เทคโนโลยี นวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ วิศวกรรม เกษตรศาสตร์ >>
ส้มโอ
กรมส่งเสริมการเกษตร
วิธีตอนกิ่ง
เมื่อเลือกได้กิ่งที่สมบูรณ์ตามต้องการแล้ว จึงทำการ ควั่นกิ่ง การควั่นนั้นให้ควั่นที่ใต้ข้อของกิ่งเล็กน้อย เนื่องจาก บริเวณข้อของกิ่งจะสะสมอาหารไว้มาก ทำให้การงอกของ รากเร็ว และได้รากจำนวนมาก รอยควั่นด้านล่างห่างจาก รอยควั่นบนเท่ากับความยาวของเส้นรอบวงของกิ่ง กรีดที่ เปลือกระหว่างรอยควั่นทั้งสอง ลอกเปลือกตรงรอยควั่นออก ส่วนมากแล้วกิ่งที่ลอกเปลือกออกได้ง่ายจะงอกรากได้เร็วกว่า กิ่งที่ลอกเปลือกออกยาก ใช้มีดขูดเยื่อเจริญซึ่งมีลักษณะเป็น เยื่อลื่นๆ ออกให้หมด เพื่อป้องกันไม่ให้เยื่อเจริญมาประสานกัน ต่อได้อีก ซึ่งจะทำให้รากไม่งอก สังเกตได้โดยใช้มือจับดู ถ้าหาก ลื่นแล้วแสดงว่าขูดเยื่อเจริญออกหมดแล้ว
นำถุงขุยมะพร้าวที่เตรียมไว้มาผ่าตรงกลาง จากด้านที่ มีเชือกมัดจนถึงก้นถุงใช้มือแหวกขุยมะพร้าวให้แยกออกเป็นร่อง นำไปหุ้มรอยควั่น พร้อมกับมัดด้วยเชือกฟางให้แน่นอย่าให้ ถุงขุยมะพร้าวหมุนได้
การตัดกิ่งตอน
ในสภาพปกติแล้ว ส้มโอจะงอกรากหลังจากทำการ ตอนประมาญ 1 เดือน ส่วนการตัดกิ่งตอนนั้นจะตัดเมื่อไร ให้สังเกตจากรากที่งอกออกมา โดยจะทำการตัดได้เมื่อรากที่ งอกออกจากกิ่งตอนเป็นสีน้ำตาลและมีรากสีขาวแตกออกมา อีกทีจึงจะตัดได้ เพราะรากฝอยหรือรากสีขาวนั้นเป็นรากดูด อาหารควรตัดกิ่งตอนในตอนเย็นเพราะเป็นระยะที่ใบหยุด การคายน้ำ กิ่งกะไม่เหี่ยวหรือเฉาได้ง่าย ควรตัดใบและกิ่งที่มี มากเกินไปทิ้งบ้าง เพื่อปีองกันการระเหยของน้ำ แช่กิ่งตอน ในน้ำให้น้ำท่วมตุ้มตอน สัก 1- 2 ชั่วโมง จึงนำไปชำต่อไป
»
พันธุ์ส้มโอ
»
การขยายพันธุ์ส้มโอ
»
ระยะปลูก
»
วิธีปลูก
»
การกักน้ำส้มโอเพื่อช่วยในการออดอก
»
ผลผลิตและการเก็บเกี่ยว
»
สภาพดินฟ้าอากาศ
»
วิธีตอนกิ่ง
»
การปลูก
»
การดูแลรักษา
»
การป้องกันน้ำเค็มและน้ำเสีย
»
ประโยชน์ของส้มโอ
»
การป้องกันกำจัดศัตรูส้มโอ
»
โรคของส้มโอ