สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>
การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในระบอบประชาธิปไตย
การดำเนินกิจกรรมของบุคคลและกลุ่มต่อปัญหาการเมือง เศรษฐกิจและสังคม
ประเทศไทย การมีส่วนร่วมทางการเมืองลักษณะนี้มีค่อนข้างน้อย เช่น อภิปรายแบบ“ไฮปาร์ค”
ซึ่งมีขึ้นที่สนามหลวงในช่วงก่อนเลือกตั้งปี พ.ศ.2500 โดย จอมพล ป.พิบูลสงคราม
นำแบบการไฮปาร์คมาจากอังกฤษ และการทำ “เพรสคอนเฟอร์เรนซ์”
มาจากสหรัฐอเมริกาการมีส่วนร่วมทางการเมืองแบบเข้ากลุ่มในเมืองไทย พอจะเห็นมีเพียง
3 กลุ่ม คือ
1. กลุ่มหรือองค์กรของกรรมกร
องค์กรกรรมกร มีขึ้นในประเทศไทยครั้งแรกเมื่อ พ.ศ.2487 ชื่อว่า สหบาลกรรมกรกลาง
(Central Union of Labour)ในปี พ.ศ.2494 สหบาลกรรมกรเปลี่ยนชื่อเป็น
“สมาคมกรรมกรไทย” (Thai National Trades Union Congress) ในปี
พ.ศ.2497มีการจัดตั้งสมาคมแรงงานเสรีแห่งประเทศไทย (Thai Free Workmen’s
Association of Thailand) ในปี พ.ศ.2518 มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์
กรรมกรผู้ใช้แรงงานต่างก็พากันมารวมกลุ่ม และพัฒนามาเป็น
“สหภาพแรงงานแห่งประเทศไทย” (Labour Congress of Thailand)
2.กลุ่มหรือองค์กรชาวนา
ในบรรดากลุ่มทุกกลุ่ม กลุ่มชาวนาจะมีบทบาทมากที่สุด
เพราะประเทศไทยมีผู้ประกอบอาชีพเกษตรกรรมถึงร้อยละ 70 ของประชาชน
แต่ความเป็นจริงชาวนาไทยไม่ได้รวมเป็นกลุ่ม
หรือองค์กรที่มีลักษณะถาวรมักจะเป็นการรวมตัวกันชั่วคราว เช่น ชาวนาชาวไร่
ในตำบลหมู่บ้านที่ได้รับความเดือดร้อนจะร่วมกันเดินทางมาร้องเรียนรัฐบาล
ในเรื่องการประกันราคาข้าว เป็นต้น
องค์กรของชาวนาแบ่งเป็น 3 ประเภท สำหรับในบทบาทการมีส่วนร่วมทางการเมืองไทย
ได้แก่
1. กลุ่มชาวนา
2. สมาคมชลประทานราษฎร์
3. สหกรณ์
3.พรรคการเมือง
ประเทศไทยมีความพยายามสร้างระบบการเมืองแบบประชาธิปไตยมากว่า 50
ปีแต่การสร้างพรรคการเมืองมีเวลาน้อยมาก พรรคการเมืองไม่มีบทบาทสำคัญ
ไม่ได้มีฐานอยู่ที่ประชาชนเมื่อมีการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อไร
จึงค่อยมีการตั้งพรรคการเมืองกันขึ้นมา เหตุ สำคัญที่ทำให้พรรคการเมืองอ่อนแอ
เนื่องจากการได้อำนาจของผู้ปกครองที่ผ่านมาในประเทศไทยนั้น
หลายครั้งไม่ได้อาศัยพรรคการเมืองเป็นฐาน
พรรคการเมืองเองก็ไม่ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง การเข้าไปรวมกลุ่ม
อยู่ในพรรคการเมืองมีความสำคัญมากกว่ากลุ่มอื่น
แต่ความเป็นจริงก็ไม่ได้สำคัญไปกว่ากลุ่มอื่น ๆ เท่าใด
การมีส่วนร่วมของประชาชนโดยการเข้าเป็นสมาชิกพรรคการเมือง
จึงยังจัดว่าไม่น่าพอใจและมีประสิทธิภาพเท่าที่ควรจะเป็น
รูปแบบของการมีส่วนร่วมทางการเมือง
การดำเนินกิจกรรมของบุคคลและกลุ่มต่อปัญหาการเมือง เศรษฐกิจและสังคม
กิจกรรมที่ใช้ความรุนแรงของประชาชน
ข้อจำกัดของการมีส่วนร่วมทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตย
ปัญหาการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน
ปัญหาวัฒนธรรมทางการเมืองและการศึกษา
ปัญหาจากบทบาทของพรรคการเมือง