เทคโนโลยี นวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ วิศวกรรม เกษตรศาสตร์ >>
การตรวจสุขภาพสัตว์เบื้องต้น
โดย สพญ.ภาวิณี วงศ์สนสุนีย์
สุขภาพสัตว์ปกติ
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสุขภาพสัตว์ที่ปกติ
ซึ่งผู้เลี้ยงสัตว์อาจต้องเรียนรู้เพื่อให้การเลี้ยงสัตว์ประสบผลสำเร็จ และอยู่รอด
ได้มีดังนี้
1. การหายใจ
การหายใจของสัตว์นั้น จะสังเกตได้จากการเคลื่อนที่ขึ้น-ลงของทรวงอกอย่างสม่ำเสมอ และอัตราการหายใจปกติของสัตว์แต่ละประเภท มีค่าดังนี้
โค 27-40 ครั้งต่อนาที
แพะ 12-20 ครั้งต่อนาที
แกะ 12-20 ครั้งต่อนาที
สุกร 8-13 ครั้งต่อนาที
กระต่าย 32-60 ครั้งต่อนาที
หมายเหตุ การเคลื่อนที่ขึ้นและลงของทรวงอก นับเป็น 1 ครั้ง
อัตราการหายใจอาจจะเพิ่มขึ้นกว่าปกติเล็กน้อย
ถ้าสภาพอากาศร้อนหรือสภาพโรงเรือนอับชื้น
ซึ่งสาเหตุเนื่องจากสัตว์ต้องการระบายความร้อนออกจากร่างกายทางลมหายใจ
ให้มากขึ้นหรือสัตว์ต้องการอากาศหายใจมากขึ้น
เนื่องจากสภาพแวดล้อมมีการถ่ายเทอากาศได้น้อย
2. การเต้นของหัวใจ
สามารถตรวจได้โดยการจับชีพจรที่เส้นเลือดแดง บริเวณใต้ขากรรไกรล่าง
ซึ่งอัตราการเต้นของหัวใจหรือ ชีพจรปกติของสัตว์แต่ละประเภทมีค่าดังนี้
โค 60-100 ครั้งต่อนาที
แพะ 70-80 ครั้งต่อนาที
แกะ 70-80 ครั้งต่อนาที
สุกร 60-80 ครั้งต่อนาที
กระต่าย 140-150 ครั้งต่อนาที
3. อุณหภูมิของร่างกายสัตว์
สามารถตรวจได้โดยใช้ปรอทวัดไข้สอดเข้าที่รูทวารหนัก (ก่อนสอดปรอทวัดไข้เข้ารูทวารหนักจะต้องสะบัดแรง ๆ ให้ปรอทไหลลงไปในส่วนกะเปาะของปรอทวัดไข้เสียก่อน) โดยสอดปรอทวัดไข้เข้าให้ลึกประมาณ 1.5-2 นิ้ว ให้ปลายของปรอทวัดไข้แตะกับผนังของลำไส้ใหญ่นานประมาณ 1 นาที แล้วจึงดึงออกมาอ่านค่า ซึ่งอุณหภูมิของร่างกายสัตว์ปกติแต่ละประเภท จะมีค่าดังนี้
โค,กระบือ 100-102.8 องศาฟาเรนไฮต์
แพะ 101.7-105.3 องศาฟาเรนไฮต์
แกะ 100.9-103.8 องศาฟาเรนไฮต์
สุกร 102-103 องศาฟาเรนไฮต์
กระต่าย 102-103 องศาฟาเรนไฮต์
ถ้าสภาพอากาศแวดล้อมร้อน อาจมีผลต่ออุณหภูมิของร่างกายสัตว์ปกติ คือสามารถทำให้อุณหภูมิของร่างกายสัตว์สูงขึ้นกว่าปกตินอกจากนั้นยังมีผลทำให้อัตราการหายใจเพิ่มมากขึ้นกว่าปกติด้วย ซึ่งอาจจะเป็นสาเหตุทำให้สัตว์เจ็บป่วยได้ง่ายขึ้น หรือช็อคตายได้ในกรณีที่ระบบการควบคุมอุณหภูมิของร่างกายสัตว์เสียไป มักพบเสมอในสุกรที่โตเร็วหรือตะโพกใหญ่
4. การสืบพันธุ์
ระบบสืบพันธุ์เป็นระบบที่สำคัญมากที่สุดของสัตว์เศรษฐกิจ โดยเฉพาะสัตว์เพศเมียประเภทโคกระบือ เพราะสัตว์ประเภทนี้สามารถให้ลูกได้เพียง 1 ตัวต่อไป และต้นทุนการเลี้ยงต่อตัวก็สูงมากด้วย ระบบสืบพันธุ์ของสัตว์เพศเมียแต่ละประเภท จะเริ่มสมบูรณ์เพศ หรือสมบูรณ์พันธุ์ เมื่อ
โค อายุ 12-18 เดือน
แพะ อายุ 7-10 เดือน
แกะ อายุ 8-12 เดือน
สุกร อายุ 4-9 เดือน
กระต่าย อายุ 5-6 เดือน
ช่วงระยะเวลาการแสดงอาการเป็นสัด หรือเจ๊า
โค นาน 13-15 ชั่วโมง
แพะ นาน 2-8 ชั่วโมง
แกะ นาน2-4 ชั่วโมง
สุกร นาน2-3 ชั่วโมง
กระต่าย นาน12-14 ชั่วโมง
ไข่ในรังไข่จะสุกและตกไข่เมื่อ
