เทคโนโลยี นวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ วิศวกรรม เกษตรศาสตร์ >>
การเลี้ยงกวาง
การจัดการเลี้ยงกวาง
กวางที่มีถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศไทย และมีการเลี้ยงกันไว้ดูเล่น ได้แก่ เนื้อทราย และกวางป่าหรือกวางม้า มีอยู่น้อยมาก มีเกษตรกรที่เลี้ยงกวางป่าเพื่อตัดเขาอ่อนจำหน่ายได้ราคาสูงถึง 12,000 บาท/กก. และกวางป่าน่าจะเป็นพันธุ์ที่เหมาะสมในการเพาะเลี้ยงในประเทศไทย แต่ข้อจำกัดคือ ไม่สามารถจะหากวางป่าจำนวนมากพอที่จะมาเริ่มต้นในการศึกษาวิจัยและพัฒนาการเลี้ยงเพื่อเป็นการค้า และในปัจจุบันได้มีเอกชนหลายๆ รายที่มีความสนใจในการเลี้ยงกวาง ได้รวมตัวกันจัดตั้งเป็นสหกรณ์กวางแห่งประเทศไทย จำกัดขึ้น และได้มีการนำกวางพันธุ์รูซ่า เข้ามาจากประเทศนิวคาลิโดเนีย ซึ่งในด้านวิชาการแล้วเห็นว่ากวางพันธุ์รูซ่าน่าจะเป็นพันธุ์ที่เหมาะสมกับการเลี้ยงขยายพันธุ์ในประเทศ เพราะเป็นกวางที่มีถิ่นกำเนิดในเขตร้อนและสามารถผสมข้ามพันธุ์ในประเทศ เพราะเป็นกวางที่มีถิ่นกำเนิดในเขตร้อนและสามารถผสมข้ามพันธุ์กับกวางป่าได้
กวางพันธุ์รูซ่า มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินโดเนียเซีย ถูกนำไปเลี้ยงและแพร่ขยายพันธุ์ในประเทศนิวคาลิโดเนีย และออสเตรเลียที่นิวคาลิโดเนียมีฟาร์มกวางรูซ่า (ชวารูซ่า) ประมาณ 1,000 ฟาร์ม มีกวางเลี้ยงอยู่ประมาณ 150,000 ตัว สำหรับที่ออสเตรเลียมีกวางรูซ่าน้อยกว่าและเป็นสายพันธุ์ เรียกว่า โมลัดกันรูซ่า ซึ่งมีขนาดเล็กกว่ากวางชวารูซ่า กวางรูซ่าอายุ 2 ปี เพศผู้มีน้ำหนัก 50-100 กก. เริ่มผสมพันธุ์เมื่ออายุ 2 ปี และใช้งานได้เต็มที่เมื่ออายุ 3 ปี และเพศเมียมีน้ำหนัก 50-60 กก. อายุเริ่มเป็นสาวเมื่ออายุ 13 เดือน หรือมีน้ำหนักประมาณ 45 กก. มีวงรอบการเป็นสัด 17 วัน และเป็นสัดตลอดทั้งปี ระยะอุ้มทอง 233 วัน การผสมพันธุ์ขึ้นอยู่กับน้ำหนักตัวกวางพันธุ์รูซ่าจะมีอัตราการผสมติดต่ำมาก ถ้าน้ำหนักต่ำกว่า 40 กก. แต่จะมีอัตราการผสมติดสูงกว่า 90% เมื่อมีน้ำหนักตัวมากกว่า 50 กก. ให้ลูกตัวแรกอายุ 2-3 ปี ครั้งละ 1 ตัว
โดยทั่วไปกวางต้องการพืชอาหารสัตว์ วันละ 2 กก./ตัว (วัตถุแห้ง) คิดเป็นน้ำหนักสดจะกินวันละ 10-15 กก./ตัว ลักษณะการกิจของกวางรูซ่าจะใกล้เคียงกับแพะ คือกินทั้งหญ้าและใบไม้ต่างๆ จึงเป็นสัตว์ที่เลี้ยงง่าย เนื้อกวางรูซ่ามีไขมันน้อยและละเอียดคล้ายเนื้อเก้ง มีเปอร์เซ็นต์ซากสูงมาก โดยเฉลี่ยประมาณ 58% ข้อที่จะเป็นประโยชน์ในการนำกวางรูซ่าเข้ามาเลี้ยงคือ สามารถที่จะผสมข้ามพันธุ์กับกวางป่าได้ โดยการใช้กวางป่าเป็นพ่อพันธุ์ และรูซ่าเป็นแม่พันธุ์ ซึ่งโดยทั่วๆ ไปกวางลูกผสมจะแข็งแรงกละโตเร็วขึ้นกว่าสายพันธุ์เดิมประมาณ 18% ดังนั้นจึงเชื่อได้ว่าจะสามารถเลี้ยงกวางลูกผสม เพื่อผลิตเขากวางอ่อนได้ทุกๆ ปี (กวางเพศผู้เริ่มมีเขาเมื่ออายุ 2 ปีเศษ) น้ำหนักของเขาประมาณ 2 กก. และจะเพิ่มมากขึ้นเมื่อกวางมีอายุแก่ขึ้น
ดังนั้น ในฐานะที่กรมปศุสัตว์เป็นหน่วยงานหลักของรัฐ ในการพัฒนาด้านปศุสัตว์ของประเทศ จึงจำเป็นต้องทำการศึกษาและวิจัยในด้านต่างๆ เพื่อให้ทราบข้อมูลรายละเอียดทั้งด้านการจัดการฟาร์มต้นทุนการผลิต ผลตอบแทนด้านการตลาด ตลอดจนสามารถพัฒนาเทคโนโลยีการเลี้ยงกวางเพื่อสามารถผลิตเนื้อกวาง เขากวางอ่อนและผลิตผลอื่นๆ ตอบสนองความต้องการของตลาดโลกได้ เมื่อมองในอนาคตของการผลิตปศุสัตว์แล้ว "กวาง" จะเป็นสัตว์เศรษฐกิจตัวใหม่ที่น่าสนใจ ซึ่งจะเป็นการเพิ่มทางเลือกของเกษตรกร และสอดคล้องกับแผนปรับโครงสร้างและระบบการผลิตการเกษตร ตามนโยบายของรัฐบาลในปัจจุบัน
»
การจัดการเลี้ยงกวาง
»
ความหนาแน่นในการเลี้ยงกวาง
»
การให้อาหารกวาง
»
พันธุ์กวาง
»
ผลผลิต ราคาจำหน่าย และการตลาด
»
การลงทุน
»
ข้อจำกัดบางประการ
»
โรคที่พบในกวาง
»
การป้องกันโรค
- จัดทำโดย
กองปศุสัตว์สัมพันธ์ กรมปศุสัตว์