สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>

การเมืองการปกครอง

ความหมายการเมืองการปกครอง
รัฐ (State)
ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับสังคม
รัฐธรรมนูญ (Constitution)
กฎหมาย (Law)
อำนาจอธิปไตย
รัฐสภา พรรคการเมืองและการเลือกตั้ง
ประชาชนกับบทบาททางการเมือง
ลัทธิการเมืองและเศรษฐกิจ
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
การเมืองการปกครองไทย
ระบบเศรษฐกิจและระบบการปกครอง
ธรรมาภิบาล
บรรณานุกรม

 

กฎหมาย (Law)

ความหมายของกฎหมาย

ตามที่กล่าวว่า กฎหมายเป็นเครื่องมือของรัฐในการใช้เพื่อควบคุมความประพฤติหรือการปฏิบัติของคนในสังคมที่จะก่อให้เกิดความเป็นระเบียบเรียบร้อยและความยุติธรรม และกฎหมายคือตัวกำหนดให้ประชาชนมีสิทธิหน้าที่และเสรีภาพในสังคมตลอดถึงการป้องกันสิทธิผลประโยชน์ของประชาชนนั้น มีนักปราชญ์หลายท่านได้ให้ความหมายไว้เป็นหลายนัย คือ

หยุด แสงอุทัย อธิบายว่า กฎหมาย ได้แก่ ข้อบังคับของรัฐ ซึ่งกำหนดความประพฤติของมนุษย์ ถ้าฝ่าฝืนจะได้รับผลร้ายหรือถูกลงโทษ
อริสโตเติล (Aristotle) ได้อธิบายไว้ว่า “กฎหมายคือข้อบังคับ (Rule) ซึ่งประกอบด้วยเหตุผล (Reason) ของชุมชน โดยมีลักษณะที่จะทำให้สิ่งต่าง ๆ ที่มีความขัดแย้งอยู่รวมกันได้ และก่อให้เกิดสันติสุขขึ้นในสังคมนั้น”

กฎหมาย คือ “บรรดาข้อบังคับของรัฐหรือประเทศที่ใช้บังคับความประพฤติทั้งหลายของบุคคลอันเกี่ยวกับเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างกัน ถ้าใครฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามก็จะต้องมีความผิดและถูกลงโทษ”

พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์พระบิดาแห่งกฎหมายไทยทรงอธิบายไว้ว่า “กฎหมายนั้น คือ คำสั่งทั้งหลายของผู้ปกครองแผ่นดินต่อราษฎรทั้งมวล เมื่อไม่ทำตามแล้วตามธรรมดาต้องได้รับโทษ”

จอห์น ออสติน (John Austin) ปรัชญาเมธีชาวอังกฤษ ได้ให้คำจำกัดความว่า กฎหมายคือคำสั่งคำบัญชาของรัฐาธิปัตย์ ซึ่งบังคับใช้กับกฎหมายทั้งหลาย ถ้าผู้ใดไม่ปฏิบัติตาม โดยปกติแล้วผู้นั้นต้องได้รับโทษ

จากความหมายต่าง ๆ ตามที่นักปราชญ์หลายท่านได้กล่าวข้างต้นนั้น พอสรุปได้ว่า กฎหมาย คือ กฎเกณฑ์หรือกติกาที่รัฐกำหนดขึ้นเพื่อใช้ควบคุมพฤติกรรมของบุคคล องค์การ หน่วยงาน และสถาบันต่าง ๆ ที่มีอยู่ภายในรัฐ หากมีการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามจะได้รับโทษตามที่บัญญัติไว้ในตัวบทกฎหมายนั้น ๆ แต่ถ้าจะกล่าวถึงลักษณะที่สำคัญตามความหมายของกฎหมายนั้น จะได้ดังนี้คือ

1. กฎหมายเป็นคำสั่ง ข้อห้าม หรือข้อบังคับของรัฐ
2. กฎหมายเป็นบทกำหนดความประพฤติและการงดเว้นการกระทำ
3. กฎหมายเป็นคำสั่งหรือข้อบังคับที่ใช้ทั่วไปกับทุกคน ทุกหน่วยงาน ทุกองค์การ
4. กฎหมายจะตราขึ้นโดยหน่วยอำนาจทางนิติบัญญัติ
5. กฎหมายทุกฉบับมีผลใช้บังคับได้อย่างสมบูรณ์หลังจากประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว
6. กฎหมายเป็นคำสั่งหรือข้อบังคับที่ใช้ควบคุมเสมอเหมือนกันหมดทุกคน ทุกหน่วยงานและทุกองค์การ
7.กฎหมายเป็นคำสั่งหรือข้อบังคับที่ทำให้คนในสังคมมีความเป็นระเบียบเรียบร้อยและเกิดความยุติธรรม
8. กฎหมายเป็นเครื่องมือบริหารรัฐ
9. กฎหมายมีบทลงโทษแก่ผู้กระทำผิด

ความหมายของกฎหมาย
ความสำคัญของกฎหมาย
หลักเกณฑ์บางประการของการใช้กฎหมาย
ที่มาของกฎหมาย
ประเภทของกฎหมาย

แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย

» นิยาย-เรื่องสั้น
» ข้อเขียน-บทความ
» บทกวี
» สารคดี-ท่องเที่ยว

» การจัดระเบียบทางสังคม
การจัดระเบียบสังคมเป็นกระบวนการที่สมาชิกได้พัฒนาการกระทำระหว่างกันทางสังคมอย่างมีระเบียบ โดยสมาชิกส่วนรวมของสังคมได้ยอมรับเป็นแนวความประพฤติร่วมกัน

» การควบคุมทางสังคม
วิธีการและกระบวนการทั้งหมด ซึ่งกลุ่มหรือสังคมใช้ในการให้สมาชิกของสังคมปฏิบัติตามที่สังคมคาดหวัง

» ค่านิยมทางเพศ (Sexual Value)
หลักการพื้นฐานที่บุคคลยึดเป็นหลักในการปฏิบัติเพื่อดำเนินชีวิตซึ่งเกี่ยวกับเรื่องเพศ โดยค่านิยมทางเพศของบุคคลเกิดจากการอบรมสั่งสอนจากพ่อแม่ในสถาบันครอบครัว ระบบการศึกษา ประสบการณ์

» ลัทธิของค้านท์
ลัทธิที่ยึดมั่นในคุณธรรมหรือเหตุผลอย่างเคร่งครัด หรือ Moral Purism แปลว่า บริสุทธิ์นิยมทางศีลธรรม หรือบางทีก็เรียกว่า หน้าที่นิยม เพราะเน้นที่หน้าที่เป็นหลัก

» ประชุมพงศาวดาร
การศึกษาหาความรู้พงศาวดาร และตำนานเก่าย่อมถือว่าเป็นส่วนสำคัญอย่างหนึ่งใน การศึกษาทั่วทุกประเทศ

» อปริหานิยธรรม 7
ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความไม่เสื่อม 7 ประการ ผู้ปฏิบัติ ธรรมนี้จะเป็นไปเพื่อความเจริญทั้งฝ่ายบ้านเมืองและฝ่ายสงฆ์

» จริยธรรม
จริยธรรมไม่แยกเด็ดขาดจากศีลธรรม แต่มีความหมายกว้างกว่าศีลธรรม