญิงสาวเผ่ามาคอนด์เพื่อให้ดุน่าเกลียดแลป้องกันพวกค้าทาสจับตัวไปทำทารุณทางเพศ
(พวงผกา คุโรวาท, 2540: 4)
ศาสนา
ศาสนามีบทบาทสำคัญในการแต่งกายเช่นกัน ดังจะเห็นได้จากการเกิดสงครามศาสนา
ในยุโรปที่เรียกว่า สงครามครูเสด อันเป็นสงครามที่สู้รบแบบยืดเยื้อ มาเป็นเวลานานกว่า 300 ปี
มีการรบพุ่งกันตลอดเวลา(พวงผกา คุโรวาท, 2540: 5) การปะทะกันตัวต่อตัวและกินระยะเวลา
ยาวนานมากความสัมพันธ์ระหว่างข้าศึกก็เกิดขึ้น มีการแลกเปลี่ยนความคิดและวัฒนธรรมซึ่งกัน
และกัน และเมื่อเหตุการณ์สงบลงผลจาสงครามทำให้ทรัพยากรต่างๆ สูญเสียไปมาก ทาง
ประวัติศาสตร์จึงเรียกยุโรปสมัยนั้น ว่า สมัยมืด กล่าวคือวัฒนธรรมต่างๆ ศิลปะ วิชาการ
ตลอดจนความเจริญในด้านต่างๆได้ปิดเงียบลง และกลับมาเฟื่องฟูอีกครั้ง ในสมัยศตวรรษที่ 16
ความเจริญในด้านต่าง ๆ ดังกล่าวได้วิวัฒนาการขึ้น รวมทั้ง การแต่งกายก็เฟื่องฟูมากในสมัยนี้
ความต้องการดึงดูดเพศตรงข้าม
มนุษย์เราเมื่อเริ่มเติบโตเข้าในวัยรุ่นหนุ่มสาว มีความสมบูรณ์ทางเพศเป็นธรรมชาติที่
ต้องการมีความงดงามขึ้น เพื่อที่จะดึงดูดใจแก่เพศตรงข้าม ซึ่งเป็น สิ่งสำคัญที่มนุษย์ต้องการการ
ยอมรับจากบุคคลอื่นด้วย โดยเฉพาะด้านร่างกาย เพื่อสนองความต้องการนี้จึงได้มีวิวัฒนาการของ
การออกแบบเครื่องแต่งกายของมนุษย์ เพื่อตอบสนองความต้องการของสังคมที่เปลี่ยนไปอยู่เสมอ
วัสดุที่นำมาใช้ก็มีการเปลี่ยนแปลงปรับปรุงให้เข้ากับความเจริญด้านเทคโนโลยีและเศรษฐกิจ ผู้ที่
มีบทบาทที่จะสนองความต้องการเหล่านี้คือ บรรดานักออกแบบ (Designers) เขาเหล่านีเป็นผู้
คอยกำหนดรูปแบบ และแนวทางการแต่งกายให้กับมนุษย์ เพื่อเลือกใช้ให้เหมาะกับลักษณะที่
แตกต่างกันออกไปตามระดับของสังคม และเศรษฐกิจ
สถานภาพทางสังคมและเศรษฐกิจ
สภาพของสังคมและเศรษฐกิจของแต่ละแห่งแต่ละประเทศมีความไม่เหมือนกัน และมี
บทบาทต่อการแต่งกายที่ต่างไปด้วย สังคมทั่วไปในขณะนี้มีหลายระดับชั้น และแบ่งกันตามฐานะ
ทางเศรษฐกิจอีกด้วย เช่น ชนชั้น ระดับเจ้านาย ชาวบ้าน กรรมกร ซึ่งแต่ละลักษณะจะบ่งชัดว่าผู้แต่งนั้นอยู่ในฐานะระดับใด และยังบ่งถึงสภาพสังคมของเขาด้วย ความเจริญทางด้านวัฒนธรรม
และการแต่งกายมีการวิวัฒนาการมาเรื่อย ๆ ชนชาติแรกที่ถือว่าเป็นต้นฉบับการแต่งกาย คือ ชาวอียิปต์ รองลงมาคือ กรีก โรมัน ซึ่งจะได้กล่าวถึงต่อไป