เทคโนโลยี นวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ วิศวกรรม เกษตรศาสตร์ >>
ระบบแก๊สชีวภาพแบบฟิกซ์โดม
สถานีวิจัยทับกวาง ศูนย์ฝึกอบรมการเลี้ยงสุกรแห่งชาติ
โครงการจัดตั้งสถาบันสุวรรณวาจกกสิกิจ
เพื่อการค้นคว้าและพัฒนาปศุสัตว์และผลิตภัณฑ์สัตว์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
มูลสุกรเป็นของเสียที่เกิดจากการทำฟาร์มสุกร ซึ่งในแต่ละปีมีจำนวนมาก ส่วนใหญ่แล้วมูลสุกรที่ปล่อยทิ้งออกจากฟาร์มสุกรไม่ได้ถูกนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างเต็มที่ หากเกษตรกรนำมูลสุกรมาใช้ก็จะเกิดประโยชน์มากมายทีเดียว เช่น เป็นปุ๋ยใส่ต้นไม้ ปล่อยลงบ่อเลี้ยงปลาหรือนำมาหมักให้เกิดแก๊สมีเทน โดยวิธีแก๊สชีวภาพ บ่อแบบฟิกซ์โดม (โดมคงที่) ก็เป็นอีกบ่อแก๊สชีวภาพชนิดหนึ่งที่เหมาะสำหรับฟาร์มขนาดเล็กจนถึงขนาดใหญ่ มีค่าใช้จ่ายน้อยกว่าบ่อชนิดอื่น แต่ให้ประสิทธิภาพในการหมักแก๊สที่เท่าเทียมกัน
องค์ประกอบของแก๊สชีวภาพ
มีเทน ประมาณ 50-70%
คาร์บอนไดออกไซด์ ประมาณ 2.5-4.5%
ไนโตรเจน ประมาณ 0.5-3.0%
คาร์บอนมอนออกไซด์ ประมาณ 0.5-1.5%
ไฮโดรเจนซัลไฟด์ ประมาณ .01-0.5%
ประโยชน์ของการนำมูลสุกรไปหมักในบ่อแก๊สชีวภาพ
- ลดกลิ่นเหม็นของมูลสุกร
- กำจัดเชื้อแบคทีเรียที่อยู่ในมูลสุกรและของเสียจากฟาร์
- นำกากที่เหลือจากการหมักแก๊สชีวภาพไปใช้เป็นปุ๋ยให้กับต้นไม้
- นำแก๊สมีเทนที่ได้ไปใช้ในการหุงต้ม หรือสูบน้ำไว้ใช้ในฟาร์ม
- น้ำที่เหลือจากการหมักย่อยของจุลลินทรีย์จากบ่อแก๊สชีวภาพไปเป็นปุ๋ยกับพืชผักหรือไม้ดอกไม้ประกอบ
ข้อดีของบ่อแก๊สชีวภาพแบบฟิกซ์โดม
- ประหยัดพื้นที่บริเวณฟอร์มเนื่องจากตัวบ่อฝังอยู่ใต้ดิน
- ดินรอบบ่อช่วยป้องกันการแตกร้าวของบ่อเนื่องจากแรงดันของแก๊ส
- อุณหภูมิบ่อหมักค่อนข้างคงที่ ช่วยให้การหมักมูลสุกรเป็นไปอย่างต่อเนื่อง
- ง่ายต่อการเชื่อมต่อรางระบายมูลสุกรจากโรงเรือนไปสู่บ่อหมัก
การก่อสร้าง
ส่วนประกอบ
1. บ่อเติมมูลสุกร
2. บ่อหมัก
3. บ่อล้น
การสร้างบ่อแก๊สชีวภาพขนาดที่เหมาะสมกับจำนวนสุกรในฟาร์ม กรณีมูลสุกรของแม่พันธุ์ที่มีน้ำหนักมากกว่า
100 กก.
ที่มา : สมชัย จันทร์สว่าง การบำบัดและใช้ประโยชน์ของเสียจากฟาร์มสุกร :
คู่มือปฏิบัติการเลี้ยงสุกร โดยศูนย์วิจัยและฝึกอบรมการเลี้ยงสุกรแห่งชาติ
ฉบับเรียบเรียง ครั้งที่ 11 พ.ศ. 2540