เทคโนโลยี นวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ วิศวกรรม เกษตรศาสตร์ >>
การใช้และบำรุงเครื่องมือป้องกันกำจัดศัตรูพืช
»
ระบบการทำงานของเครื่องพ่นสาร สูบโยก
»
เครื่องพ่นสารประเภทใช้ต้นกำลังแทนแรงคน
»
สาเหตุขัดข้องและวิธีแก้ไขของเครื่องยนต์เบนซิน
(ทั้ง 2 จังหวะและ 4 จังหวะ)
»
เครื่องพ่นสารหมอกควัน
»
หัวฉีด
เครื่องพ่นสารประเภทใช้ต้นกำลังแทนแรงคน
เครื่องพ่นสารแรงดันของเหลว
เครื่องพ่นสารแรงดันของเหลว อุปกรณ์ที่สำคัญ คือ ต้นกำลังและปั้มแรงดันสูง ต้นกำลังที่ใช้มีหลายชนิด เช่น เครื่องยนต์เบนซิน 2 จังหวะ และ 4 จังหวะ เครื่องยนต์ ดีเซ, 4 จังหวะ มอเตอร์ไฟฟ้า และชนิดต่อกำลังขับจากเครื่องยนต์ของรถแทรคเตอร์ ปั้มแรงดันสูงจะเป็นปั้มลูกสูบ ขนาดของปั้มจะขึ้นกับต้นกำลังที่ใช้ จำแนกขนาดเครื่องพ่นสารประเภทใช้ต้นกำลังทำงานระบบแรงดันของเหลว ได้ดังนี้
- เครื่องพ่นสารแรงดันของเหวสะพายหลัง ต้นกำลังจะเป็นเครื่องยนต์เบนซิน 2
จังหวัดขนาดกำลังเครื่องยนต์ 1-1.7 แรงม้า
ปั้มแรงดันสูงเป็นปั้มลูกสูบเดียวหรือปั้มโรตารี่
- เครื่องพ่นสารแรงดันของเหลวแบบกระเป๋าหิ้ว ต้นกำลังเป็นเครื่องยนต์เบนซิน 2 จังหวะ ขนาดกำลังเครื่องยนต์ 2.8 แรงม้าขึ้นหรือมอเตอร์ไฟฟ้า ขนาด 1/4 แรงม้า ปั้มแรงดันสูงเป็นปั้มลูกสูบเดียวหรือปั้มโรตารี่
เครื่องพ่นสารแรงดันของเหลวชนิด 2 คนหาม ต้นกำลังเป็นเครื่องยนต์เบนซินหือดีเซล 4 จังหวะขนาดกำลังเครื่องยนต์ 4 แรงม้าขึ้นไป ส่วนมากเกษตรกรนิยมใช้เครื่องยนต์ดีเซลเพราะราคาน้ำมันเชื้อเพลิงถูกกว่า ให้กำลังงานดีกว่า แต่เครื่องยนต์เบนซินมีข้อดีคือราคาถูกและน้ำหนักเครื่องต่อแรงม้าเบากว่า นอกจากต้นกำลังเครื่องยนต์ ในท้องที่การไฟฟ้าภูมิภาคเข้าถึง เกษ๖รกรบางรายอาจใช้มอเตอร์ไฟฟ้าเป็นต้นกำลังขนาดมอเตอร์ใช้ขนาด 1/4 แรงม้า เฟสเดียว ถ้าเป็นมอเตอร์ 3 เฟส เปรียบเทียบกับเครื่องยนต์แล้วใช้มอเตอร์ไฟฟ้าจะเสียค่าใช้จ่ายต่ำกว่า ปั้มแรงดันสูงจะเป็นปั้มชนิด 3 สูบ
เครื่องพ่นสารแรงดันของเหลวชนิดลากจูง ต้นกำลังเป็นเครื่องยนต์เบนซิน 4 จังหวะ
ขนาด 15 แรงม้า หรือเครื่องยนต์ดีเซล 4 จังหวะ ขนาด 5 แรงม้าขึ้นไป
บางชนิดอาจใช้กำลังขับจากเครื่องยนต์ของรถแทรคเตอร์ ปั้มแรงดันสูง
จะเป็นปั้มขนาดใหญ่ ปริมาตรดูดน้ำยามากกว่า 60 ลิตร/นาทีและส่วนมาเป็นปั้มลูกสูบ 3
สูบ
รายละเอียดทั่วไป
ระบบการทำงาน เครื่องพ่นสารแรงดันของเหลวชนิดต่างๆ จะต้องอาศัยปั้มแรงดันสูง
ทำหน้าที่ดูดและอัดสารป้องกันกำจัดศัตรูพืช จนมีแรงดันสูงดันสารในรูปของเหลว
เรียกว่า
น้ำยาไหลออกตามที่ส่งน้ำยาและออกทางหัวฉีดเป็นละอองขนาดเล็กหรือใหญ่ครอบคลุมพื้นที่ที่ทำการฉีดพ่นตามวัตถุประสงค์
