เทคโนโลยี นวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ วิศวกรรม เกษตรศาสตร์ >>
การปฏิบัติรักษาผ้าไหมไทย
การปฏิบัติการรักษาผ้าไหมไทย
เมื่อได้ทราบถึงคุณสมบัติต่าง ๆ แล้ว ผู้เขียนก็อยากจะอธิบายถึงการปฏิบัติรักษาผ้าไหมไทยดังต่อไปนี้คือ
- การตัดเย็บ ขั้นแรกให้จุ่มผ้าไหมลงในน้ำร้อน
เพื่อไล่สีที่หลงเหลือหรือสีที่ไม่สามารถจับติดในเนื้อผ้าไหมให้ออกไป
นอกจากนี้แล้วยังทำให้มีความงามเป็นประกายดีขึ้น
หลังจากนั้นรีดผ้าไหมทางด้านหลังด้วยไฟอ่อน ๆ โดยพ่นน้ำเพียงเล็กน้อยก่อนรีด
พึงระลึกเสมอว่า ให้พ่นฉีดน้ำบาง ๆ เท่านั้น อย่าถึงกับให้เปียกเพราะ
ถ้าเปียกเวลารีดแล้วอาจทำให้ผ้าเกิดเป็นจุดที่ไม่สวยงาม
หลังจากนั้นแล้วจึงจัดเส้นลายผ้าให้ตรง
แล้วจึงทำการตัดและเย็บด้วยเข็มและด้ายที่เหมาะสมกับคุณภาพของผ้า
- การรีด
การรีดโดยทั่วไปหรือการรีดลบรอยย่นหลังจากตัดเย็บแล้วหรือหลังจากการสวมใส่อุณหภูมิที่เหมาะสมในการรีดผ้าไหมโดยทั่วไป
ควรรักษาอุณหภูมิให้อยู่ในระหว่าง 120 - 140 องศาเซลเซียส และการรีด
ควรมีผ้าฝ้ายหนา ๆ ทับบนผ้าไหม เพื่อป้องกันการสัมผัสผ้าไหมกับเตารีดโดยตรง
ถ้าสัมผัสโดยตรงจะทำให้คุณสมบัติต่าง ๆ ของผ้าไหมสูญเสียไปได้
- การซัก ซักแห้งนับว่าเหมาะสมที่สุด
แต่ถ้าหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะซักแบบธรรมดาควรใช้สารที่มีคุณภาพเป็นกลางในน้ำอุ่นให้ทั่ว
อย่าให้ผ้าไหมกองหรือพับติดกัน หลังจากซักแล้วให้บิดเบา ๆ นำไปผึ่งในที่ร่ม
ห้ามผึ่งแดดโดยเด็ดขาด
- การระมัดระวังและเก็บรักษา หลังจากสวมใส่ทุกครั้งให้ตรวจสอบสิ่งสกปรกที่ติดอยู่อย่างระมัดระวัง ผึ่งให้เสื้อผ้าคงรูปเดิมในที่ ๆ มีการถ่ายเทอากาศที่ดีปราศจากฝุ่นละออง ถ้าเสียรูปร่างหรือรอยยับให้ใช้เตารีด รีดให้เรียบ การเตรียมการเก็บรักษา ก่อนเก็บเสื้อผ้าต้องอยู่ในสภาพเรียบไม่มีรอยยับแห้งและสะอาดอยู่เสมอ
สารป้องกันแมลงเช่น ลูกเหม็น ควรวางไว้โดยไม่ให้สัมผัสกับผ้าไหมโดยตรง อย่าเก็บในที่มีความชื้นและต้องปราศจากแมลงหรือราที่จะทำอันตรายกับผ้าไหมควรเก็บใส่ถุงที่มีอุณหภูมิต่ำ และสะอาด อาจเก็บในถุงผ้า หรือถุงพลาสติกก็ได้ การตากหรือผึ่งควรผึ่งในที่มีการถ่ายเทอากาสที่ดี ความชื้นต่ำในระหว่างเวลา 10.00 - 14.00 น. เป็นระยะเวลาที่เหมาะสม อย่างไรก็ตามในฤดูฝนความชื้นสูงควรทำการป้องกันแมลง และเชื้อราต่าง ๆ ที่อาจทำอันตรายกับผ้าไหมได้ ในบ้านเรามีข้อจำกัดเพียงในฤดูฝนเท่านั้น ส่วนหน้าหนาวและหน้าร้อนเราสามารถผึงในร่มได้ดี โดยไม่มีปัญหา นอกจากลูกเหม็นแล้วสารอื่นเช่น สารฆ่าแมลงชนิดระเหย ประกอบด้วย DDVP 16% ใช้ในโรงเก็บเมล็ดพันธุ์มีความเป็นพิษต่อคนน้อย และสารอื่น ๆ เช่น คลอโรพิคริน (Chloropicrin), เมธทิลโบรไมด็ (Methylbromide), ไฮโดรฟอสเฟท (Hydrophosphate) อย่างไรก็ตามสารฆ่าแมลงเหล่านี้ก่อนใช้ทุกครั้งขอให้อ่านคำแนะนำ หรือทำการศึกษาจากผู้รู้จะทำให้ปลอดภัย
»
คุณสมบัติอันมีค่าของผ้าไหมไทย
»
การปฏิบัติการรักษาผ้าไหมไทย
»
กว่าจะได้มาเป็นผ้าไหม