เทคโนโลยี นวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ วิศวกรรม เกษตรศาสตร์ >>
การปลูกลิลลี่
สำนักงานเกษตรจังหวัดนครราชสีมา
ลิลลี่ปลูกเป็นการค้า แบ่งเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่
- กลุ่มลูกผสมลองจิฟลอรัม เช่น พันธุ์สโนว์ ควีน , ไวท์ยุโรป
- กลุ่มลูกผสมเอเซียติก เช่น พันธุ์อิลิท
- กลุ่มลูกผสมออเรียลเทิล เช่น พันธุ์มอนทานา , โอลิมปิคสตาร์
การขยายพันธุ์
- การเก็บหัว หลังจากตัดดอกแล้ว ตัดส่วนของลำต้นให้เหลือประมาณ 10-20
ซม. เหนือดิน ทิ้งให้หัวอยู่ในดินประมาณ 2 เดือน เพื่อให้หัวลูกเจริญเต็มที่
เมื่อใบเริ่มเป็นสีน้ำตาลจึงเก็บหัวขึ้น ไม่ต้องตัดรากหรือล้างราก
นำไปบรรจุในถุงพลาสติกที่มีวัสดุเพาะชำ เช่น ขุยมะพร้าวชื้น ๆ เก็บที่อุณหภูมิ
2๐C
เป็นเวลา 3 เดือน หลังจากนั้นหัวจะพร้อมปลูก ถ้ายังไม่ปลูกทันทีให้เก็บที่อุณหภูมิ -2๐C สามารถเก็บหัวได้นานถึง 1 ปี
- การชำกลีบ โดยแยกกลีบออก นำไปจุ่มในสารเคมีกันเชื้อรา ปลูกประมาณ
30-50 กลีบ ต่อแถวยาว 30 ซม. แต่ละแถวห่างกันประมาณ 30-35 ซม.
- การชำหัวย่อย ชำหัวย่อยใต้ดิน
วิธีนี้สามารถให้หัวที่มีขนาดใหญ่ได้เร็วกว่าวิธีอื่น ๆ
ชำหัวย่อยเหนือดิน วิธีนี้ต้องใช้เวลานานหลายปีกว่าจะได้หัวใหญ่
- การชำใบ โดยตัดใบและชำในวัสดุชำที่ชื้นลึก 1.5 ซม. ที่อุณหภูมิ 20๐C
- การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ เป็นวิธีหลักที่ใช้ในการขยายพันธุ์ใหม่ ๆ ก่อนลงปลูกในแปลง โดยมากจะใช้กลีบเป็นชิ้นส่วนเริ่มต้น
การปลูกและการจัดการ
พื้นที่ปลูก ลิลลี่สามารถปลูกได้ดีในดินที่มีการระบายน้ำดี มีอินทรีย์วัตถุสูง
อุณหภูมิ ช่วงแรกของการเจริญเติบโต ควรรักษาอุณหภูมิประมาณ 12-13๐C
หลังจากนั้นอุณหภูมิที่เหมาะสมในการเจริญของลิลลี่ คือ กลางคืน 14-16๐C และ กลางวัน
22-25๐C
ความชื้น ความชื้นสัมพัทธ์ ร้อยละ 80-85
แสง ควรมีการพรางแสงในช่วงอากาศร้อน เพื่อรักษาความชื้น
แปลงปลูก ยกแปลงสูง 20-30 ซม. กว้าง 1 เมตร เว้นทางเดิน 50 ซม.
