สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>
สงครามเกาหลี
เมื่อเวลา 04.00 น. ของวันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2493 กองทัพเกาหลีเหนือประกอบด้วย กำลังทหารราบในแนวหน้า 7 กองพล กองหนุน 3 กองพล มีกำลังประมาณ 60,000 คน ได้เคลื่อนกำลังผ่านเส้นขนานที่ 38 ลงมายังสาธารณรัฐเกาหลี (เกาหลีใต้) อย่างจู่โจมโดยที่เกาหลีใต้ไม่ทันรู้ตัว และมีกำลังในแนวหน้าน้อยกว่าฝ่ายเกาหลีเหนืออยู่มาก จึงไม่สามารถยับยั้งการรุกรานดังกล่าวได้ ดังนั้นอีกสามวันต่อมา คือในวันที่ 28 เดือนเดียวกัน ฝ่ายเกาหลีเหนือก็ยึดกรุงโซล นครหลวงของเกาหลีใต้ไว้ได้
คณะมนตรีความมั่นคงของสหประชาชาติ ได้เปิดประชุมเป็นการฉุกเฉิน เมื่อ 25 มิถุนายน 2493 เวลา 14.00 น. ที่นครนิวยอร์ค ได้ประณามการกระทำของเกาหลีเหนือ ที่ยกกำลังทหารบุกรุกเกาหลีใต้ ว่าเป็นการทำลายสันติภาพ และได้ลงมติสองประการ คือ
1. ให้ทั้งสองฝ่ายหยุดรบทันที
2. ให้ฝ่ายเกาหลีเหนือ ถอนกำลังกลับไปอยู่เหนือเส้นขนานที่ 38
คณะมนตรีความมั่นคงฯ ได้ลงมติด้วยว่า ให้บรรดาประเทศสมาชิกของสหประชาชาติ สนับสนุนมติของคณะมนตรีความมั่นคงฯ ในเรื่องนี้ และมิให้ประเทศใดให้ความช่วยเหลือเกาหลีเหนือ มติคณะมนตรีความมั่นคงมีผู้ออกเสียงสนับสนุน 9 ประเทศ ไม่มีประเทศใดคัดค้าน งดออกเสียง 1 ประเทศ และสหภาพโซเวียตไม่เข้าร่วมประชุม
ประเทศที่สนับสนุนมติคณะมนตรีความมั่นคงฯ ได้แก่ จีน คิวบา เอกวาดอร์ อียิปต์ ฝรั่งเศส อินเดีย นอร์เวย์ สหราชอาณาจักร (อังกฤษ) และสหรัฐอเมริกา ผู้แทนสหภาพโซเวียตไม่ได้เข้าประชุมในคณะมนตรีความมั่นคงฯ ตั้งแต่ 10 มกราคม 2493 เนื่องจากมีความเห็นขัดแย้ง จากญัตติที่สหภาพโซเวียตต้องการให้จีนบนผืนแผ่นดินใหญ่ เป็นผู้แทนจีนในสหประชาชาติ แต่สมาชิกส่วนใหญ่ของสหประชาชาติไม่เห็นด้วย ผู้แทนสหภาพโซเวียตจึงไม่ยอมเข้าร่วมประชุม คณะมนตรีความมั่นคงฯ
คณะมนตรีความมั่นคงได้ลงมติฉบับที่ 2 เมื่อ 27 มิถุนายน 2493 ขอให้ประเทศต่าง ๆ ที่เป็นสมาชิกของสหประชาชาติ ส่งทหารไปช่วยเกาหลีใต้ต้านทานการรุกรานด้วยอาวุธของกองทัพเกาหลีเหนือ และผลักดันให้กองทัพเกาหลีเหนือออกจากดินแดนเกาหลีใต้ เพื่อธำรงไว้ซึ่งสันติภาพ และความมั่นคงระหว่างประเทศในบริเวณนั้น นอกจากนั้น ประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกา ได้สั่งการอนุมัติให้ พลเอก ดักลาส แมคอาร์เธอร์ (General of the Army Douglas Mac Arther) ในฐานะผู้บัญชาการทหารสหรัฐฯ ภาคตะวันออกไกล ใช้กำลังทางอากาศ และกำลังทางเรือ เพื่อผลักดันข้าศึกใต้เส้นขนานที่ 38
