เทคโนโลยี นวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ วิศวกรรม เกษตรศาสตร์ >>
แมลงศัตรูธรรมชาติในไร่อ้อย
ศัตรูธรรมชาติ คือ สิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ร่วมกับพืชและสัตว์อื่น ๆ เป็นตัวสาเหตุทำให้เกิดการตายของพืชหรือสัตว์นั้น ได้แก่ ตัวห้ำ (PREDATORS) ตัวเบียน (PARASITES) และเชื้อโรค (PATHOGENS)
ตัวห้ำ
ตัวห้ำ คือ
สัตว์ชนิดใดชนิดหนึ่งที่กินสัตว์อื่นหรือเหยื่อที่มีขนาดเล็กกว่าและอ่อนแอกว่าเป็นอาหาร
ตัวห้ำจะกินเหยื่อได้หลายชนิด และสามารถกินทุกระยะการเจริญเติบโตของเหยื่อ คือ ไข่
ตัวอ่อนหรือตัวหนอน ดักแด้ และตัวเต็มวัย
ตัวเบียน
ตัวเบียน คือ
สัตว์หรือแมลงขนาดเล็กที่ดำรงชีวิตอยู่ด้วยการเกาะกินอยู่บนหรือในสัตว์อื่น ๆ
และทำให้สัตว์ที่อยู่อาศัยอ่อนแอและตายในที่สุด
เชื้อโรค
เชื้อโรค คือ จุลินทรีย์หรือเชื้อสาเหตุที่มีชีวิตอยู่และเจริญเติบโตบนสัตว์อาศัย
ทำให้สัตว์อาศัยเป็นโรคและตายในที่สุด ศัตรูธรรมชาติในไร่อ้อย
ด้วงดิน (ตัวห้ำ)
ลักษณะตัวมีแถบสีดำน้ำเงินมีจุดสีขาว 2 จุด ที่ด้านหลังทั้ง 2 ข้าง
ลักษณะการทำลายเหยื่อกัดกินหนอนห่อใบ
ด้วงเต่าสีส้ม (ตัวห้ำ)
ลักษณะตัวยาว 4 มม. ตัวสีเหลืองส้ม ไม่มีลวดลาย
ลักษณะการทำลายจะกัดกินเหยื่อที่เคลื่อนไหวช้า
มวนเพชฌฆาต (ตัวห้ำ)
ลักษณะตัวยาว 23-25 มม. ตัวสีดำ ส่วนหัวแคบ คอยาว ปีกส่วนบนสีดำ
ส่วนกลางสีเหลือง และปลายปีกสีน้ำตาล
ลักษณะการทำลายเหยื่อโดยใช้ปากแหลมคมเหมือนเข็มแทงแล้วปล่อยน้ำพิษ
ทำให้เหยื่อไม่สามารถเคลื่อนไหวได้และตายในที่สุด
แตนเบียนโครทีเซีย (ตัวเบียน)
ลักษณะตัวยาว 2.3 มม. ตัวสีดำ หนวดสีน้ำตาล ขาสีเหลืองอ่อน
ลักษณะการทำลายเหยื่อโดยตัวเมียวางไข่ในตัวหนอนมากกว่า 10 ฟอง
เมื่อตัวอ่อนแตนเบียนฟักออกมาก็จะกัดกินอยู่ภายในตัวหนอนจนหนอนตาย
แตนเบียนตริคโคแกรมม่า (ตัวเบียน)
ลักษณะตัวเล็กมากยาว 0.4 มม. หนวดเป็นรูปกระบองมีขนสั้น ๆ ตัวสีน้ำตาลเหลืองขุ่น
ตาสีแดง ลักษณะการทำลายเหยื่อ โดยการวางไข่ฝากตัวอ่อนไว้ในกลุ่มไข่หนอนกออ้อย
เมื่อกลุ่มไข่ฟักออกมาก็จะเป็นตัวแตนเบียนแทนหนอนกอ
แตนเบียนเทเลโนมัส (ตัวเบียน)
ลักษณะตัวสีดำ มีขนาดเล็ก 2-3 มม. แตนเบียนวางไข่ได้ 20-40 ฟอง
และมีชีวิตอยู่ได้ 2-4 วัน
ลักษณะการทำลายแตนเบียนจะวางไข่เข้าไปในไข่ผีเสื้อหนอนกอเมื่อตัวอ่อนแตนเบียนฟักออกมาก็จะกัดกินอยู่ภายในตัวหนอนจนหนอนตาย
นิวเคลีย โพลีไฮโดซิส (เชื้อโรค)
เป็นเชื้อไวรัสชนิดหนึ่ง ทำลายหนอนกระทู้และหนอนชนิดต่าง ๆ
ตัวหนอนที่ถูกทำลายจะเป็นสีดำและห้อยหัวลงมาเป็นรูปตัววีหัวกลับ
เมื่อเชื้อไวรัสถูกหนอนกินเข้าไป และกระจายอยู่ในตัวหนอนมากแล้ว
หนอนจะไม่เคลื่อนไหว ไม่กินอาหาร และลำตัวเปลี่ยนเป็นสีขาว
เมื่อตายจะเปลี่ยนเป็นสีดำหัวห้อยลงมาโดยใช้ขาเทียมยึดติดกับใบพืช
ของเหลวที่เยิ้มออกมาจากตัวหนอนจะมีเชื้อไวรัสอยู่และติดตามใบพืชทำให้เกิดโรคกับหนอนตัวอื่นที่กินเข้าไป
เมททาริเซียม (เชื้อโรค)
เป็นเชื้อราชนิดหนึ่งลักษณะเป็นเส้นใยพืชสีขาวและจะเปลี่ยนเป็นสีเขียวเมื่อสปอร์ของเชื้อรานี้ตกลงบนตัวแมลง
มันจะเจริญงอกงามเข้าไปในตัวแมลง โดยเข้าไปทำลายอวัยวะต่าง ๆ
ของแมลงศัตรูอ้อยจนตายในที่สุด
วิธีสำราจศัตรูอ้อยและศัตรูธรรมชาติในไร่อ้อย
- ใช้สวิงโฉบตัวห้ำหรือตัวเบียนขนาดโต และสำราจจำพวกเชื้อโรคด้วยสายตา
- ใช้เครื่องดูดแมลงตัวห้ำและตัวเบียนขนาดเล็ก
- เก็บตัวอย่างศัตรูอ้อยทุกระยะ คือ กลุ่มไข่ ตัวหนอน ดักแด้ และตัวเต็มวัยมาตรวจสอบว่ามีการทำลายของแตนเบียนหรือไม่