เทคโนโลยี นวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ วิศวกรรม เกษตรศาสตร์ >>
การสาวไหมพุ่งด้วยเครื่องสาวไหมแบบปรับปรุง
การสาวไหม หมายถึง กรรมวิธีที่ดึงเส้นไหมออกมาจากเปลือกรังไหม ซึ่งจะต้องมีขบวนการหรือขั้นตอนในการสาวไหม ดังแสดงในแผนภาพ ดังนี้
ขนาดของเส้นไหม การกำหนดขนาดของเส้นไหมนั้นจะกำหนดจากความยาวต่อน้ำหนัก
ขนาดของเส้นไหมมีหน่วยเรียกว่า "ดีเนียร์" 1 ดีเนียร์ หมายถึง เส้นไหมที่มีความยาว
9,000 เมตร มีน้ำหนัก 1 กรัม ซึ่งขนาดของเส้นไหมจะมีความแตกต่างกันในแต่ละพันธุ์
ไหมพันธุ์ลูกผสมต่างประเทศ จะมีขนาดโดยเฉลี่ย 2.2 - 2.8 ดีเนียร์
พันธุ์ไทยหรือไทยลูกผสม จะมีขนาดโดยเฉลี่ยประมาณ 1.5-2.1 ดีเนียร์
สำหรับความยาวของเส้นไหมพันธุ์ลูกผสมพันธุ์ลูกผสมต่างประเทศ จะมีความยาวเฉี่ยว
900-1,300 เมตร พันธุ์ไทยจะยาวโดยเฉลี่ย 300-350 เมตร
พันธุ์ไทยลูกผสมจะยาวโดยเฉลี่ย 600-700 เมตร
อนึ่ง ในการสาวไหมเพื่อให้ได้เส้นไหมที่ดีมีคุณภาพจะขึ้นอยู่กับปัจจัยดังนี้คือ
คุณภาพรังไหม รังไหมที่ดีจะทำให้การสาวไหมง่าย มีความเบี่ยงเบนของขนาดเส้นไหมน้อยและเส้นไหมที่สาวได้จะมีความสม่ำเสมอกัน
วิรีการสาวไหม จะรวมไปถึงการต้มรังไหม อัตราความเร็วในการสาวไหม ปริมาณรังไหมที่ใช้สาว โดยเฉพาะการสาวไหมพุ่งในระดับเกษตรกร หากจำนวนรังไหมมากหรือน้อยเกินไป จะทำให้การสาวไหมมีประสิทธิภาพต่ำ
การกรอเส้นไหม
ในการสาวไหมที่ใช้เครื่องในโรงงานหรือการสาวไหมโดยใช้มอเตอร์
การกรอเส้นไหมที่ดีต้องไม่ให้เกิดการเกาะกัน จนทำให้เส้นไหมติดกันเป็นแผ่น
การสาวไหมในปัจจุบันจะมีการสาวกันอยู่ 2 ประเภท คือ
การสาวไหมของโรงงานสาวไหมโดยการใช้เครื่องจักรสาว
กับการสาวไหมในระดับเกษตรกรในหมู่บ้าน
ซึ่งโดยวัตถุประสงค์หลักแล้วจะมีความแตกต่างกันคือการสาวไหมของโรงงานจะมุ่งเน้นในการผลิตเส้นไหมยืน
รองลงมาคือ เน้นไหมพุ่ง สำหรับเกษตรกรจะมีการสาวไหมเพื่อใช้ประโยชน์
ในลักษณะของไหมพุ่งเกือบ 100%
แต่ในเอกสารคำแนะนำเล่มนี้จะมุ่งเน้นในลักษณะของเส้นไหมที่ผลิตในระดับครัวเรือน
โดยการถ่ายทอดเทคนิคและเทคโนโลยีที่สามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพและสัมฤทธิ์ผลให้เกษตรกร
ได้มีการปรับปรุงพัฒนาการผลิตเส้นไหมที่ดีมีคุณภาพเป็นที่ต้องการของตลาดและผู้ทอผ้าไหมไทย
»
การสาวไหมในระดับเกษตรกร
»
เครื่องสาวไหมพุ่งแบบปรับปรุงโดยใช้แรงคน
»
เครื่องสาวไหมพุ่งแบบมอเตอร์