เทคโนโลยี นวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ วิศวกรรม เกษตรศาสตร์ >>
การปลูกมะขาม
กรมส่งเสริมการเกษตร
พันธุ์มะขาม
สามารถจำแนกมะขามออกเป็นมะขามหวานและมะขามเปรี้ยว สำหรับมะขามหวานที่พบเห็นและปรากฎอยู่ทุกวันนี้มีอยู่มากกว่า 20 พันธุ์ บางพันธุ์อาจจะมีลักษณะและรูปร่างคล้ายคลึงกัน เจ้าของมะขามจะตั้งชื่อขึ้นมาเอง โดยเอาแหล่งปลูกหรือชื่อเจ้าของนั้นตั้งเป็นชื่อพันธุ์ ดังจะเห็นได้จากมีการประกวดมะขามหวานตามจังหวัดต่าง ๆ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งพบว่ามีพันธุ์ใหม่เกิดขึ้นอยู่เสมอ ๆ เมื่อรวบรวมแล้วศึกษาลักษณะและคุณสมบัติประจำพันธุ์แล้ว พบว่ามีพันธุ์มะขามหวานอยู่เพียงไม่กี่พันธุ์ แต่อย่างไรก็ดี พอจะอนุโลมเรียกชื่อพันธุ์ตามที่มีอยู่ดังต่อไปนี้
- พันธุ์หมื่นจง อยู่ที่ อ.หลุ่มเก่า จังหวัดเพชรบูรณ์ ชนะเลิศการประกวดที่จังหวัดเพชรบูรณ์ ปี 2513
- พันธุ์สีทอง อยู่ที่ อ.หล่มเก่า จังหวัดเพชรบูรณ์ เคยได้รับรางวัลชนะเลิศการประกวดที่เพชรบูรณ์ ปี 2518
- พันธุ์ศรีชมพู อยู่ที่ไร่ศรีชมพู อ.เมือง จ.เพชรบูรณ์ ชนะเลิศการประกวดที่เพชรบูรณ์ ปี 2520-21
- พันธุ์น้ำผึ้ง อยู่ที่ไร่คุณประจักษ์ บ้านยาวี ต.วังชมภู อ.เมือง จ.เพชรบูรณ์ ชนะการประกวดมะขามหวานของเพชรบูรณ์ ปี 2524-25
- พันธุ์น้ำดุกหรือปากดุก อยู่ที่บ้านปากดุก อ.หลุ่มเก่า จ.เพชรบูรณ์
- พันธุ์ขันตี อยู่ที่ อ.เมือง จ.เพชรบูรณ์
- พันธุ์อินทผาลัม อยู่ที่ อ.หลุ่มเก่า จ.เพชรบูรณ์
- พันธุ์แจ้ห่ม (นายป๋น) อยู่ที่ อ.แจ้ห่ม จ.ลำปาง
- พันธุ์เจ้าห่ม (ครูประชาสาร) อยู่ที่ อ.แจ้ห่ม จ.ลำปาง
- พันธุ์มหาจรูญ อยู่ที่บ้านหนองตะโพน อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี
- พันธุ์ครูอินทร์ อยู่ที่บ้านนาทราย ต.พระสาน อ.เขมราฐ จ.อุบลราชธานี
- พันธุ์ไผ่ใหญ่ อยู่ที่บ้านไผ่ใหญ่ อ.ม่วงสามสิบ จ.อุบลราชธานี
- พันธุ์พระโรจน์ อยู่ที่บ้านพระโรจน์ ต.หนองช้างใหญ่ อ.ม่วงสามสิบ จ.อุบลราชธานี
- พันธุ์ครูบัวพันธุ์ อยู่ที่บ้านบัวเทิง อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี
- พันธุ์ส้มป่อย อยู่ที่ อ.มุกดาหาร จ.นครพนม
- พันธุ์นิ่มนวล อยู่ที่ อ.ธาตุพนม จ.นครพนม
- พันธุ์นาศรีนวล อยู่ที่ อ.ดอนตาล จ.นครพนม
- พันธุ์นวลละออง อยู่ที่กิ่ง อ.นาหว้า จ.นครพนม
นอกจากนี้ก็ยังมีพันธุ์อื่น ๆ เช่น พันธุ์นากว้าง, กงสะเด็น, หลังแตก, เจ้าเนื้อเศรษฐกิจ (เมล็ดลีบ) เป็นต้น
สำหรับมะขามเปรี้ยวยังไม่มีการจำแนกพันธุ์ ศูนย์วิจัยพืชสวนศรีสะเกษจึงได้ทำการรวบรวมและศึกษาพันธุ์มะขามเปรี้ยว ตั้งแต่ปี 2526 โดยได้ตั้งหลักเกณฑ์การคัดเลือกพันธุ์มะขามเปรี้ยวไว้ดังนี้
- ลักษณะทรงพุ่ม กระทัดรัด ทรงพุ่มโปร่งเป็นทรงกระบอกหรือครึ่งวงกลม
- ฝักใหญ่ ตรง ความยาวไม่น้อยกว่า 10 เซนติเมตร เปลือกหนา และฝักไม่แตก
- เนื้อมาก มีเนื้อ 50-55 เปอร์เซ็นต์ มีเมล็ด 33.9 เปอร์เซ็นต์ เปลือกกับรก (Placenta) มี 11.1 เปอร์เซ็นต์ เนื้อมีสีอำพัน
- มีเปอร์เซ็นต์กรดทาร์ทาริค (Tartaric acid) สูงประมาณ 13.65-20 เปอร์เซ็นต์
- การเจริญเติบโตดี ติดฝักสม่ำเสมอ
ซึ่งผลการศึกษาเมื่อมะขามเปรี้ยวอายุ 5 ปี ให้ผลผลิตเป็นปีที่ 3 พบว่าต้นแม่พันธุ์ ศก. 019 ให้ผลผลิตสูงสุดเฉลี่ย 18.74 กิโลกรัม/ต้น รองลงมาคือแม่พันธุ์ ศก.018, ศก.02 โดยให้ผลผลิตเฉลี่ย 12.91 และ 11.64 กิโลกรัม/ต้น ตามลำดับ และคาดว่าอีกไม่นาน ศูนย์วิจัยพืชสวนศรีสะเกษ จะสามารถคัดเลือกได้มะขามเปรี้ยวพันธุ์ดีสำหรับแนะนำให้เกษตรกรปลูก และเสนอเป็นพันธุ์รับรองของกรมวิชาการเกษตรต่อไป
»
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
»
ลักษณะของฝัก
»
พันธุ์มะขาม
»
ดินปลูกมะขาม
»
การขยายพันธุ์
»
การปลูกมะขาม
»
การดูแลรักษา
»
โรคและแมลงที่พบเสมอในการปลูกมะขาม
»
ผลผลิต
»
การดูแลรักษาต้นมะขามหลังการเก็บเกี่ยว