ต่อมาสหประชาชาติได้ร้องขอให้รัฐบาลสหรัฐฯ จัดกองบัญชาการร่วม (Unified Command) และให้แต่งตั้งผู้บัญชาการทหารสูงสุดด้วย ประธานาธิบดี แฮรี เอส ทรูแมน (Harry S. Truman) ของสหรัฐฯ จึงได้แต่งตั้งพลเอก แมกอาเธอร์ ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่ง ผู้บัญชาการทหารสูงสุดของสัมพันธมิตรในการยึดครองประเทศญี่ปุ่น ภายหลังสงครามโลกครั้งที่สอง เป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุดกองกำลังสหประชาชาติในเกาหลี (Supreme Commander UN.Forces in Korea) เมื่อ 7 กรกฎาคม 2493 กองบัญชาการกองกำลังสหประชาชาติ (UN. Command Headquarters) ตั้งอยู่ที่ตึกไดอิชิในกรุงโตเกียว
กองกำลังทหารไทยในสงครามเกาหลี
การเตรียมการส่งกำลังทหารไปร่วมรบ
การปฏิบัติการในสมรภูมิเกาหลี
การถอนตัวจากกรุงเปียงยาง
การขึ้นสมทบกับกองพลน้อยที่ 28 ของอังกฤษ
การเคลื่อนที่เข้าหาเมืองชุนชอน และการเข้าตีเมืองวาซอน
การปรับปรุงกำลังทหารของไทย
การย้ายกำลังเข้ากรุงโซล และการเข้าตีเมืองอุยจองบู
การเจรจาเพื่อยุติสงคราม และสงบศึก
ผลที่ประเทศไทยได้รับจากสงครามเกาหลี
คำสดุดี แด่ทหารผู้เสียชีวิตในกรณีสงครามเกาหลี
การปฏิบัติของทหารบกผลัดที่ 2
การขึ้นประจำแนวต้านทานหลักเจมส์ทาวน์
การปฏิบัติของทหารบกผลัดที่ 3
การปฏิบัติการรบ ณ ที่มั่นตั้งรับแนวเจมส์ทาวน์ด้านเขาทีโบน
การปฏิบัติหน้าที่ในกองหนุนของกองพลที่ค่ายเคซี (Camp Cacy)
การปฏิบัติระหว่างเป็นกองหนุนของกองพลที่เมืองยอนชอน
การปฏิบัติการรบบนที่มั่นตั้งรับ แนวเจมส์ทาวน์ด้านเขาพอร์คชอป
การรบบนที่มั่นเขาพอร์คชอป ครั้งที่ 2
การรบบนที่มั่นเขาพอร์คชอป ครั้งที่ 3
การปฏิบัติการของทหารบกผลัดที่ 4
การปฏิบัติการบริเวณเขาเดอะฮุค และเขายิบรอลตาร์
การปฏิบัติการของทหารบกผลัดที่ 5
การปฏิบัติการรบที่บูเมอแรง
การปฏิบัติการของทหารบก ผลัดที่ 6
การปฏิบัติการของกองพันทหารไทย
การปฏิบัติการของทหารบกผลัดที่ 7 - 23
การปฏิบัติการของกองร้อยอิสระผลัดที่ 7 - 23
กองร้อยกองเกียรติยศประจำกองบัญชาการสหประชาชาติ
การปฏิบัติการของทหารเรือ
การจัดกำลังทางเรือของสหประชาชาติในสงครามเกาหลี
การปฏิบัติการของ มส.
