เทคโนโลยี นวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ วิศวกรรม เกษตรศาสตร์ >>
โรคพี อาร์ อาร์ เอส
การติดต่อ
เชื้อไวรัสจะถูกขับออกมาจากร่างกายของสุกรป่วย ทางอุจาระปัสสาวะลมหายใจ และน้ำเชื้อ และติดต่อไปยังสุกรตัวอื่นโดยการกิน หรือการสัมผัสโดยตรง เช่น การดม การเลีย หรือการผสมพันธุ์ นอกจากนี้ยังสามารถติดต่อผ่านอากาศที่หายใจ หรือผ่านวัสดุ อุปกรณ์และเครื่องใช้ต่าง ๆ ภายในฟาร์มที่ปนเปื้อนเชื้อไวรัส
เชื้อไวรัสสามารถแพร่ระบาดจากฟาร์มหนึ่งไปยังอีกฟาร์มหนึ่งได้โดยการเคลื่อนย้ายสุกรป่วย หรือสุกรที่เป็นพาหะของโรคเข้ามารวมฝูง โดยทั่วไปพบว่าเชื้อไวรัสที่ถูกขับออกจากร่างกายสุกรป่วย สามารถแพร่กระจายจากจุดเกิดโรคไปในอากาศได้ไกลถึงรัศมี 3 กิโลเมตร และหากมีองค์ประกอบของแรงลมเข้ามาเกี่ยวข้อง อาจทำให้โรคแพร่กระจายได้ไกลขึ้น นอกจากนี้ยังพบว่า โรคสามารถแพร่ระบาดผ่านทางน้ำเชื้อของพ่อพันธุ์ไปยังฟาร์มอื่น ๆ ได้ โดยเฉพาะการผสมเทียม หรือแพร่เชื้อ ผ่านวัสดุ อุปกรณ์ หรือยานพาหนะ ที่ปนเปื้อนเชื้อไวรัส รวมทั้งนก หนู หรือบุคลากรจากฟาร์มหนึ่งไปอีกฟาร์มหนึ่ง ส่วนการแพร่เชื้อไวรัสผ่านเนื้อสุกรหรือผลิตภัณฑ์จากเนื้อสุกรยังไม่เป็นที่ชัดเจน
อาการ
โดยลำพังเชื้อไวรัสพี อาร์ อาร์ เอส เพียงอย่างเดียว ไม่สามารถทำให้สุกรแสดงอาการให้เห็นอย่างเด่นชัด แต่ต้องอาศัยปัจจัยอื่น ๆ มาประกอบกัน จึงทำให้แสดงอาการของโรคได้ อาการ และความรุนแรงของโรคขึ้นอยู่กับชนิดของเชื้อไวรัส การจัดการดูแลสุขภาพสัตว์ความสะอาดในฟาร์ม การถ่ายเทอากาศภายในโรงเรือน และสุขภาพของสุกรในฝูง
เมื่อมีการติดเชื้อไวรัส พี อาร์ อาร์ เอส ครั้งแรกในฟาร์ม
เชื้อจะแพร่ระบาดไปอย่างรวดเร็วสุกรพันธุ์จะแท้งในช่วงท้ายของการตั้งท้อง
มีลูกตายแรกคลอด หรืออ่อนแอ แคระแกร็น โตช้า
สุกรดูดนมจะมีปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ เชื้อไวรัสที่แพร่ระบาดในฟาร์มนี้จะกระตุ้น
ให้สุกรส่วนใหญ่สร้างภุมิคุ้มกัน หลังจากนั้นเชื้อจะแพร่ระบาดในฟาร์มอย่างช้า ๆ
การสูญเสียจะไม่รุนแรงส่วนใหญ่สร้างภูมิคุ้มกัน
หลังจากนั้นเชื้อจะแพร่ระบาดในฟาร์มอย่างช้า ๆ
การสูญเสียจะไม่รุนแรงส่วนใหญ่จะเป็นลักษณะแอบแฝง เช่น ผลผลิตต่ำ หรือ
มีการติดเชื้อแทรกซ้อนจากแบคทีเรียหรือไวรัสตัวอื่น ๆ
ซึ่งปัญหาที่พบหลังจากที่ผ่านการระบาดครั้งแรกมาแล้ว คือ
ปัญหาระบบทางเดินหายใจในสุกรหย่านม
