เทคโนโลยี นวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ วิศวกรรม เกษตรศาสตร์ >>
การปลูกคล้า
กรมส่งเสริมการเกษตร กองส่งเสริมพืชสวน
คล้า เป็นชื่อเรียกโดยรวมของพืชวงศ์ (MARANTACEAE (MARANTA FAMILY, ARROWROOT FAMILY) เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว พบในเขตร้อน มีถิ่นกำเนิดที่อเมริกาใต้ ประกอบด้วย 30 สกุล 400 ชนิด เป็นไม้เนื้ออ่อน อายุหลายปี ส่วนใหญ่มีหัวหรือเหง้าใต้ดิน ลักษณะประจำวงศ์คือรอยต่อระหว่างก้านใบทั้ง 2 ข้างไม่เท่ากัน ด้านหนึ่งจะใหญ่กว่า เมื่อใบยัง อ่อน ด้านที่ใหญ่กว่าจะม้วนหุ้มด้านที่เล็กกว่าไว้ ดอกมักออกเหนือใบที่มียอดอ่อน ดอกออก เป็นคู่ในซอกกาบใบ แต่ละคู่มักหันหน้าเข้าหากัน ดอกมีขนาดไม่เท่ากัน สมบูรณ์เพศ มีกลีบ เพียง 3 กลีบ กลีบดอก 3 กลีบ ชั้นของเกสรตัวผู้มักเชื่อมติดกับชั้นของกลีบดอกเกสรตัวผู้ที่ สมบูรณ์มี 1 อัน สีสันและลัษณะคล้ายกลีบดอก เกสรตัวผู้ที่เป็นหมันมีจำนวนมาก ลักษณะ เหมือนแผ่นหนังหรือใบเล็ก ๆ เกสรตัวเมียอยู่ใต้ส่วนต่าง ๆ ของดอก รังไข่มี 3 ช่อง มีออวูล 3 อัน มักฝ่อ 2 อัน เหลือเพียง 1 อัน เจริญเป็นเมล็ดที่สมบูรณ์ เกสรตัวเมียโค้งและมีฝาคล้าย หมวกหุ้มอยู่ เมื่อดอกบ้านเกสรจะปลิวตกลงบนแท่นของเกสรตัวเมีย แมลงจะมาเคล้าที่เกสรตัว ผู้ที่เป็นหมัน และดูดน้ำหวาน และเขี่ยให้หมวกที่ปิดอยู่นั้นหลุดออก ละอองเกสรบางส่วนที่ยัง คงติดอยู่บนหลังแมลงจะตกลงบนยอดเกสรตัวเมีย ผลมี 2 ลักษณะ คือ เป็นผลแห้ง เมื่อแก่จะ ไม่แตกและผลมีเนื้อนุ่ม เมล็ดมีเยื่อหุ้ม
วงศ์นี้ประกอบด้วยสกุลต่าง ๆ เช่น Calathea เช่น คล้าเสือโคร่ง (ZEBRINA PLANT) , (Ctenanthe, Donax (เช่น คลุ้ม), Maranta (เช่น สาคู), Phynium (เช่น สาดแดง, สาดขาว), Schumannianthus (เช่น คล้า), Stromarthe. Thalia (เช่น พุทธรักษาน้ำ) โดยพืชที่เป็นพืชพื้นเมืองไทยได้แก่พวกคล้า, คลุ้ม สาดแดง, สาดขาว, สาคู เป็นต้น
ส่วนใหญ่สกุล Calathea และสกุล Maranta มีใบที่มีลวดลายสลับสีสี งดงามมาก
นิยมปลูกเป็นไม้ประดับเป็นกลุ่มหรือปลูกเป็นไม้กระถางในที่มีร่มเงาบ้าง
บางชนิดมีดอกสวยงาม เช่น ธรรมรักษาน้ำบางชนิดเหง้าใต้ดินมีแห้งสะสมอยู่ เช่น สาคู
ใช้ต้มรับประทานได้ บางชนิดใช้ใบห่อขนม เช่น ขนมข้าวต้มลูกโยน บางชนิดนำมาจักสาน
และบางชนิดปลูกเป็นไม้ตัดดอก ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในสกุล Calathe
สกุล Calathea Mey มีประมาณ 300 ชนิด เป็นไม้เนื้ออ่อน อายุหลายปี
มีเหง้าหรือหัวอยู่ใต้ดิน ลำต้นเหนือดินมักไม่แตกกิ่งย่อย ช่อดอกเป็นช่อเชิงลด (spike)
หรือช่อกระจะ (raceme) อาจเป็นช่อเดี่ยวหรือมีช่อย่อย
กาบรองดอกเรียงเวียนสลับหรือเรียงเป็นสองแถว ไม่หลุดร่วง
กลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอดเรียวยาวเกสรตัวผู้ที่ไม่สมบูรณ์และเปลี่ยนรูปร่างไปมีลักษณะคล้ายกลีบดอก
1 อัน รังไข่มี 3 ช่อง แต่ละช่องมี 1 เมล็ด ผลแห้ง เมล็ดมีเยื่อหุ้ม
มีถิ่นกำเนิดในเขตร้อนของอเมริกา (เม็กซิโกถึงอาเจนติน่า)
CALATHEA BURLE - MARXII
ชื่อวิทยาศาสตร์ Calathea burle-marxii H. Kenn.
