เทคโนโลยี นวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ วิศวกรรม เกษตรศาสตร์ >>
กล้วยไม้
กรมส่งเสริมการเกษตร
แมลงศัตรูของกล้วยไม้
1. เพลี้ยไฟ
เป็นแมลงขนาดเล็กมีลำตัวยาวประมาณ 0.5-2 มิลลิเมตร รูปร่างเรียวยาว
มักอยู่บริเวณปากของดอกกล้วยไม้ ระบาดมากในฤดูแล้งหรือช่วง ที่ฝนทิ้งช่วง
เพลี้ยไฟทำลายได้ทั้งในดอกตูมและดอกบาน
โดยถ้าทำลายดอกตูมตั้งแต่เริ่มแทงช่อดอกจะทำให้ดอกตูมชะงักการเจริญเติบโต เปลี่ยน
เป็นสีน้ำตาลและแห้งคาก้านช่อดอก
ถ้าเข้าทำลายในช่วงดอกบานระยะแรกจะเกิดลักษณะสีซีดขาวเป็นทางที่บริเวณกลีบดอก ถ้า
มีการระบาดค่อน ข้างรุนแรงบริเวณปากจะเป็นแผลสีน้ำตาล
และมีอาการเหี่ยวแห้งจึงเรียกกันว่า ดอกไหม้หรือปากไหม้
การป้องกันกำจัด
ควรฉีดพ่นด้วยสารฆ่าแมลง เช่น คาร์โบซัลแฟน และโมโนโครโตฟอส โดยฉีดพ่นในช่วงเช้า
ระหว่าง 8.00-10.00 น. ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่พบเพลี้ยไฟมาก ถ้ามี
การระบาดมากควรฉีดพ่นสารเคมี 4-5 วันต่อครั้ง และฉีดติดต่อกัน 2-3 ครั้ง
หรือจนกว่าการระบาดจะลดลง
2. แมลงวันดอกกล้วยไม้หรือไอ้ฮวบ
เป็นหนอนสีเหลืองลำตัวยาวประมาณ 0.8-3.0 ม.ม.
อาศัยอยู่ที่บริเวณเส้าเกสรโดยเฉพาะที่บริเวณใกล้กับยอด เกสรตัวเมีย
มักระบาดในช่วงฤดูฝน หนอนจะเข้าทำลายดอกกล้วยไม้เฉพาะดอกตูมขนาดเล็ก
ซึ่งกลีบดอกยังปิดหรือเริ่มแทงช่อดอก ทำให้ดอกตูม ชะงักการเจริญเติบโตหงิกงอ
บิดเบี้ยว และต่อมาจะมีอาการเน่าเหลืองฉ่ำน้ำและหลุดร่วงจากช่อดอก
ถ้าเข้าทำลายดอกตูมขนาดใหญ่ทำให้ดอกตูมมี อาการบิดเบี้ยว
บริเวณโคนดอกจะมีรอยเน่าช้ำสีน้ำตาลดำ
บริเวณแผลที่ช้ำมักจะมีราฟูสีขาวทำให้อาจเข้าใจผิดว่ามีเชื้อราเป็นสาเหตุ
การป้องกันกำจัด
ควรเก็บดอกตูมที่มีอาการเน่าฉ่ำน้ำหรือที่มีอาการบิด เบี้ยวมาทำลายให้หมด
และใช้สารฆ่าแมลงประเภทดูดซึม เช่น สารโมโนโครโตฟอส สารคาร์โบซัลแฟน และเมทโธมิล
ฉีดพ่นทุก ๆ 5-7 วัน ติดต่อกันจนกว่าการระบาดจะลดลง ฉีดพ่นที่บริเวณช่อ
และเครื่องปลูกด้วยเพื่อจะได้ทำลายทั้ง หนอนและดักแด้
3. ไรกล้วยไม้
ทำลายกล้วยไม้โดยดูดกินน้ำเลี้ยง จากส่วนต่าง ๆ ของกล้วยไม้ เช่น
ใบข้อหรือลำต้นและดอกระบาดมากในสถานที่มีอากาศร้อนและแห้งแล้ง ที่ใบมักพบที่หลังใบ