ของการฉีดพ่น ละอองขนาดเล็กละเอียดจะใช้พ่นป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืช
ส่วนละอองใหญ่หยาบจะใช้พ่นวัชพืช ปั้มแรงดันสูง
จะมีกลไกลปรับแรงดันสูงต่ำตามความต้องการ และปั้มแรงดันสูงที่ใช้กับเครื่องพ่นสารชนิดนี้จะมีห้องเก็บแรงดัน หรือที่เกษตรกรเรียกกันว่า " หม้อลม "
ทำให้น้ำยาออกที่หัวฉีดสม่ำเสมอดีขึ้น
ระบบการทำงานของเครื่องพ่นสารแรงดันของเหลวสะพายหลังและกระเป๋าหิ้ว
เครื่องยนต์ต้นกำลังเป็นเครื่องยนต์เบนซิน 2 จังหวะขนาดกำลัง 1-2.8
แรงม้าหรือมอเตอร์กระแสไฟฟ้าสลับชนิดแคแปซิเตอร์ (มีคอนเดนเซอร์ช่วยสตาร์ท) ขนาด
1/4 แรงม้า ปั้มแรงดังสูงเป็นแบบลูกสูบหรือโรตารี่
หลักการทำงานของปั้มโรตารี่ ปั้มจะต่อกำลังขับโดยตรงจากต้นกำลังโดยใช้ยอยคัปปลิ้งเป็นตัวต่อเมื่อต้นกำลังหมุน
ปั้มจะหมุนทำงาน
เมื่อปั้มหมุน
สารในถังบรรจุจะถูกดูดเข้าท่อดูดเข้าปั้มอัดตัวจนมีแรงดันน้ำยาไหลออกท่อส่ง
ที่ปิดเปิดน้ำยาและหัวฉีด
สารที่เหลือจาการส่งออกที่หัวฉีดจะไหลผ่านท่อน้ำกลับเข้าถังบรรจุเป็นการกวนน้ำยาในถังบรรจุไม่ให้ตกตะกอน
(1) ชุดกระบอกสูบและลูกสูบ
(2) ลิ้นดูดน้ำยา
(3) ลิ้นส่งน้ำยา
(4) กลไกปรับแรงดันน้ำยา
(5) ที่ปิดเปิดน้ำยา
(6) ห้องเก็บแรงดัน
(7) ทางน้ำยาเข้า
(8) ทางน้ำยาไหลกลับ
เมื่อต้นกำลักหมุนจะขับให้ปั้มแรงดันสูงหมุนตาม
ลูกสูบของปั้มจะถูกเพลาข้อเหวี่ยงของปั้มขับให้มีการเคลื่อนที่เดินหน้าและ
ถอยหลังในแนวนอน
(ปั้มแรงดันสูงส่วนมากจะออกแบบให้กระบอกสูบของปั้มอยู่ในแนวนอนเพราะประสิทธิภาพแรงดันดันน้ำยาสูง
กว่าที่จะออกแบบให้กระบอกสูบอยู่ในแนวตั้ง)
การเคลื่อนที่ของลูกสูบในลักษณะเดินหน้าและถอยหลังทำให้เกิดจังหวะการทำงานของ ปั้ม
2 จังหวะ คือ
1. น้ำหวะดูดน้ำยา เมื่อลูกสูบเคลื่อนที่ถอยหลัง
ปริมาตรภายในห้องกระบอกสูบขยายเพิ่มขึ้นทำให้อากาศภายในกระบอกสูบเบา
บางลงจนเกือบเป็นสูญญากาศทำให้เกิดแรงดูดภายในห้องกระบอกสูบดูดน้ำยาที่บรรจุในถังเข้าไปในห้องกระบอกสูบโดยผ่านลิ้นดูดน้ำยา
ลิ้นส่งน้ำยาที่อยู่ตรงฐานของห้องเก็บแรงดันจะถูกสปริงและอากาศในห้องเก็บแรงดันบังคับให้ปิด
น้ำยาในห้องกระบอกสูบจะไม่สามารถ
ไหลเข้าไปห้องเก็บแรงดันจนสิ้นสุดจังหวะการเคลื่อนที่ถอยหลังของลูกสูบน้ำยาจะเต็มห้องกระบอกสูบเป็นการสิ้นสุดการทำงานในจังหวะ
ดูด
2. จังหวะอัดน้ำยา เมื่อสิ้นสุดจังหวะถอยหลังของลูกสูบ
ลูกสูบจะถูกเพลาข้อเหวี่ยงขับให้เคลื่อนที่ในจังหวะเดินหน้า ทำให้น้ำ
ยาในห้องกระบอกสบถูกอัดจนมีแรงดันเพิ่มขึ้นตามจังหวะการเคลื่อนที่เดินหน้าของลูกสูบจนมีแรงดันชนะแรงกดของสปริงและอากาศ
ในห้องเก็บแรงดันที่บังคับให้ลิ้นส่งน้ำยาปิดจนลิ้นส่งน้ำยาในห้องกระบอกสูบจะถูกดันให้ไหลเข้าห้องเก็บแรงดันโดยผ่านลิ้นส่งน้ำยา
