เทคโนโลยี นวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ วิศวกรรม เกษตรศาสตร์ >>
แมลงที่เป็นประโยชน์ทางการเกษตร
แมลงที่ให้โทษหรือเป็นศัตรูกับมนุษย์นั้นมีเพียงร้อยละ 0.1 ของแมลงที่มีอยู่ในโลกทั้งหมด อีกร้อยละ 99.9 เป็นแมลงที่มีประโยชน์ โดยเฉพาะทางการเกษตรและเป็นแมลงที่ไม่มีคุณหรือโทษแต่อย่างใดต่อคน
แมลงส่วนใหญ่จึงเป็นสมาชิกที่ดีของโลกนี้ประโยชน์ที่ได้จากแมลงมีมากมายแต่มักถูกมองข้ามไป เนื่องจากคนส่วนมากยังไม่ทราบและยังไม่เข้าใจลึกซึ้งถึงประโยชน์ที่ได้รับจากแมลง ทำให้ไม่เห็นความสำคัญของแมลงที่เป็นประโยชน์และในบางครั้งก็ทำลายแมลงเหล่านี้ไปด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์เช่นการใช้สารเคมีฆ่าแมลงที่มีพิษร้ายแรงสามารถฆ่าแมลงได้ทุกชนิดไม่เฉพาะเจาะจงและใช้อย่างพร่ำเพรื่อเกินความจำเป็น ทำให้แมลงที่เป็นประโยชน์ถูกทำลายไปด้วย แมลงเหล่านี้หลายชนิดช่วยกำจัดแมลงศัตรูพืชชนิดอื่นเป็นการควบคุมปริมาณของแมลงศัตรูพืชให้อยู่ในสมดุลตามธรรมชาติ การทำลายแมลงที่เป็นประโยชน์ทำให้สมดุลธรรมชาติเสียไป แมลงศัตรูพืชจึงเพิ่มปริมาณอย่างรวดเร็ว เพราะไม่มีตัวควบคุมอันตรายจากแมลงบางชนิดก็มีมากมายมหาศาลจนเราไม่อาจละลายที่จะกำจัดมันได้แต่พึงระลึกเสมอว่าแมลงที่เป็นประโยชน์มีปะปนในธรรมชาติเป็นจำนวนมากการกำจัด
แมลงแต่ละชนิดจึงควรทำด้วยความละเอียดรอบคอบและหลีกเลี่ยงการทำลายแมลงที่เป็นประโยชน์ไปด้วยการรู้จักแมลงที่เป็นประโยชน์และทราบถึงผลประโยชน์ที่เราจะได้รับจึงเป็นสิ่งที่จำเป็น เพื่อจะได้ช่วยกันอนุรักษ์แมลงเหล่านี้ให้เกิดประโยชน์แก่มนุษย์เรามากที่สุด
แมลงที่เป็นประโยชน์มีมากมายหลายชนิด แบ่งเป็นพวกใหญ่ ๆ ตามลักษณะของประโยชน์ได้อย่างน้อย 5 ประเภท คือ
1. แมลงที่ให้ผลผลิต
2. แมลงที่ใช้เป็นอาหาร
3. แมลงผสมเกสร
4. แมลงตัวห้ำและแมลงตัวเบียน
5. แมลงช่วยสร้างเสริมความอุดมสมบูรณ์ของดิน
»
แมลงที่ให้ผลผลิต
»
แมลงที่ใช้เป็นอาหาร
»
แมลงผสมเกสร
»
แมลงตัวห้ำและแมลงตัวเบียน
»
แมลงช่วยสร้างเสริมความอุดมสมบูรณ์ของดิน
เรียบเรียง
- รศ. ดร.ทิพย์วดี อรรถธรรม ภาควิชากีฏวิทยา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน
- ดร. องุ่น ลิ่ววานิช กองกีฏและสัตววิทยา กรมวิชาการเกษตร
จัดทำ เกตุอร ทองเครือ กองเกษตรสัมพันธ์
เผยแพร่โดย กองเกษตรสัมพันธ์ กรมส่งเสริมการเกษตร
เอกสารอ้างอิง
- ฉวีวรรณ หุตะเจริญ. 2526. แมลงป่าไม้ของไทย กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์รุ่งวัฒนา.คณะกรรมการส่งเสริมสินค้าไหมไทย. 2535.
- เทคนิคการเลี้ยงไหมเขตร้อน กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม และกรมส่งเสริมการเกษตร.
- พงศ์ธร สังข์เผือก และประภาศรี ภูวเสถียร. 2526. "คุณค่าอาหารของแหล่งอาการโปรตีนของชาวชนบท : แมลง" โภชนาการสารปีที่ 17(1) : 5-12.
- พงศ์เทพ อัครธนกุล. 2526. ว่าด้วยผึ้งและการเลี้ยงผึ้ง. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์พฤกษ์ศิริ.
- วรากร วราอัศวปติ, จำนง วิสุทธิแพทย์ และ ชูเกียรติ มณีธร. 2518. "แมลงที่เป็นอาหารในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ." เอกสารการวิจัย ฉบับที่ 7 มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาสารคาม.
- สาวิตรี มาไลยพันธุ์. 2526. ผึ้งและแมลงผสมเกสร. ภาควิชากีฏวิทยา, คณะเกษตร มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์.องุ่น ลิ่ววานิช. 2531. "แมลงที่กินได้." กสิกร ปีที่ 61(6) : 547-551.
- Borror D.J., D.M. De Long and C.A., Triplehorn. 1981. An Intro-duction to the Study of Insects. 5th edition. U.S.A. : Saun-ders College Publishing.
- Borror D.J. and R.E. White. 1970. A Field Guide to the Insects of America North of Mexico. Boston : Houghton Mifflin Company.