สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>

การเมืองการปกครอง

ความหมายการเมืองการปกครอง
รัฐ (State)
ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับสังคม
รัฐธรรมนูญ (Constitution)
กฎหมาย (Law)
อำนาจอธิปไตย
รัฐสภา พรรคการเมืองและการเลือกตั้ง
ประชาชนกับบทบาททางการเมือง
ลัทธิการเมืองและเศรษฐกิจ
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
การเมืองการปกครองไทย
ระบบเศรษฐกิจและระบบการปกครอง
ธรรมาภิบาล
บรรณานุกรม

 

รัฐ (State)

      รัฐมีความสัมพันธ์กับมนุษย์อย่างใกล้ชิด เพราะมนุษย์อยู่ภายใต้การปกครองของรัฐและอาศัยรัฐนั้นเป็นที่แสวงหาความสุขและสิ่งที่ต้องการของตน ในทำนองเดียวกันรัฐก็ต้องอาศัยมนุษย์เป็นองค์ประกอบเพื่อความสมบูรณ์ รัฐประกอบไปด้วยองค์ประกอบ 4 ประการ คือ ประชากร ดินแดน รัฐบาลและอำนาจอธิปไตย รัฐเป็นองค์การทางการเมืองมีอำนาจที่จะกำหนดอำนาจหน้าที่แห่งองค์การอื่น ๆ ภายในรัฐ ดังนั้นก่อนที่จะศึกษาถึงเรื่องต่าง ๆ ของการเมืองนั้นควรที่จะได้ศึกษาทำความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่อง “รัฐ” เสียก่อน

การที่จะให้ความหมายของคำว่า “รัฐ” (State) คืออะไรนั้น ย่อมจะไม่เป็นสิ่งที่ง่ายนัก เพราะสรรพสิ่งทุกอย่างในโลกนี้ล้วนเป็นสิ่งสมมติด้วยกันทั้งนั้น แต่จะเป็นสมมติสัจจะหรือสมมติธรรมดาที่เป็นของชาวโลกเท่านั้นเอง คือ เมื่อนักปราชญ์คนหนึ่งได้ให้ความหมายคำว่า “รัฐ” ไว้อย่างหนึ่ง แต่นักปราชญ์ท่านอื่น ๆ ก็มีสิทธิ์ที่จะให้ความหมายแตกต่างไปอย่างอื่นได้ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลาย ๆ ประการที่จะทำให้มีการให้ความหมายต่างกัน เช่น พื้นฐานทางด้านการศึกษา พื้นฐานทางเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และประสบการณ์ในอดีต เป็นต้น หรือเหมือนกับที่จะมีผู้ให้คำนิยามของคำว่า “คน” นั้นก็เป็นสิ่งที่ยากเช่นเดียวกัน เพราะคนประกอบขึ้นด้วยอวัยวะ 32 ประการ การที่จะให้คำนิยามว่า “คน” คือมนุษย์หรือ “คน” คือเท้าหรือแขนย่อมจะเป็นคำนิยามที่ไม่ยุติ เช่นเดียวกัน “รัฐ” เป็นสิ่งที่ประกอบไปด้วยส่วนต่าง ๆ ในรัฐหลายอย่างจึงเป็นธรรมดาที่นักปราชญ์จะให้ความหมายไว้ต่าง ๆ กันดังนี้ คือ

อาจารย์พงศ์เพ็ญ ศกุนตาภัย กล่าว่า คำว่า “รัฐ” อาจได้รับความเข้าใจในหลายทางด้วยกัน พวกหนึ่งอาจเห็นว่า “รัฐ“ คือ “สังคมรูปหนึ่ง“ แต่อีกพวกหนึ่งอาจเห็นว่า “รัฐ“ คือ “จักรกลแห่งการบังคับ“ ความเห็นทั้งสองนี้มีส่วนถูกต้องด้วยกันทั้งคู่ และเมื่อเอามาผสมผสานกัน เราอาจให้ความหมายที่สมบูรณ์ที่สุด “รัฐ“ กล่าวคือ รัฐเป็นประชาคมมนุษย์ อย่างหนึ่งแตกต่างจากประชาคมมนุษย์อื่นตรงที่มีอำนาจทางการเมืองเป็นพื้นฐาน ปัญหามีอยู่ว่า “อำนาจทางการเมือง“ นั้นคืออะไร แตกต่างจากอำนาจที่ปรากฏในประชาคมอื่น ๆ อย่างไร