เป็นการสิ้นสุดจังหวะอัดน้ำยาและจะเริ่มจังหวะดูดอีก
เมื่อสิ้นสุดจังหวะดูดก็จะเริ่มจังหวัดอัดจนกระทั่งน้ำยาเต็มห้องเก็บแรงดันและอัด
อากาศในห้องเก็บแรงดัน
เป็นเช่นนี้ไปเรื่อยจนกระทั่งน้ำยาในห้องเก็บแรงดันมีแรงดันชนิดแรงกดสปริงที่ปรับไว้ที่กลไกปรับแรงดันของ
ปั้ม
น้ำยาจะไหลออกจากห้องเก็บแรงดันออกตามท่อส่งน้ำยาละหัวฉีดซึ่งมีรูขนาดเล็กบังคับให้น้ำยากระจายเป็นละอองขนาดเล็กครอบ
คลุมพื้นที่ที่ฉีดพ่น
น้ำยาอีกส่วนหนึ่งที่ไม่สามารถไหลออกทางหัวฉีดจะไหลออกตามทางน้ำยาไหลกลับที่กลไกปรับแรงดันเพื่อรักษา
ระดับแรงดันของน้ำยาให้เป็นไปตามที่ได้ปรับไว้
อากาศที่ถูกอัดตัวในห้องดเก็บแรงดันมีส่วนช่วยดันน้ำยาออกหัวฉีดให้สม่ำเสมอขณะที่
แรงดันน้ำยาที่ไหลจากห้องกระบอกสูบลดลงซึ่งเกิดจากน้ำยาในถังบรรจุเริ่มหมดหรือการปรับรอบหมุนของต้นกำลังให้ช้าลง
ระบบการทำงานของเครื่องพ่นสารแรงดันของเหลวชนิด 2 คนหามและลากจูง
ต้นกำลังเป็นเครื่องยนต์เบนซิลหรือดีเซล 4 จังหวะ มีขนาดกำลังตั้งแต่ 5
แรงม้าขึ้นไปหรือมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับขนาด 1/4 แรงม้า
ถ้าเป็นมอเตอร์ไฟฟ้าขนาดใหญ่ขนาด 1/3 แรงม้าขึ้นไปจะเป็นมอเตอร์ชนิดแคแปซิเตอร์ 3
เฟสปั้มแรงดันสูงเป็นปั้มลูกสูบขนาด 3 สูบซึ่งมีหลักการทำงานเหมือนกับปั้ม
ลูกสูบที่ใช้กับเครื่องพ่นสารแรงดันของเหลวสะพายหลังและกระเป๋าหิ้ว
แต่มีขนาดใหญ่กว่าและมีชุดกระบอกสูบมากกว่าทำให้มี
ประสิทธิภาพการฉีดพ่นสารป้องกันกำจัดศัตรูพืช
สูงกว่าเครื่องพ่นสารแรงดันของเหลวสะพายหลังและกระเป๋าหิ้ว เกษตรกรไทยส่วน
มากจะนิยมใช้เครื่องพ่นสารแรงดันของเหลวชนิด 2 คนหามมากกว่าชนิดลากจูง
เนื่องจากราคาถูกกว่ามีความสะดวกในการเคลื่อนย้าย จุดฉีดพ่น
เครื่องพ่นสารแรงดันของเหลว 2
คนหามไม่มีถังบรรจุในตัวเครื่องเกษตรกรจึงนิยมใช้ถังบรรจุน้ำมันขนาด 100 ลิตร
มาเปิด ฝาทำเป็นถังบรรจุ
เมื่อจะทำการฉีดพ่นสารก็หย่อนสายดูดพร้อมที่กรองลงในถังบรรจุ
ทำการสตาร์ทต้นกำลังก็จะทำการฉีดพ่นได้ ส่วน
เครื่องพ่นสารแรงดันของเหลวชนิดลากจูงจะมีถังบรรจุสารในตัวเครื่องขนาดความจุมากกว่า
200 ลิตร ขึ้นไปและมีอุปกรณ์การกวน
น้ำยาที่ต่อกำลังขับจากเครื่องยนต์ประจำเครื่องทำการกวนน้ำยาในถังบรรจุไม่ให้เกิดการตกตะกอนของสาร
(ลักษณะการใช้งานของเครื่องพ่นสารแรงดันของเหลวชนิดลากจูงคล้าย
กันเพียงแต่เครื่องพ่นสารลากจูงประกอบอุปกรณ์ชิ้นส่วนต่างสำหรับรูปภายในเครื่อง)
การดูแลบำรุงรักษาเครื่องพ่นสารแรงดันของเหลว ชนิดต่าง ๆ
จะกล่าวแยกต้นกำลังและปั้มแรงดันสูงโดยจะขอกล่าวต้นกำลังที่ใช้
ส่วนปั้มแรงดันสูงซึ่งส่วนมากจะเป็นปั้มลูกสูบจะกล่าว รวมกัน
»
การดูแลบำรุงรักษาเครื่องยนต์เบนซิล 2 จังหวะ
»
การดูแลบำรุงรักษาปั้มแรงดันสูง