เทคโนโลยี นวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ วิศวกรรม เกษตรศาสตร์ >>
เครื่องเกี่ยวนวดข้าว
โดย รศ.วิชา หมั่นทำการ
ศูนย์เครื่องกลการเกษตรแห่งชาติ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน
กิจกรรมการเก็บเกี่ยวข้าวที่ปฏิบัติกันอยู่ในปัจจุบันนี้ ชาวนามักประสบปัญหาต่าง ๆ
เช่น ปัญหาการขาดแคลนแรงงานในการเก็บเกี่ยว
ซึ่งนับวันแรงงานทางด้านการเกษตรจะขาดแคลนเพิ่มมากขึ้น
เนื่องจากการอพยพแรงงานเข้าสู่เมืองมีสูง
และเนื่องจากแต่ละกรรมวิธีการนวดข้าวต้องใช้แรงงานมากและผ่านหลายขั้นตอน
ปัญหาการเสียค่าจ้างทั้งจากการเก็บเกี่ยวและการนวดข้าว ที่เพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ
เนื่องจากการขาดแคลนแรงงานทางด้านการเกษตร
ปัญหาการสูญเสียทั้งปริมาณและคุณภาพของข้าวเปลือก หลังจากการเก็บเกี่ยว ได้แก่
ปริมาณข้าวที่ร่วงหล่นจากรวงมีมากเพราะถูกปล่อยทิ้งไว้ในนานานเกินไป
การสูญเสียอันเนื่องจากนก หนู อาจมีเปอร์เซ็นต์สูงมากในท้องที่
การสูญเสียข้าวเปลือกขณะขนย้ายไปสถานที่นวดข้าว จะมีการร่วงของข้าวมาก
ในแง่ของคุณภาพข้าวที่ตากแดดไว้หลายวันจะกรอบและหักง่าย
ทำให้เปอร์เซ็นต์ข้าวเต็มเมล็ดหลังการสีต่ำ เป็นผลให้ราคาข้าวต่ำ
ในฤดูเก็บเกี่ยวข้าวนาปรัง
ถ้าข้าวที่ทิ้งไว้ในนามีความชื้นค่อนข้างต่ำแล้วถูกฝนอาจทำให้ข้าวป่น
เป็นผลให้ขายได้ราคาต่ำมาก
จากรายงานความสูญเสียเฉลี่ยตามขั้นตอนต่าง ๆ
หลังจากเก็บเกี่ยวในเขตพื้นที่ภาคกลางพบว่า
ซึ่งจะเห็นได้ว่าการใช้แรงงานคนเกี่ยวข้าว รวมถึงการขนย้ายและนวดข้าวจะมีการสูญเสียรวมทั้งหมดมากกว่า 10% นับเป็นความเสียหายจำนวนมาก และจากปัญหาที่เกิดขึ้นเหล่านี้ทำให้มีการนำเครื่องจักรกลการเกษตรเข้ามาช่วยในการเก็บเกี่ยว ได้แก่ เครื่องเกี่ยวนวด (Rice Combined Harvester) ที่เหมาะสมกับสภาพภูมิประเทศของไทย
»
การวิจัยและพัฒนาเครื่องเกี่ยวนวดข้าวในประเทศไทย
»
เครื่องเกี่ยวข้าวต้นแบบ
»
ลักษณะสำคัญของเครื่องเกี่ยวนวดข้าวต้นแบบ
»
ขั้นตอนการทำงานของเครื่องเกี่ยวนวดข้าวต้นแบบ
»
การทดสอบประสิทธิภาพในการเก็บเกี่ยว
»
ประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องเกี่ยวนวดข้าวต้นแบบ
»
การบำรุงรักษา
เอกสารอ้างอิง
- วิชา หมั่นทำการ มปพ. การวิจัยและการพัฒนาเครื่องเกี่ยวนวดข้าว. กรุงเทพ:
- ฝ่ายเครื่องจักรกลการเกษตรแห่งชาติ สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
- วิชา หมั่นทำการ เชาวน์ หมายตามกลาง และเอนก สุขเจริญ. มปพ.การวิจัยและพัฒนาเครื่องนวดข้าว กรุงเทพ:
- ศูนย์เครื่องจักรกลการเกษตรแห่งชาติและภาควิชาวิศวกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ได้รับการสนับสนุนเผยแพร่โดย
โครงการ KIP 9.35 ศูนย์ส่งเสริมและฝึกอบรมการเกษตรแห่งชาติ
สำนักส่งเสริมและฝึกอบรม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์