เทคโนโลยี นวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ วิศวกรรม เกษตรศาสตร์ >>
การทดสอบความงอกของเมล็ดพันธุ์แบบชาวบ้าน
เรียบเรียง :
ดร.ประนอม ศรัยสวัสดิ์ กองขยายพันธุ์พืช ,นิวัฒน์ เตชะสาน กองขยายพันธุ์พืช
ในแต่ละปีเกษตรกรจำนวนมากต้องพบกับความผิดหวังเกี่ยวกับเมล็ดพันธุ์ เช่น ปลูกแล้วไม่งอก หรืองอกน้อยไม่ทั่วแปลง บางทีต้องปลูกซ่อมหรือปลูกใหม่ ต้องลงทุนลงแรง สองครั้งสามครา บางครั้งก็เลิกปลูก หรือหมดโอกาสที่จะปลูกไปเลยก็มี
ปัญหาเหล่านี้จะไม่เกิดขึ้น ถ้าท่านใช้แต่เมล็ดที่มีความงอกดี อย่างไรก็ตามความงอกหรือความสามารถในการงอกของเมล็ดพันธุ์ไม่สามารถบอกได้จากการดูลักษณะภายนอกทางเมล็ดแต่เพียงอย่างเดียว จะต้องทดสอบดูให้แน่ชัด
การทดสอบความงอกแบบชาวบ้าน
การทดสอบการงอกแบบง่ายๆ
สามารถกระทำได้โดยไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องมืออุปกรณ์พิเศษแต่อย่างใด เกษตรกรสามารถปฎิบัติได้เอง
ดังนี้
การสุ่มตัวอย่าง
ในการทดสอบความงอกนั้น เราเพาะเมล็ดเพียงกำมือเดียว
เพื่อประเมินว่าเมล็ดส่วนใหญ่ที่เหลืออีก 5 กิโลกรัม หนึ่งกระสอบ
สิบกระสอบหรือมากกว่านั้น มีความงอกประการใด
ดังนั้นการสุ่มตัวอย่างเมล็ดมาทำการทดสอบ จึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง หากสุ่มมาไม่ดี
ผลการทดสอบจะไม่มีประโยชน์ หรือทำให้เกิดความเข้าใจผิด
และเกิดความเสียหายได้จึงควรสุ่มหลายๆจุด เช่น จากส่วนล่าง
ส่วนกลางและส่วนบนของกระสอบให้ทั่วเพื่อให้ได้ตัวแทนที่แท้จริง
ตัวอย่างที่สุ่มมาแล้วนี้ ถ้ามีมากเกินความจำเป็นในการทดสอบ
ก็ให้แบ่งตัวอย่างให้น้อยลงโดยกรองเมล็ดกับพื้นคลุกเคล้ากันให้ทั่ว
แล้วใช้ฝ่ามือแบ่งครึ่งกองเมล็ดและทำดังนี้ต่อไปเรื่อยๆ
จนตัวอย่างมีปริมาณน้อยลงแล้วหลับตาใช้มือหยิบเมล็ดทีละเมล็ดจนได้ 400 เมล็ด
โดยแยกเป็น 4 กอง กองละ 100 เมล็ด เพื่อใช้ในการทดสอบความงอกต่อไป
วัสดุที่ใช้เพาะ
ที่หาได้ง่าย คือ ทรายหรือดินนำมาใส่ในกระบะ กระถาง กระป๋อง เป็นต้น
หรือจะทำเป็นแปลงเพาะเล็กๆก็ได้ ควรเตรียมวัสดุหรือแปลงเพาะให้พอแก่การเพาะเมล็ด
400 เมล็ด โดยอาจจะแบ่งเพาะเป็น 4 แปลง แปลงละ 100 เมล็ด หรือ 8 แปลง แปลงละ
50เมล็ด ก็ได้
วิธีเพาะ
ทำได้โดยการหว่านเมล็ดลงบนดินหรือทรายที่เตรียมไว้ หรือเรียงเมล็ดเป็นแถวๆ
เพื่อความสะดวกในการนับต้นกล้าก็ได้
หลังจากหว่านหรือเรียงเมล็ดแล้วใช้ดินทรายกลบเมล็ดให้ทั่ว หนาประมาณ 2-3 เซนติเมตร
แล้วใช้ฝ่ามือหรือแผ่นไม้กดทับดินให้แน่นพอประมาณ หลังจากเพาะแล้วรดน้ำให้แปลงชุ่ม
แต่ไม่ให้ดินมีน้ำขัง และต้องป้องกันไม่ให้เป็ด ไก่ นก หนู
และแมลงมาคุ้ยเขี่ยดินหรือกัดกินต้นกล้า
การนับต้นกล้า
หลังจากเพาะแล้วประมาณ 5-10 วัน ก็นับต้นกล้าได้
ในการนับให้นับเฉพาะต้นกล้าที่สมประกอบ มียอดอ่อนและระบบรากที่แข็งแรง
หรือที่เห็นว่าจะเจริญเป็นต้นสมบูรณ์ต่อไป
การคิดเปอร์เซนต์ความงอก
หลังจากนับต้นกล้าในแต่ละแปลงแล้ว ให้จดจำนวนไว้ แล้วนำมาคำนวณเปอร์เซนต์ความงอก
สมมติว่าเราเพาะเมล็ด 4 แปลง แปลงละ 100 เมล็ด นับต้นกล้าได้ 90,79,76,และ75 ต้น
ซึ่งรวมกันแล้วได้ 320 ต้น เมื่อหารด้วย 4 ก็จะได้ความงอกเฉลี่ย เฉลี่ยร้อยละ80
ดั้งนี้เป็นต้น
จัดทำ : กองเกษตรสัมพันธ์ กรมส่งเสริมการเกษตร