การปฏิบัติการของเรือหลวงบางปะกง
การรับมอบเรือหลวงท่าจีน และเรือหลวงประแส
การปฏิบัติการของเรือหลวงท่าจีน
การปฏิบัติการของเรือหลวงประแส
การปฏิบัติการของทหารอากาศ
การจัดชุดพยาบาลทางอากาศ และการผลัดเปลี่ยน
การปฏิบัติงานของชุดพยาบาลทางอากาศ
การปฏิบัติการของหน่วยบินลำเลียงชุดที่ 1
การปฏิบัติการของหน่วยบินลำเลียงชุดที่ 2
การปฏิบัติการของหน่วยบินลำเลียงชุดที่ 3
การปฏิบัติการของหน่วยบินลำเลียงชุดที่ 4 - 17
การปฏิบัติการของหน่วยบินลำเลียงชุดที่ 18 - 24
การปฏิบัติของหน่วยบรรเทาทุกข์สภากาชาดไทย
เจ้าหน้าที่หน่วยแพทย์บรรเทาทุกข์สภากาชาดไทยรุ่นที่ 1 - 4
การปฏิบัติการของทหารไทยในสงครามเวียดนาม
เหตุการณ์ในเวียดนามก่อนเกิดสงคราม
การช่วยเหลือของฝ่ายโลกเสรี
การส่งทหารไปร่วมรบในสงครามเวียดนาม
กองบัญชาการกองกำลังทหารไทยในสาธารณรัฐเวียดนาม ผลัดที่ 1
กองบัญชาการกองกำลังทหารไทยฯ ผลัดที่ 2 - 5
สำนักงานผู้แทนทหารไทยในสาธารณรัฐเวียดนาม
กรมทหารอาสาสมัคร(กรม อสส.)
แผนการยุทธและการปฏิบัติการ
การปฏิบัติการรบที่ฟุกโถ(20 - 21 ธันวาคม 2510)
กองพลทหารอาสาสมัคร(พล.อสส.)
กองพลทหารอาสาสมัครผลัดที่ 1
การรบที่บินห์สัน (Binh Son)
การรบที่ล็อคอัน (Loc An)
คำชมเชยจากต่างประเทศ
กองพลทหารอาสาสมัคร ผลัดที่ 1 ส่วนที่ 2
การรบที่เฟือกกาง (Phuoc Cang)
ยุทธการอัศวิน
ยุทธการวูล์ฟแพค 1,2 (Woltpack I,II)
ยุทธการเบ็นแคม (Ben Cam)
ยุทธการเฟือกเหงียน (Phuac Nguyen)
อิสริยาภรณ์ และเหรียญตราที่ได้รับ
กองพลทหาร อาสาสมัคร ที่ 2
พื้นที่การปฏิบัติการ การจัดกำลัง และการวางกำลัง
ยุทธการมิตรภาพ
ยุทธการสี่พยัคฆ์ (Opcration Tu Ho)
ยุทธการบางปู
ยุทธการ 234
ยุทธการซุยคา
ยุทธการคีย์แมน
ยุทธการทัมเทียน (Tham Thien)
ยุทธการสายฟ้าแลบ (Thunderbolt)
การผลัดเปลี่ยน และเดินทางกลับ
บทเรียนจากการรบ และการสูญเสีย
กองพลทหารอาสาสมัคร ผลัดที่ 3
การถอนกำลังกลับประเทศไทย
กองพลทหารอาสาสมัคร ผลัดที่ 3 ส่วนที่ 2
การปฏิบัติการรบของกองร้อยจู่โจม (15 - 18 เมาายน 2514)
การปฏิบัติการของชุดเพชฌฆาตสังหาร (17 - 18 สิงหาคม 2514)
อิสริยาภรณ์ และเหรียญตราที่ได้รับ
หน่วยเรือซีฮอร์ส
เรือหลวงพงัน
การปฏิบัติการระหว่าง ปี พ.ศ. 2510 - 2515
สรุปการปฏิบัติของหน่วยเรือซีฮอร์ส
หน่วยบินวิคตอรี
การลำเลียงขนส่งทางอากาศ 1,776 ภารกิจ
การยุติสงครามเวียดนาม
ยุทธศาสตร์เวียดนามเหนือ
การดำเนินการของเวียดนามเหนือ และเวียดกง
การเจรจาสันติภาพที่กรุงปารีส
สถานการณ์ในเวียดนามใต้ หลังการถอนกำลังฝ่ายโลกเสรี
ที่มา : หอมรดกไทย