พิลลิเมอร์ (Phillimor)กล่าวว่า “ รัฐ “ คือประชากรหมู่หนึ่งคุ้มครองดินแดนที่มีอาณาเขตแน่นอนรวมกันอยู่โดยกฎหมายนิสัยและขนบธรรมเนียม ซึ่งรวมกันแล้วก่อให้เกิดหน่วยทางการเมืองขึ้น หน่วยการเมืองนี้ใช้อำนาจผ่านรัฐบาลที่ได้จัดตั้งขึ้น โดยอธิปไตยและมีอำนาจที่จะปกครองบุคคลทั้งหมด และกิจกรรมทั้งหมดในขอบเขตของรัฐ และเข้าติดต่อสัมพันธ์กับหมู่ชนที่มีลักษณะเดียวกันในโลก
โกวิท วงศ์สุรวัฒน์ กล่าวว่า รัฐ คือ ชุมชนของมนุษย์จำนวนหนึ่ง ซึ่งครอบครองดินแดนที่มีอาณาเขตแน่นอนรวมกันอยู่ภายใต้รัฐบาลเดียวกัน ซึ่งรัฐบาลนั้นมิได้อยู่ในอำนาจควบคุมของประเทศอื่น ๆ สามารถที่จะปกครองและดำเนินกิจการภายในรัฐตลอดจนทำการติดต่อกับรัฐอื่น ๆ ได้โดย

Bodin รัฐคือสมาคมครอบครัวและการมีผลประโยชน์ร่วมกันซึ่งถูกครอบคลุม โดยอำนาจสูงสุดและเหตุผล

Lasswell รัฐ คือ กลุ่มที่อยู่รวมกันอย่างเป็นระเบียบภายในอาณาเขตแห่งหนึ่งและมีอำนาจอธิปไตยภายในอาณาเขตนั้น

Aristotle ได้ให้คำจำกัดความไว้ว่า รัฐ คือชุมชนทางธรรมชาติขั้นสุดท้ายของมนุษย์ที่มีจุดหมายเพื่อความดีอัน

Max Weber ได้ให้คำนิยามว่า รัฐ คือชุมชนของมนุษย์ที่สามารถบังคับบัญชาผู้อื่นภายใต้อาณาเขตของรัฐนั้นได้อย่างชอบธรรม ตามความหมายของเวเบอร์นี้ รัฐจึงประกอบด้วย ประชาชน ดินแดน รัฐบาล และอำนาจอธิปไตย

จากคำจำกัดความของนักปราชญ์หลายท่านที่ให้ไว้แตกต่างกันนั้น สามารถที่จะสรุปได้ว่า “ รัฐ “ คือชุมชนทางการเมืองของประชาชน ซึ่งอาศัยอยู่ร่วมกันในดินแดนที่แน่นอนรวมกันอยู่ภายใต้รัฐบาลเดียวกัน มีอิสระในการกำหนดระเบียบกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ออกมาใช้เองได้มีอำนาจอธิปไตยปราศจากการแทรกแซงจากรัฐอื่น ๆ ทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจและสังคมวัฒนธรรม

องค์ประกอบของรัฐ
การกำเนิดรัฐ (Origin of State)
การรับรองรัฐ (Recognition)
รูปของรัฐ (Forms of The State)
รูปของรัฐบาล (Forms of Government)
หน้าที่ของรัฐ (Functions of The State)

แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย

» นิยาย-เรื่องสั้น
» ข้อเขียน-บทความ
» บทกวี
» สารคดี-ท่องเที่ยว

» การจัดระเบียบทางสังคม
การจัดระเบียบสังคมเป็นกระบวนการที่สมาชิกได้พัฒนาการกระทำระหว่างกันทางสังคมอย่างมีระเบียบ โดยสมาชิกส่วนรวมของสังคมได้ยอมรับเป็นแนวความประพฤติร่วมกัน

» การควบคุมทางสังคม
วิธีการและกระบวนการทั้งหมด ซึ่งกลุ่มหรือสังคมใช้ในการให้สมาชิกของสังคมปฏิบัติตามที่สังคมคาดหวัง

» ค่านิยมทางเพศ (Sexual Value)
หลักการพื้นฐานที่บุคคลยึดเป็นหลักในการปฏิบัติเพื่อดำเนินชีวิตซึ่งเกี่ยวกับเรื่องเพศ โดยค่านิยมทางเพศของบุคคลเกิดจากการอบรมสั่งสอนจากพ่อแม่ในสถาบันครอบครัว ระบบการศึกษา ประสบการณ์

» ลัทธิของค้านท์
ลัทธิที่ยึดมั่นในคุณธรรมหรือเหตุผลอย่างเคร่งครัด หรือ Moral Purism แปลว่า บริสุทธิ์นิยมทางศีลธรรม หรือบางทีก็เรียกว่า หน้าที่นิยม เพราะเน้นที่หน้าที่เป็นหลัก

» ประชุมพงศาวดาร
การศึกษาหาความรู้พงศาวดาร และตำนานเก่าย่อมถือว่าเป็นส่วนสำคัญอย่างหนึ่งใน การศึกษาทั่วทุกประเทศ

» อปริหานิยธรรม 7
ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความไม่เสื่อม 7 ประการ ผู้ปฏิบัติ ธรรมนี้จะเป็นไปเพื่อความเจริญทั้งฝ่ายบ้านเมืองและฝ่ายสงฆ์

» จริยธรรม
จริยธรรมไม่แยกเด็ดขาดจากศีลธรรม แต่มีความหมายกว้างกว่าศีลธรรม