ขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรม อารยธรรม >>

ประวัติเครื่องแต่งกาย

สาเหตุที่มนุษย์มีการแต่งกายแตกต่างกัน
การแต่งกายไทยตามสมัยประวัติศาสตร์และโบราณคดี
การแต่งกายสมัยรัตนโกสินทร์
การเปลี่ยนแปลงและพัฒนาการของการใช้เสื้อผ้าในแต่ละยุคสมัย
การเปลี่ยนแปลงและพัฒนาการของการใช้เครื่องประดับในแต่ละยุคสมัย
การแต่งกายของชาวเขาในประเทศไทย
การแต่งกายชาวเอเซีย
การแต่งกายชาวตะวันออกกลางและยุโรป
การแต่งกายของยุโรปตอนเหนือ
แนวความคิดในการออกแบบเครืองแต่งกายจากสมัยต่าง ๆ

การแต่งกายสมัยรัตนโกสินทร์

การแต่งกายสมัยรัตนโกสินทร์

รัชกาลที่ 1-3 พ.ศ. 2325 – 2394 ระยะ 69 ปี

หญิง
ผม
ไว้ผมปีกประบ่ากันไรผมวงหน้าโค้ง ส่วนบนกระหม่อมกันไรผมเป็นหย่อมวงกลม แบ่งผมออกดูคล้ายปีกนก จึงเรียกผมปีก แต่ไม่ยาวเท่าสมัยอยุธยา ปล่อยจอน ข้างหูยาวแล้ว ยกขึ้น ทัดไว้ที่หู เรียกว่า “จอนหู” ส่วนเด็ก ๆ นิยมไว้ผมจุก

การแต่งกาย นุ่งผ้าจีบ ห่มสไบเฉียง ซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากสมัยอยุธยา ชาวบ้านนุ่งผ้าถุง หรือโจงกระเบน สวมเสื้อรัดรูปแขนกระบอก ห่มตะเบงมาน หรือผ้าแถบคาดรัดอก และห่มสไบ เฉียงทับ

ชาย
ผม
ยังคงไว้แบบเดียวกับสมัยอยุธยา คือ ทรงมหาดไทย ชาวบ้านเรียกว่า “ทรงหลักแจว”

การแต่งกาย นุ่งผ้าม่วง โจงกระเบน สวมเสื้อเป็นแบบเสื้อนอกคอเปิด ผ่าอก แขนยาว กระดุม 5 เม็ด ชาวบ้านจะไม่สวมเสื้อ หรือพาดผ้า

รูปแบบการนุ่งผ้า ระหว่างชาววังและชาวบ้านไม่น่าจะมีอะไรแตกต่างกันมาก แต่จะมี รายละเอียดบางส่วนคือเนื้อผ้า พวกชาววัง ขุนนาง ชนชั้น สูง มักใช้ผ้าทอเนื้อละเอียด สอดเงิน สอดทอง หรือผ้าไหมอย่างดี ส่วนชาวบ้านนุ่งผ้าพื้นเมือง พวกผ้าพื้น หรือผ้าลายเนื้อเรียบ ๆ ตามหลักฐานรูปจิตรกรรมฝาผนัง พวกขุนนางมักสวมเสื้อคอกลม ผ่ากลาง มีกระดุม มีสาบเสื้อ หรือเป็นเสื้อคอเปิด มีกระดุม จะมีผ้าคาดทับ ส่วนกางเกงจะเป็นแบบขาสามส่วน ยาวเพียงครึ่งน่อง บางทีก็นุ่งโจงกระเบนทับในสมัยรัชกาลที่ 3 ไม่โปรดให้สวมเสื้อเข้าเฝ้า

การแต่งกายของคนสามัญ
ราษฎรส่วนใหญ่มีอาชีพเป็นเกษตรกร ทำนา ทำสวน ทำไร่ การแต่งกายของชายหญิงจึง เอื้ออำนวยต่อการใช้ชีวิตแบบเกษตรกร การแต่งกายจึงมีลักษณะทะมัดทะแมง คือ นุ่งผ้าชิ้น เดียว ด้วยวิธีนุ่งถกเขมร เป็นการนุ่งโจงกระเบน แต่ถกให้สั้น เหนือเข่า เพื่อสะดวกในการออกแรง ไม่สวมเสื้อ โพกผ้าที่ศีรษะ ไม่สวมรองเท้า หากอยู่บ้านไม่ทำงานก็นุ่งผ้าลอยชาย หรือนุ่งโสร่งมี ผ้าคาดพุง ในงานเทศกาลมักนุ่งผ้าโจงกระเบนเป็นผ้าแพรสีต่าง ๆ และห่มผ้าคล้องคอปล่อยชาย ยาวทั้งสองไว้ด้านหน้า หรือคล้องไหล่ทิ้งชายไว้ด้านหน้า หรือพาดตามไหล่ไว้

