สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>

การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในระบอบประชาธิปไตย

รูปแบบของการมีส่วนร่วมทางการเมือง

รูปแบบของการมีส่วนร่วมทางการเมือง 5 ประการ คือ
1. การออกเสียงเลือกตั้ง
2. การรณรงค์หาเสียง
3. การกระทำ ของแต่ละบุคคลเป็นเอกเทศต่อปัญหาทางการเมืองและสังคม
4. การเข้าร่วมกิจกรรมของกลุ่ม
5. กิจกรรมที่ใช้ความรุนแรง และอาจเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย

รูปแบบของการมีส่วนร่วมทางการเมืองของไทยโดยทั่ว ๆ ไปมีดังนี้คือ

1)การไปลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง
การไปลงคะแนนเลือกตั้ง เป็นการมีส่วนร่วมทางการเมือง ที่ประชาชนของไทยรู้จักดีมากที่สุดรูปแบบหนึ่ง การเลือกตั้งเป็นเงื่อนไขที่สำคัญมาก ถ้าไม่มีการเลือกตั้งประเทศนั้นก็มิใช่ประเทศที่มีการปกครองระบอบประชาธิปไตยเมืองไทยนั้น มีการเลือกตั้งผู้แทนราษฎรครั้งแรก เมื่อวันที่15 พฤศจิกายน พ.ศ.2476 แต่เป็นการเลือกตั้งทางอ้อมเพราะประชาชนต้องเลือกผู้แทนในระดับท้องถิ่น และให้ผู้แทนท้องถิ่นไปเลือกผู้แทนราษฎรอีกทีหนึ่งปัจจุบันนอกจากการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสมาชิกแล้ว เมืองไทยยังมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล สมาชิกสภาจังหวัด กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และสมาชิกสภาเขต (กรุงเทพฯ)และผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครอีกด้วย

2)การรณรงค์หาเสียง
ในประเทศไทยอาจแบ่งการรณรงค์หาเสียงเป็น 2 ระยะเวลา คือ
1. การรณรงค์หาเสียงในระยะเวลาที่ไม่มีพรรคการเมือง
2. การรณรงค์หาเสียงในระยะมีพรรคการเมือง

ในระยะที่ไม่มีพรรคการเมืองนี้ การรณรงค์หาเสียง จะใช้บุคลิกและความสามารถตลอดจนชื่อเสียงส่วนตัว ยังไม่มีการกำหนดนโยบายเป็นส่วนรวมของกลุ่ม และของพรรคการเมืองแต่อย่างใดจนกระทั่งการเลือกตั้ง ทั่วไป ครั้งที่ 4 เมื่อวันที่ 6 มกราคม พ.ศ.2489พรรคการเมืองจึงได้เป็นรูปเป็นร่างแม้ว่าจะไม่มีพระราชบัญญัติ พรรคการเมืองก็ตาม มีการรณรงค์หาเสียงอย่างกว้างขวาง แต่เมื่อมีการยึดอำนาจการปกครองในเวลาต่อมาพรรคการเมืองจึงหมดบทบาทไป และกลับมามีบทบาทอีกครั้งหนึ่ง เมื่อรัฐบาลได้ออกกฎหมายพรรคการเมืองฉบับแรก เมื่อปี พ.ศ.2498มีพรรคการเมืองมา จดทะเบียนถึง 30 พรรคและในการเลือกตั้งครั้งที่ 8 เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2500 ประชาชนและพรรคการเมืองเข้ามา มีส่วนร่วมทางการเมืองในการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งอย่างกว้างขวาง

รูปแบบของการมีส่วนร่วมทางการเมือง
การดำเนินกิจกรรมของบุคคลและกลุ่มต่อปัญหาการเมือง เศรษฐกิจและสังคม
กิจกรรมที่ใช้ความรุนแรงของประชาชน
ข้อจำกัดของการมีส่วนร่วมทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตย
ปัญหาการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน
ปัญหาวัฒนธรรมทางการเมืองและการศึกษา
ปัญหาจากบทบาทของพรรคการเมือง

แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย

» นิยาย-เรื่องสั้น
» ข้อเขียน-บทความ
» บทกวี
» สารคดี-ท่องเที่ยว

» การจัดระเบียบทางสังคม
การจัดระเบียบสังคมเป็นกระบวนการที่สมาชิกได้พัฒนาการกระทำระหว่างกันทางสังคมอย่างมีระเบียบ โดยสมาชิกส่วนรวมของสังคมได้ยอมรับเป็นแนวความประพฤติร่วมกัน

» การควบคุมทางสังคม
วิธีการและกระบวนการทั้งหมด ซึ่งกลุ่มหรือสังคมใช้ในการให้สมาชิกของสังคมปฏิบัติตามที่สังคมคาดหวัง

» ค่านิยมทางเพศ (Sexual Value)
หลักการพื้นฐานที่บุคคลยึดเป็นหลักในการปฏิบัติเพื่อดำเนินชีวิตซึ่งเกี่ยวกับเรื่องเพศ โดยค่านิยมทางเพศของบุคคลเกิดจากการอบรมสั่งสอนจากพ่อแม่ในสถาบันครอบครัว ระบบการศึกษา ประสบการณ์

» ลัทธิของค้านท์
ลัทธิที่ยึดมั่นในคุณธรรมหรือเหตุผลอย่างเคร่งครัด หรือ Moral Purism แปลว่า บริสุทธิ์นิยมทางศีลธรรม หรือบางทีก็เรียกว่า หน้าที่นิยม เพราะเน้นที่หน้าที่เป็นหลัก

» ประชุมพงศาวดาร
การศึกษาหาความรู้พงศาวดาร และตำนานเก่าย่อมถือว่าเป็นส่วนสำคัญอย่างหนึ่งใน การศึกษาทั่วทุกประเทศ

» อปริหานิยธรรม 7
ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความไม่เสื่อม 7 ประการ ผู้ปฏิบัติ ธรรมนี้จะเป็นไปเพื่อความเจริญทั้งฝ่ายบ้านเมืองและฝ่ายสงฆ์

» จริยธรรม
จริยธรรมไม่แยกเด็ดขาดจากศีลธรรม แต่มีความหมายกว้างกว่าศีลธรรม