ระยะปลูก ขึ้นอยู่กับขนาดของหัว
การให้น้ำ ควรรดน้ำ 2-3 วันก่อนปลูกเพื่อให้ดินชื้น
จากนั้นควรรดน้ำวันละครั้งในช่วงเช้า
การให้ปุ๋ย ครั้งแรกให้ปุ๋ยแคลเซียมไนเตรท สูตร 15.5-0-0 อัตรา 1
กก./พื้นที่ 100 ตรม. หลังปลูก 3 สัปดาห์ ต่อมาให้ปุ๋ยสูตร 12-10-18 ทุก 2 สัปดาห์
หลังตัดดอกแล้วหากต้องการเก็บหัวควรให้ปุ๋ยที่มีโปแตสเซียมสูง
เพื่อช่วยในการพัฒนาหัว เช่น สูตร 13-13-21 ทุก 2 สัปดาห์
ศัตรูที่สำคัญ
1. โรครากเน่า สาเหตุจากเชื้อ Rhizoctonia solani
ลักษณะการทำลายใบอ่อนใบล่างจะเป็นจุดสีน้ำตาลอ่อนโดยทั่วไป ถ้าเป็นมากระบบรากจะถูกทำลาย
ทำให้ต้นชะงักการเจริญเติบโต
การป้องกันกำจัด อบดินโดยใช้สารเคมี เช่น เม็ธธิลโบรไมด์ หรือโซดาเม็ท
หรือรดเครื่องปลูกด้วยควีนโตซีน
2. โรครากเน่า สาเหตุจากเชื้อ Phytophthora spp. โคนต้น
จะเป็นจุดสีน้ำตาลอมม่วงแล้วลามขึ้นมา ใบเหลืองเริ่มจากใบล่าง
การเจริญเติบโตจะชะงัก และต้นเหี่ยวอย่างฉับพลัน
การป้องกันกำจัด อบดินโดยใช้สารเคมี เช่น เม็ธธิลโบรไมด์ หรือโซดาเม็ท หรือมาแนบ
3. โรคใบจุด สาเหตุจากเชื้อ Botrytis spp. ในช่วงที่อากาศชื้นมาก
ใบหรือต้นจะเป็นจุดสีน้ำตาลเข้ม ขนาด 1-2 มม. ดอกบานจะเสียหายได้ง่าย
โดยจะเป็นจุดอวบน้ำสีเทา
การป้องกันกำจัด ฉีดพ้นด้วยสารเคมีเบนเลทผสมแมนโคเซ็บ ทุกสัปดาห์
ช่วงออกดอกควรใช้สารคลอโรธานิล
4. เพลี้ยอ่อน ลักษณะการทำลาย จะทำให้ใบบน ๆ โค้งงอในระยะแรกและจะบิดเบี้ยว
ดอกอ่อนจะมีจุดสีเขียวและไม่ได้ทรง
การป้องกันกำจัด ใช้สารเคมี เช่น เดลต้ามีธริน หรือไพริมิคาร็บ ฉีดพ่นทุก ๆ 5-6
สัปดาห์
การเก็บเกี่ยวและการปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยว
การตัด
ควรตัดดอกลิลลี่ในระยะที่ดอกล่างสุดตูม เริ่มแสดงสี และพร้อมที่จะบานในวันถ้ดไป
การตัดอกเร็วเกินไปจะทำให้ดอกบานช้า สีซีด จำนวนดอกบานน้อยและคุณภาพต่ำ
ควรตัดช่อดอกโดยเหลือต้นไว้เหนือดินประมาณ 10-20 ซม.
การคัดเกรด
คัดเกรดตามจำนวนดอก ความยาว และความแข็งแรงของก้าน ควรริดใบที่โคนก้านประมาณ 10 ซม.
เพื่อยืดอายุการปักแจกัน และป้องกันน้ำเสีย หลังการตัดดอกควรแช่ในสารซิลเวอร์ไธโอซัลเฟต
อัตรา 30 มล./น้ำ 1 ล. เป็นเวลา 20 นาที จากนั้นจึงย้ายใส่น้ำสะอาดที่ปรับค่าพีเอช
เท่ากับ 3.5 เก็บที่อุณภูมิ 3-5๐C
ที่มา กองส่งเสริมพืชสวน กรมส่งเสริมการเกษตร
จัดทำโดย นายสุฤชัย คล้ายเชียงราก ฝ่ายประมวลผลข้อมูล กองแผนงาน