เทคโนโลยี นวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ วิศวกรรม เกษตรศาสตร์ >>
การเลี้ยงอูฐ
รัฐบาลได้กำหนดนโยบายให้กรมปศุสัตว์ดำเนินการที่จะส่งเสริมให้มีการเลี้ยงสัตว์เพื่อเป็นสัตว์เศรษฐกิจพันธุ์ใหม่และเห็นว่าอูฐนมเป็นสัตว์ที่น่าจะส่งเสริมให้กับเกษตรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือหรือในที่แห้งแล้งเนื่องจากอูฐเป็นสัตว์ที่สามารถอยู่ในสภาพแห้งแล้ง ใช้อาหารที่มีคุณภาพต่ำได้เป็นอย่างดีความต้องการพลังงานในการสร้างน้ำนมต่ำกว่าโคมาก นอกจากนี้อูฐยังเป็นสัตว์ที่มีอายุการใช้งานยาว ดังนั้นจึงได้มอบหมายให้กรมปศุสัตว์ได้นำอูฐนมจากประเทศออสเตรเลียเข้ามาเลี้ยง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อหาแนวทางการเลี้ยงและสายพันธุ์ที่เหมาะสมทั้งด้านเนื้อและนม โดยให้ทำการศึกษาวิจัยพันธุ์เพื่อทราบสมรรถภาพการผลิตของอูฐเพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรผู้สนใจต่อไป
โดยทั่วไป
อูฐเป็นสัตว์ซึ่งเลี้ยงในพื้นที่แห้งแล้งแบบทะเลทรายเพราะความสามารถในการปรับตัวให้อยู่ได้ในสภาพดังกล่าวได้เป็นอย่างดีกว่าสัตว์ประเภทอื่น
ในบริเวณที่มีการเลี้ยงสัตว์ประเภท โค กระบือ แพะ แกะ ส่วนมากจะมีความชื้นแฉะ
พื้นที่ที่เลี้ยงไม่เพียงพอและมักจะเป็นที่หมักของเชื้อโรคและพยาธิ
ในขณะที่อูฐจะสามารถเดินทางหาอาหารเป็นระยะทางไกลและมีความต้องการน้ำน้อย
ในฤดูแล้งจัด อูฐสามารถอดน้ำได้นานถึง 10-20 วัน ในขณะที่แพะ
แกะต้องการน้ำในระยะทุก 3-8 วัน และโคมีความต้องการน้ำทุก 2-3 วัน
อูฐสามรถให้นมได้แม้ว่าจะอยู่ในสภาพแห้งแล้งมากๆ ก็ตาม
ดังนั้นอูฐจึงเป็นสัตว์ที่เลี้ยงในเขตแห้งแล้งทะเลทราย
เพื่อผลผลิตน้ำนมด้วยนอกเหนือไปจากการใช้แรงงาน ในทางชีววิทยา
อูฐเป็นสัตว์ที่จัดอยู่ใน Order Artiodactyla, Suborder Tylopoda, Family Camelidae,
genus Camelus จัดแบ่งได้เป็นสอง species คือ Camelus bactrianus
ซึ่งเป็นอูฐที่มีสองตะโหนกและเป็นอูฐที่อยู่ในแถบหนาว และ Camelus dromedarius
ซึ่งเป็นอูฐที่เลี้ยงในที่ร้อนแห้งแล้งแบบทะเลทราย
อูฐเป็นสัตว์ที่มีการเลี้ยงมาตั้งแต่โบราณโดยเลี้ยงทางตอนใต้ของประเทศแถบอาหรับ
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้บริโภคเนื้อและนมเป็นหลัก และใช้บรรทุกของ ทำงาน
ขี่และใช้ประโยชน์จากหนังและขนด้วย
อูฐมีความสำคัญต่อชีวิตความเป็นอยู่ต่อชาวทะเลทรายเป็นอย่างมาก
โดยมีบทบาททั้งทางสังคมและประเพณีวัฒนธรรมด้วย เช่น
ในชนบางเผ่าเมื่อได้ลูกชายเด็กจะได้รับลูกอูฐเป็นของขวัญและพ่อแม่จะใส่สายสะดือเด็กไว้ในถุงและแขวนไว้ที่คออูฐหรือบางเผ่าจะให้เป็นของขวัญแต่งงาน
เป็นต้น
ปัจจุบันแห่งที่มีการเลี้ยงอูฐมากที่สุดในโลกคือประเทศซูดานโดยเลี้ยงไว้เพื่อใช้งาน
นอกจากนี้ได้มีการแพร่ขยายออกไปยังประเทศต่างๆ เช่นประเทศออสเตรเลีย
ได้นำอูฐไปเลี้ยงแพร่ขยายพันธุ์ในเขตทะเลทราย
»
ผลิตผลน้ำนมและคุณภาพน้ำนม
»
ผลิตภัณฑ์อื่นๆ จากอูฐ
»
อาหารและการจัดการเลี้ยงดู
»
การสืบพันธุ์
»
บทสรุป
เอกสารอ้างอิง
- Chamberlain, A., 1989. Milk Production in the Tropics. Longman
Scientific
and Technical.Intermediate Tropical Agiculture Series. London. - ISF, 1980. Proceedings of 1 st international Workshop on Camels.
Khartoum, Sudan,
December 1979. IFS Provisional Report 6. Int. Foundation for Sci. Stockholm. - Wilson, R.T., 1984. The camels. Longman, London.
- Yagil, R., 1982. Camels and camel milk. FAO Animal Prodn and Health.
Paper 26. FAO, Rome.
เรียบเรียงโดย อัญชลี ณ เชียงใหม่
พิมพ์เผยแพร่โดย กองบำรุงพันธุ์สัตว์ กรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์