เนื่องจากภูมิคุ้มกันโรคที่ได้รับถ่ายทอดจากแม่ลดลง
การวินิจฉัยโรค
การวินิจฉัยโรคโดยการตรวจหาภูมิคุ้มกัน โรคต่อเชื้อพี อาร์ อาร์ เอส
และการตรวจแยกพิสูจน์เชื้อ โดยการเก็บตัวอย่างซีรั่มจากแม่สุกรที่แท้งลูก
สุกรที่แท้งหรือตายแรกคลอด ซีรั่มของลูกสุกรป่วยหรืออวัยวะ เช่น ต่อมน้ำเหลือง
ทอนซิล ม้าม ปอด หรือส่งทั้งตัว โดยแช่เย็นในกระติกน้ำแข็ง และนำส่งทันที
ถ้าไม่สามารถส่งตรวจได้ในวันนั้น ให้เก็บแช่ช่องแข็งและควรส่งตรวจ ภายใน 3 วัน
โดยส่งตรวจได้ที่ สถาบันสุขภาพสัตว์แห่งชาติ กรมปศุสัตว์
การรักษา
เนื่องจากโรค พี อาร์ อาร์ เอส มีสาเหตุจากเชื้อไวรัสจึงยังไม่มียารักษาโดยเฉพาะ
การรักษาสุกรที่ป่วยโรคนี้ จึงเป็นการรักษาตามอาการป่วย
และการบำรุงร่างกายสัตว์ป่วย เช่น การให้สารเกลือแร่ วิตามิน
การเปลี่ยนสูตรอาหารที่ให้พลังงานสูง และให้ยาปฏิชีวนะ
เพื่อป้องกันการติดเชื้อแทรกซ้อน ซึ่งอาจให้โดยการฉีด ผสมน้ำ หรือผสมอาหาร
การป้องกันโรค
1. สุกรที่จะนำเข้ามาทดแทนในฝูง ควรมาจากแหล่งที่ปลอดเชื้อไวรัสพี อาร์ อาร์ เอส
2. ก่อนจะนำสุกรใหม่เข้ามารวมฝูง ควรทำการกักกันอย่างน้อย 2 ขั้นตอน คือ กักที่ต้นทางก่อนการเคลื่อนย้าย และกักที่ปลายทางก่อนนำเข้ารวมฝูง ซึ่ง ระหว่างที่กักควรสุ่มตรวจหาโรค โดยวิธีทางซีรั่มวิทยาด้วย
3. จำกัดและควบคุมการเข้าออกฟาร์ม โดยอาจให้มีการเปลี่ยนเสื้อผ้า หรือพ่น น้ำยาฆ่าเชื้อก่อนเข้าฟาร์ม
4. ปัจจุบัน วัคซีนสำหรับป้องกันโรคพี อาร์ อาร์ เอส ที่มีอยู่ ยังมีข้อจำกัดใน การใช้อยู่หลายประการ ซึ่งเกษตรกรควรคำนึงถึง ดังนี้
- ราคาแพง ดังนั้นควรคำนึงถึงความคุ้มทุน โดยเปรียบเทียบค่าใช้จ่ายในการทำวัคซีน และความสูญเสียที่จะเกิดขึ้นกรณีที่ไม่ใช้วัคซีน เพราะโรคนี้ หากมีการจัดการที่ดี จะไม่ทำให้ เกิดอาการที่รุนแรง
- ชนิดของเชื้อที่นำมาทำวัคซีน หากไม่ใช่เชื้อชนิดเดียวกัน หรือใกล้เคียงกับชนิดที่ทำให้เกิดโรคในฟาร์มจะให้ภูมิคุ้ม กันโรคที่ไม่ดี
- ภูมิคุ้มกันที่เกิดขึ้นและตรวจพบจากซีรั่มไม่สามารถแยก ได้ว่าเกิดจากวัคซีนหรือการติดเชื้อ
- วัคซีนที่ผลิตจากเนื้อเยื่อที่ไม่บริสุทธิ์ อาจนำโรคอื่น ๆ ติด มาถึงสุกรได้
- การใช้วัคซีนเชื้อเป็นเชื้อไวรัสสามารถผ่านออกมาทางน้ำ เชื้อได้เป็นเวลานาน และอาจมีผลให้ตัวอสุจิมีรูปร่างผิดปกติและเคลื่อนไหวช้าลง นอกจากนี้ในสุกรอุ้มท้อง อาจผ่านรกไปถึงลูกอ่อน ทำให้เกิดการติดเชื้อในลูกอ่อนได้