ทรงผม ติดเป็นผมปีกหรือผมตัดแบบผู้ชาย

สตรีชาวบ้านนุ่งผ้าจีบ ห่มสไบ เวลาทำงานห่มตะเบงมาน อยู่บ้านห่มเหน็บหน้าแบบผ้าแถบ เวลาออกจากบ้านห่มสไบเฉียง ถ้าเป็นสตรีสาวตัดผมสั้น แบบดอกกระทุ่ม ปล่อยท้ายยาวงอนถึงบ่า ผู้ใหญ่ตัดผมปีกแบบโกนท้ายทอยสั้น

ลักษณะการแต่งกายของคนสามัญไม่ค่อยมีการเปลี่ยนแปลงจนมาถึงสมัยรัชกาลที่ 4

การแต่งกายสมัยรัชกาลที่ 1-3

รัชกาลที่ 4 พ.ศ. 2394 – 2411 ระยะ 17 ปี
สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
กลางสมัยรัชกาลที่ 5
ปลายรัชกาลที่ 5
สมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
สมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
สมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล
สมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน
เครื่องแต่งกายสำหรับงานพระราชพิธีหรือรัฐพิธี

แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย

» "บ้าน" มรดกทางวัฒนธรรม
"บ้าน" คือการบอกเล่าความเป็นมา คือการบอกล่าวถึงพัฒนาการในการดำรงชีพของมนุษย์ "บ้าน" ที่อยู่อาศัยหนึ่งในปัจจัยสี่ ซึ่งมีความจำเป็นสำหรับมนุษย์ และบ่งบอกถึงความั่นคง

» ภูมิปัญญากีฬาไทย
กีฬาไทยที่บรรพชนไทยค้นคิด และถ่ายทอดมาสู่ลูกหลาน บางชนิดกลายเป็นตำนานและความทรงจำ และบางชนิดยังคงมีการเล่นกันอยู่

» สะพานสู่ฟ้าใหม่
สะพานข้ามน้ำเป็นสัญลักษณ์การข้ามอุปสรรคขวางกั้นไปสู่จุดหมาย และการเชื่อมโยงสิ่งตรงข้ามมา เพื่อสร้างเอกภาพอันกลมกลืนมั่นคง

» ทิวธงมงคลชัย
สิ่งสะท้อนความคิด และสืบทอดคติความเชื่อ ขนบธรรมเนียมประเพณี ของชนรุ่นแล้วรุ่นเล่า จากยุคสมัยหนึ่งสู่อีกยุคสมัยหนึ่ง ดุจตัวแทนที่น้อมนำสู่มงคลแห่งชีวิต

» พระราชลัญจกรประจำรัชกาล
ตราประจำพระมหากษัตริย์ แต่ละรัชกาล ซึ่งจะทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเมื่อเริ่มต้นรัชกาล เพื่อประทับกำกับพระปรมาภิไธย ในเอกสารสำคัญต่างๆของชาติ ที่เกี่ยวกับราชการแผ่นดิน

» สามล้อไทย
วิถีหนึ่งของสายทาง ซึ่งแม้เวลาจะหมุนเวียนเปลี่ยนไป หากสายทางของสามล้อยังคงผูกพัน เป็นส่วนหนึ่งของสังคมไทย

» กีฬาสัตว์
ด้วยนิสัยช่างสังเกตของคนไทย จึงเป็นที่มาของกีฬาซึ่งใช้สัตว์เป็นผู้แข่งขัน จนกลายเป็นกิจกรรมบันเทิงพื้นบ้าน ยามว่างนับแต่อดีต

» ตาลปัตร พัดรอง
พัดที่ทำจากใบตาลมีหลายรูปแบบ สำหรับใช้โบกให้ความเย็น และใช้เป็นการบ่งบอกถึงฐานะ บรรดาศักดิ์ของผู้ใช้