ใบจะมีจุดด่างขาวเล็ก ๆ และมีคราบสีขาวของไรจับ
หากระบาดรุนแรงบริเวณผิวใบจุดยุบลงหากเข้าทำลายที่ข้อหรือลำต้น
จะเห็นไรเกาะกลุ่มแน่นเป็นกระจุก ลำต้นเป็นสีน้ำตาลหรือดำจึงมักเรียกว่า โรคข้อดำ
จึงทำให้ต้นชะงักการเจริญเติบโต ถ้าทำลายช่อ
ไรจุดูดกินน้ำเลี้ยงที่ด้านหลังของกลีบดอกโดยเฉพาะบริเวณโคน
ทำให้กลีบดอกเป็นรอยช้ำบุ๋มเป็นจุดสีม่วงเข้ม ถ้าทำลายตั้งแต่ระยะดอกตูม
เมื่อดอกบานแผลจากการทำลายจะเห็นที่บริเวณกลีบล่าง และก้านดอก เรียกว่า ดอกหลังลาย
การป้องกันกำจัด
เก็บต้นกล้วยไม้ที่ไม่ต้องการทิ้ง เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งอาศัยของไร
หากระบาดไม่มากให้ฉีดด้วยกำมะถันทุก 4-5 วัน แต่ถ้าระบาดมากควรใช้ ไดโคทอล พ่นทุก
3-4 วัน
4. หนอนกระทูหอม
มีลำตัวสีเขียวหนอนจะทำลายกัดกินดอกและใบให้เว้าแหว่งได้ทำให้ดอกและใบเสียหาย
การป้องกันกำจัด
ใช้สารฆ่าแมลงประเภทไพรีทรอยด์สังเคราะห์ เช่น เฟนวาลีเรท หรือ เดลต้าเมทริน
ถ้าระบาดมากและหนอนดื้อยาใช้สารประเภทไดฟลูเบนซูรอน
5. หนอนกระทู้ผัก
ตัวอ่อนของหนอนจะกัดกินใบอ่อนและดอกทำให้ผล ผลิตเสียหาย
การป้องกันกำจัด
ถ้ายังระบาดไม่มากใช้วิธีเด็ดดอกหรือตัดใบทิ้ง และเผาทำลาย แต่ถ้ามีการระบาดมากอาจใช้สารฆ่าแมลงพวก
เมทโธมิลฉีดพ่น
6. เพลี้ยหอยและเพลี้ยแป้ง
ซึ่งอาศัยรวมเป็นกลุ่มตามใต้ใบ
จะดูดกินน้ำเลี้ยงทำให้ด้านบนของใบมีจุดสีเหลืองเน่าใบจะเหลืองและเหี่ยว
ถ้ามีเป็นจำนวน มากจะทำให้กล้วยไม้ชะงักการเจริญเติบโต
อาการต่อมาจะมีราดำเกิดขึ้นกับใบล่างของลำต้น เพราะเพลี้ยจะถ่ายมูลออกมาเป็ นอาหารของมด
และ เป็นอาหารของเชื้อราดำ
การป้องกันกำจัด
การฉีดพ่นด้วยสารคาร์บาริลหรือราดที่เครื่องปลูก ถ้าระบาดมาก ๆ
ใช้สารฆ่าแมลงพวกโมโนโครโตฟอส ฉีดพ่น
คณะผู้จัดทำ
: นายสมชาย สุคนธสิงห์ ที่ปรึกษา
: นายโอฬาร พิทักษ์ เรียบเรียง
: นางภาวนา อัศวะประภา
: นายทวีพงศ์ สุวรรณโร
: นายเศรษฐพงศ์ เลขะวัฒนะ
: นายอภิชาติ สุวรรณ
»
การปลูก
»
โรงเรือน
»
การย้ายต้นกล้วยไม้ที่ได้จากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
»
ประเภทของกล้วยไม้
»
การดูแลรักษา
»
พันธุ์กล้วยไม้ที่นิยมปลูกเป็นการค้า
»
โรคและแมลงที่สำคัญของกล้วยไม้
»
การขยายพันธุ์กล้วยไม้
»
แมลงศัตรูของกล้วยไม้