โค ตกไข่ภายหลังจากการเป็นสัตว์สิ้นสุดแล้ว 12-16 ชั่วโมง
แพะ ตกไข่ภายหลังการเป็นสัดแล้วนาน 33 ชั่วโมง
แกะ ตกไข่ในวันสุดท้ายของการเป็นสัด
สุกร ตกไข่ภายหลังจากเริ่มแสดงอาการเป็นสัดแล้วนาน 24-36 ชั่วโมง
กระต่าย ควรกระตุ้นให้ตกไข่ภายหลังจากเริ่มแสดงอาการเป็นสัดแล้วนาน 6-8 วัน
ช่วงเวลาที่ตกไข่จะเป็นช่วงที่เหมาะที่สุดสำหรับการผสมพันธุ์
ถ้าผสมพันธุ์ไม่ติด สัตว์จะแสดงอาการกลับสัดหรืออาการเป็นสัด
(เจ๊า)ให้เห็นอีกภายหลังจากการผสมพันธุ์แล้วเป็นระยะเวลาตามประเภทของสัตว์ดังนี้
โค เฉลี่ย 21 วัน (18-24 วัน)
แพะ เฉลี่ย 20 วัน (12-24 วัน)
แกะ เฉลี่ย 17 วัน (12-19 วัน)
สุกร เฉลี่ย 21 วัน (14-26 วัน)
กระต่าย เฉลี่ย16 วัน
ภายหลังจากการคลอดลูก
สัตว์แสดงอาการเป็นสัดหรือเจ๊าให้เห็นเป็นระยะเวลาตามประเภทของสัตว์ดังนี้
แม่โค ภายหลังจากการคลอดลูกแล้วนาน 41-60 วัน
แม่แพะและแม่แกะ ภายหลังจาการคลอดลูกแล้ว 60-150 วัน (ถ้าไม่มีการดูดนมของลูก)
แต่แม่สุกรและแม่กระต่ายจะต่างจากแม่โค แพะและแกะ
คือจะแสดงอาการเป็นสัดภายหลังหย่านม ดังนี้
แม่สุกร ภายหลังจากการหย่านมแล้วนาน 7-15 วัน
แม่กระต่าย ภายหลังจากการหย่านมแล้วนาน 2-3 วัน
ระยะเวลาการอุ้มท้องหรือตั้งท้องของสัตว์แต่ละประเภท มีดังนี้
โค นานประมาณ 282 วัน (274-291 วัน)
แพะ นานประมาณ 148 วัน
แกะ นานประมาณ 140-160 วัน
สุกร นานประมาณ 114 วัน (110-116 วัน)
กระต่าย นานประมาณ 30-32 วัน
สัตว์แต่ละประเภทจะแสดงอาการเป็นสัด (เจ๊า) คล้าย ๆ กัน อาการที่พบบ่อยๆ คือ
สัตว์จะมีอาการกระวนกระวาย ร้อง ปัสสาวะบ่อยครั้ง ปีนป่ายสัตว์ตัวอื่น
หรือปีนป่ายกรงโดยเฉพาะสุกร กินอาหารน้อยลง
และถ้าสังเกตที่อวัยวะเพศจะพบอาการบวมแดง
หรือถ้าไม่พบอาหารบวมแดงให้เปิดดูภายในอวัยวะเพศ
จะเห็นเยื่อบุผิวภายในของปากช่องคลอดมีสีชมพูอมแดง
และมีน้ำเมือกใสเคลือบอยู่ที่เยื่อบุผิวด้วย
โดยเฉพาะแม่โคจะสังเกตเห็นได้อย่างชัดเจน
โดยมีน้ำเมือกใสจะไหลเยิ้มออกมาจากช่องเพศเกาะกันเป็นสายยาวออกมา
5. เยื่อตาและเหงือก สัตว์ที่มีสุขภาพดี เมื่อเปิดดูที่เยื่อและเหงือกจะมีสีชมพูอ่อน
6. ลูกตา ปกติลูกตาจะใสวาว สนใจและตื่นเต้นกับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง
7. จมูก สัตว์ที่มีสุขภาพดี บริเวณปลายจมูกจะชื้นอยู่ตลอดเวลา
8. ผิวหนังและขน จะดูเรียบเป็นเงามัน
9. การขับถ่ายอุจาระ อุจจาระจะมีลักษณะไม่แข็งเป็นก้อนหรือเป็นเม็ด (ยกเว้นกระต่าย หรือเหลวเป็นน้ำ และสีของอุจจาระจะมีสีเขียวแก่หรือสีดำ ซึ่งขึ้นอยู่กับอาหารที่สัตว์กินเข้าไป
10. การขับถ่ายปัสสาวะ ปัสสาวะจะมีสีเหลืออ่อนหรือไม่มีสีและใส
11. การกินอาหาร เมื่อถึงเวลากินอาหาร สัตว์จะแสดงอาการกระวนกระวายที่จะได้กินอาหาร
12. การกินน้ำ สัตว์จะกินน้ำตลอดเวลา โดยเฉพาะสัตว์ที่เลี้ยงลูก หรืออยู่ในระยะให้นมจะต้องการน้ำมากขึ้นกว่าปกติ
13. ความสนใจกับสภาพแวดล้อม สัตว์ที่มีสุขภาพดีจะสนใจหรือตกใจง่าย หรือตื่นเต้นกับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว
»
สุขภาพสัตว์ปกติ
»
สุขภาพสัตว์ป่วย
»
โรคต่าง ๆที่พบโดยทั่วไป