เทคโนโลยี นวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ วิศวกรรม เกษตรศาสตร์ >>
แกลดิโอลัส
โรคและแมลง
1. โรคหัวเน่า (Fusarium Dry Rot) เกิดจากเชื้อรา Fusarium oxysporium โรคนี้ทำให้หัวที่ปลูก เน่าและมีผลให้ใบเหลือง ปลายและขอบใบแห้ง ถ้าเกิดกับต้นที่ยังไม่ให้ดอก จะทำให้ต้นตาย ไปก่อนที่ให้ดอก โรคนี้เมื่อเกิดขึ้นจะกำจัดได้ยากมาก วิธีป้องกันกำจัดควรขุดขึ้นมาเผาทำลาย ทั้งต้น หากเก็บหัวที่เป็นโรคไว้จะแสดงอาการระหว่างเก็บรักษาโดยมีแผลสีน้ำตาลเกิดขึ้นที่หัว และแผลขยายวงออกไปเรื่อย ๆ ทำให้หัวเน่าเสียหายเป็นอันมาก การป้องกันกำจัด ควรตรวจเช็คหัวก่อนปลูกถ้าพบหัวเป็นโรคทำลายเสียไม่ควรเก็บไว้ทำพันธุ์ ต่อไปเพราะจะเป็นแหล่งกระจายโรคและก่อนปลูกควรแช่หัวในน้ำยาไลโซล 4 ช้อนโต๊ะ ต่อน้ำ 11 ลิตร นาน 4 ชม.
2. โรคใบจุด Curvularia Leaf Spot เกิดจากเชื้อรา Curvularia lunata โดยเกิดขึ้นทั้งบนใบและ ก้านช่อดอก โดยเริ่มจากจุดกลมสีน้ำตาลหรือน้ำตาลแดง ขอบแผลมีสีเหลืองบางแผลมีขนาดใหญ่ ใบจะแห้งและร่วงหล่น ช่อดอกสั้น เชื้อนี้จะระบาดโดยติดไปกับหัวพันธุ์ การป้องกันกำจัด ควรคลุกหัวพันธุ์ด้วยยาป้องกันเชื้อราก่อนปลูก และถ้าระบาดในแปลงควรใช้ ยาไดไธโอคาร์บาเมต เช่น ไซเนบ มาเนบ ฉีดพ่น
3. โรคใบด่างดอกด่าง เกิดจากเชื้อไวรัส อาการจะปรากฏชัดบนใบและดอก โดยจะเห็นรอยด่าง เป็นทางทำให้ดอกไม่สมบูรณ์ เมื่อพบควรถอนและทำลายโดยการเผาไฟ
4. เพลี้ยไฟ (Trips) จะดูดกินน้ำเลี้ยงทั้งใบและดอก ดอกที่ถูกเพลี้ยไฟดูดเกาะทำลายมาก ๆ จะไม่บานและเหี่ยวแห้งไป ถ้าดอกบานแล้วจะทำให้ดอกมีรอยขีดซีด ๆ ดูเหมือนกลีบดอกด่าง มีตำหนิขายไม่ได้ ควรฉีดพ่นด้วยยาโตกุไธออนหรือยาประเภทดูดซึมสัปดาห์ละครั้ง ในช่วงที่ แทงช่อดอก
5. ไรแดง (Spider Mites) เมื่อเข้าทำลายจะสังเกตเห็นใบเหลืองหรือแห้งโดยเฉพาะบนใบแก่ ขอบใบและปลายใบ จะแห้งผิวใบกร้านมีจุดละเอียดสีขาวโดยทั่วไปควรฉีดยาเคลเทนเมื่อพบ 6. หนอนกระทู้ (Cutworm) หนอนผีเสื้อ (Caterpillar) และแมลงเต่าญี่ปุ่น (Japanese Beetle) จะกัดกินและทำลายต้นอ่อนอาจใช้ยาฆ่าแมลง เช่น มาลาไธออน อโซดริน หรือ แลนแนต ฉีดพ่น
»
ทำเลหรือพื้นที่ปลูก
»
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
»
พันธุ์ดอกแกลดิโอลัส
»
พันธุ์ดอกเล็กและดอกจิ๋ว
»
ขยายพันธุ์โดยใช้หัวและหัวย่อย
»
การปลูกและการดูแลรักษา
»
โรคและแมลง
»
การตัดดอก
»
การตลาด