สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>
การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในระบอบประชาธิปไตย
ปัญหาวัฒนธรรมทางการเมืองและการศึกษา
วัฒนธรรมทางการเมืองที่มีส่วนร่วมในการกระตุ้นให้ประชาชน มีส่วนร่วมทางการเมืองนั้นคือ วัฒนธรรมทางการเมืองแบบประชาธิปไตย หรือวัฒนธรรมทางการเมืองแบบมีส่วนร่วมสำหรับเมืองไทย มีงานวิจัยหลายเรื่องสรุปและแสดงถึงว่าวัฒนธรรมทางการเมืองของคนไทยไม่สนับสนุนให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมือง เพราะประชาชนโดยทั่วไปเชื่อว่าการเมือง หรือการบริหารประเทศเป็นเรื่องของคนกลุ่มน้อยบางกลุ่มเท่านั้น อีกประการหนึ่งคนไทยยังเห็นว่าการเมืองเป็นเรื่องของผลประโยชน์อย่างชัดแจ้งจนเกินไป การเมืองเป็นเรื่องของความ สกปรก
ความรู้สึกเช่นนี้ทำให้ประชาชนขาดความศรัทธาหรือความกระตือรือร้น ที่จะเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมือง แต่ถ้าเข้ามาก็มักจะมีวัตถุประสงค์อย่างอื่น เช่น เพื่อแลกเปลี่ยนกับเงินทองหรือการช่วยเหลือในรูปแบบต่าง ๆ ไม่ใช่เป็นเรื่องของสำนึกทางการเมืองลักษณะของวัฒนธรรมทางการเมืองของคนไทยอีกประการหนึ่งที่ไม่สนับสนุนการมีส่วนร่วมทางการเมือง คือการยอมรับในอำนาจนิยมของความเป็นข้าราชการ นั้นคือ ประชาชนโดยทั่วไปมองว่าข้าราชการเป็นชนชั้นผู้นำ เมื่อข้าราชการแนะนำหรือชักจูงไปในทางใดประชาชนจึงมักปฏิบัติตามโดยไม่โต้แย้ง ซึ่งไม่สอดคล้องกับหลักการของประชาธิปไตย ในด้านการศึกษาการจัดการเรียนการสอน ยังคงยึดนโยบายจากส่วนกลางยังไม่มีการกระจายอำนาจทางการศึกษาลงไปสู่ภูมิภาค และท้องถิ่นในการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียนก็เช่นกัน ยังคงเป็นบทบาทของผู้บริหารและครูเท่านั้นนักเรียนและผู้ปกครองยังไม่มีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาให้เป็นไปตามความต้องการของท้องถิ่น
รูปแบบของการมีส่วนร่วมทางการเมือง
การดำเนินกิจกรรมของบุคคลและกลุ่มต่อปัญหาการเมือง เศรษฐกิจและสังคม
กิจกรรมที่ใช้ความรุนแรงของประชาชน
ข้อจำกัดของการมีส่วนร่วมทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตย
ปัญหาการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน
ปัญหาวัฒนธรรมทางการเมืองและการศึกษา
ปัญหาจากบทบาทของพรรคการเมือง