วงศ์ : Marantaceae
ลักษณะทางพฤษศาสตร์
ไม้เนื้ออ่อน มีเหง้าใต้ดิน ลำต้นเหนือดินสูง 80-150 ซม. ลำต้นสีน้ำตาลปนเขียว
ออก ใบใกล้โคนต้น แผ่นใบกว้าง 35 เซนติเมตร ยาว 72 เซนติเมตร แผ่นใบรูปไข่
ปลายเว้าหรือ แหลม ด้านหลังใบสีเขียวสด เส้นกลางใบสีเขียวปนเหลือง
มีขนปกคลุมไปจนถึงปลายใบ ด้าน ท้องใบสีเขียวปนเทา มีเส้นกลางใบสีเหลืองปนเขียว
มีขนสั้น ๆ ก้านใบสีเขียวยาว 2-24 เซนติเมตร มีขนปกคลุม โดยกาบใบแต้มสีม่วงแดง
ช่อดอกออกที่ปลายลำต้นเหนือดิน เป็นช่อ แบบ spike รูปไข่ กว้างได้ถึง 8 เซนติเมตร
ยาวถึง 16 เซนติเมตร กาบรองดอกเรียงเวียนซ้อน ทับกัน หนาแข็งคล้ายขี้ผึ้ง
กลีบเลี้ยงสีขาว โปร่งแสง กลีบดอกเชื่อมติดกันและแยกด้านหนึ่งยาว 1.5-2 เซนติเมตร
ปลายแยกเป็นกลีบดอกมีขนาดไม่เท่ากัน เกสรตัวผู้ที่ไม่สมบูรณ์และเปลี่ยน
รูปร่างไปมีสีม่วง
สำหรับชนิดนี้พันธุ์ที่ปลูกเลี้ยงเป็นไม้ตัดดอก 3 พันธุ์ คือ
- cv. ICE BLUE (ICE BLUE CALATHEA, BLUE ICE) มีกาบรองดอกสีฟ้า ดอกสีม่วงแดง สวยงามมาก
- cvi. ICE GREEN การรองดอกสีเขียว ดอกสีเหลือง
- cvii. SNOW CONE กาบรองดอกสีขาว ดอกสีขาว
นิเวศน์วิทยา : ปลูกในที่มีร่มเงาและความชื้นสูง ยังไม่เป็นที่แพร่หลายนัก
การกระจายพันธุ์ : มีถิ่นกำเนิดที่บราซิล
การขยายพันธุ์ : แบ่งกอ
ประโยชน์ : ปลูกเป็นไม้ตัดดอก หรือปลูกเป็นไม้ประดับ
คล้าตะขาบ
ชื่อสามัญ : Rattlesnake Plant ; Rattle Shaker; Shakers; Hirsuta Shakers
ชื่อวิทยาศาสตร์ Calathea crotalifera S. Wats.
วงศ์ : Marantaceae
ลักษณะทางพฤษศาสตร์
คล้าตะขาบเป็นไม้เนื้ออ่อนอายุหลายปี สูงได้ถึง 2 เมตร มีเหง้าใต้ดิน
ก้านใบส่วนโคน ประมาณ 1/3 ถึง 2/3 ของความยาวก้าน แผ่เป็นกาบใบซ้อนทับกัน
ก้านใบตอนบนเป็นรูปทรงกระบอก กลมเกลี้ยงรอยต่อระหว่างก้านใบและแผ่นใบยาว 10-13 ซม.
