เทคโนโลยี นวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ วิศวกรรม เกษตรศาสตร์ >>
ปุ๋ยปลอม
ปุ๋ยเคมี
เราซื้อปุ๋ยเคมี เพราะต้องการนำธาตุอาหารที่มีอยู่ในปุ๋ยนั้นให้แก่พืช ปุ๋ยเคมีจะมีธาตุอาหารพืชอยู่มากน้อยเท่าใด ดูได้จากตัวเลขบนกระสอบปุ๋ย ซึ่งเรียกว่า สูตรปุ๋ย
สูตรปุ๋ยประกอบด้วยตัวเลข 3 ค่า มีขีดคั่นระหว่างตัวเลขแต่ละคำ เช่น 16-16-8 เป็นต้น ตัวเลขแต่ละค่าจะแทนความหมายดังนี้
- ตัวเลขค่าแรกคือ 16 แทนเนื้อธาตุไนโตรเจนแสดงว่าในปุ๋ยจำนวน 100 กิโลกรัม จะมีเนื้อธาตุไนโตรเจน 16 กิโลกรัม
- ตัวเลขต่อมาคือ 16 แทนเนื้อธาตุฟอสฟอรัสแสดงว่าปุ๋ยจำนวน 100 กิโลกรัม จะมีเนื้อธาตุฟอสฟอรัส 16 กิโลกรัม
- ตัวเลขสุดท้ายคือ 8 แทนเนื้อธาตุโพแทสเซียม แสดงว่าในปุ๋ยจำนวน 8 แทนเนื้อธาตุโพแทสเซียม แสดงว่าในปุ๋ยจำนวน 100 กิโลกรัม จะมีเนื้อธาตุโพแทสเซียม 8 กิโลกรัม
ปุ๋ยปลอม
ปุ๋ยปลอมคือ ปุ๋ยที่มีปริมาณธาตุอาหารพืชไม่ถึง 90 เปอร์เซ็นต์
ของปริมาณที่ระบุไว้บนกระสอบ เช่น ปุ๋ยสูตร 16-16-8
ถ้าวิเคราะห์แล้วมีธาตุไนโตรเจนไม่ถึง 14.4 เปอร์เซ็นต์ (14.4 = 90 เปอร์เซ็นต์ของ
16) เนื้อธาตุฟอสฟอรัส ไม่ถึง 14.4 เปอร์เซ็นต์ (14.4 = 90 เปอร์เซ็นต์ของ 16)
หรือเนื้อธาตุโพแทสเซียมไม่ถึง 7.2 เปอร์เซ็นต์ (7.2 = 90 เปอร์เซ็นต์ของ 8)
อย่างใดอย่างหนึ่งแสดงว่าปุ๋ยสูตรนี้เป็นปุ๋ยปลอม
ถ้าปุ๋ยกระสอบใดมีปริมาณเนื้อธาตุมากกว่า 90 เปอร์เซ็นต์
แต่ไม่ครบตามปริมาณที่ระบุไว้บนกระสอบ แสดงว่าปุ๋ยกระสอบนั้นเป็นปุ๋ยเคมีผิดมาตรฐาน
การตรวจสอบ
ปุ๋ยปลอมตรวจสอบได้ยากมากด้วยตาเปล่าหรือเพียงการสัมผัส
การตรวจสอบให้ได้ผลที่แน่นอนต้องทำโดยวิธีการทางเคมีในห้องปฏิบัติการ
เครื่องมือตรวจสอบปุ๋ยปลอมอย่างง่ายสำหรับการตรวจสอบในภาคสนามนั้นใช้สำหรับการตรวจสอบเบื้องต้นเท่านั้น
ให้ผลเพียงคร่าว ๆ และไม่ สามารถนำผลการตรวจสอบมาใช้เพื่อดำเนินคดีทางกฏหมายได้
เมื่อสงสัยว่าจะเป็นปุ๋ยปลอม ควรเก็บตัวอย่างปุ๋ยตามวิธีการที่แนะนำอย่างเคร่งครัด
แล้วส่งไปยังสำนักงานเกษตรอำเภอ หรือสำนักงานเกษตรจังหวัดในท้องถิ่น
เพื่อส่งให้ห้องปฏิบัติการตรวจสอบต่อไป
»
วิธีเก็บปุ๋ยตัวอย่าง
»
การตรวจสอบปุ๋ยในห้องปฏิบัติการ
»
โทษของการผลิตและการจำหน่ายปุ๋ยปลอม