มีสีเขียวอ่อนกว่าสีก้านใบ แผ่นใบรูปไข่ สองข้างไม่เท่ากันเรียบเกลี้ยง กว้าง 24-33
เซนติเมตร ยาว 40-70 เซนติเมตร ด้านหลังใบมีสีเขียวเข้ม
เส้นกลางใบเป็นร่องสีเขียวอ่อน มีประสีเขียวอ่อนบริเวณแผ่นใบใกล้เส้นกลางใบ
เส้นใบย่อยเรียงแบบขนนก ขนานกันและนูนเป็นสันตื้น ๆ
ด้านใต้ใบมีสีอ่อนและเคลือบด้วยนวลแป้ง ปลายใบเป็นติ่งแหลม โคนใบตัด
ดอกออกเป็นช่อก้านช่อดอกตั้งตรง ยาวได้ 25 ซม. ตัวช่อดอกยาว 15-25 เซนติเมตร
กาบรองดอกรูปไข่ปลายเว้าลักษณะแบนด้านข้างและซ้อนสลับกันซ้ายขวา
ส่วนของช่อดอกนี้ลักษณะเหมือนหางของงูหางกระดิ่ง จึงมีชื่อสามัญว่า Rattlesnake
Plant
กาบรองดอกนั้นเมื่อยังอ่อนอยู่จะมีสีเขียวแล้วเปลี่ยนเป็นสีเหลืองและเหลืองเข้ม
จนเป็นสีน้ำตาล ขณะที่เป็นสีเหลืองนั้นดอกจะบานโผล่ออกมาจากซอกกาบรองดอก
ดอกมีขนาดเล็กกลีบดอกสีเหลือง
นิเวศน์วิทยา : เป็นพืชที่เจริญได้ดีในที่มีร่มเงาและความชื้นสูง
การกระจายพันธุ์ : มีถิ่นกำเนิดในเขตร้อนขึ้น เม็กซิโก เอควาดอร์ จนถึงปานามา
ขึ้นได้ดีในประเทศไทย แต่ยังไม่เป็นที่แพร่หลายนัก
การขยายพันธุ์ : แบ่งกอ
ประโยชน์ :
พืชต้นนี้มีความนิยมใช้เป็นไม้ตัดดอกสดและดอกไม้แห้งหรือปลูกเป็นไม้ประดับในที่มีร่มเงา
เพื่อดูดอกที่สวยงามแปลกตา
CIGAR FLOWER PLANT
ชื่อสามัญ : Cigar Flower Plant
ชื่อวิทยาศาสตร์ Calathea lutea (Aubl.) Mey.
วงศ์ : Marantaceae
ลักษณะทางพฤษศาสตร์
ไม้เนื้ออ่อน แตกเป็นกอ สูงได้ถึง 5 เมตร ใบกว้าง 0.7 เมตรยาวได้ถึง 1.7 เมตร
เรียบเกลี้ยงแผ่นใบรูปไข่ถึงรูปไข่กลับ สีเขียวเนื้อใบหนาเหมือนแผ่นหนัง
ด้านท้องใบเคลือบด้วยนวลแห้ง ก้านใบยาวได้ถึง 5-7 เซนติเมตร
กาบรองดอกเรียงซ้อนกันและแบนด้านหนึ่ง กาบรองดอกรูปไข่ ยาวได้ถึง 4
เซนติเมตรสีน้ำตาลปนแดงดอกสีเหลือง กลีบเลี้ยงมีปลายเว้ายาวได้ถึง 1 เซนติเมตร
กลีบดอกยาวได้ถึง 2.8 เซนติเมตร เกสรตัวผู้ที่ไม่สมบูรณ์อันนอกยาวได้ถึง 2
เซนติเมตร ผลเป็นแคปซูล มี 1 เมล็ด
นิเวศน์วิทยา : ปลูกในที่มีร่มเงาและความชื้นสูง
การกระจายพันธุ์ : มีถิ่นกำเนิดในเขตร้อนของอเมริกา
การขยายพันธุ์ : แบ่งกอ
ประโยชน์ : ปลูกเป็นไม้ตัดดอกหรือปลูกเป็นไม้ประดับ
ผู้แต่ง
จิรายุพิน จันทรประสงค์
คณะผู้จัดทำ
นายสมชาย สุคนธสิงห์ (ที่ปรึกษา)
นายโอฬาร พิทักษ์
นางภาวนา อัศวะประภา
นายทวีพงศ์ สุวรรณโร
นายเศรษฐพงศ์ เลขะวัฒนะ
นายอภิชาติ สุวรรณ