เทคโนโลยี นวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ วิศวกรรม เกษตรศาสตร์ >>
ลองกอง
การปฏิบัติดูแลลองกองในช่วงที่ให้ผลผลิตแล้ว
เพื่อให้ได้ผลผลิตลองกองในปริมาณและคุณภาพที่ดี เกษตรกรต้องมีการจัดการต่อต้นลองกองในขั้นตอนต่าง ๆ อย่างถูกต้อง ทั้งการจัดการเพื่อให้ต้นมีความสมบูรณ์พร้อมที่จะออกดอก การจัดการเพื่อชักนำให้ออกดอก และกระตุ้นการพัฒนาการของตาดอก การจัดการเพื่อเพิ่มปริมาณและคุณภาพของผลผลิต ตลอดจนการเก็บเกี่ยวอย่างถูกวิธี
การเตรียมต้นลองกองให้พร้อมที่จะออกดอก
คือการเตรียมต้นลองกองให้สมบูรณ์ มีการสะสมอาหารเพียงพอต่อการออกดอก
และให้ผลผลิตที่ดีในฤดูกาลถัดไป
ซึ่งสังเกตได้ว่าต้นลองกองจะมีใบที่สมบูรณ์มีสีเขียวสดใส
เป็นมันตามธรรมชาติปริมาณหนาแน่นพอสมควร และไม่มีโรคแมลงทำลาย
โดยภายหลังเก็บเกี่ยวลองกองควรจะแตกใบอ่อน 2 ชุด ใบอ่อนจะใช้เวลาประมาณ 30-50 วัน
เพื่อพัฒนาเป็นใบแก่ การแตกใบชุดที่สองจะมีปริมาณมากกว่าชุดแรก
เมื่อใบชุดที่สองนี้พัฒนาเป็นใบแก่ โดยปกติจะหมดฤดูฝนพอดี
เมื่อลองกองพบกับสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมคือ มีช่วงแล้งติดต่อกันนานประมาณ 40-50 วัน
ลองกองก็จะออกดอก
ขั้นตอนต่าง ๆ ในการเตรียมต้นลองกองให้พร้อมที่จะออกดอก มีดังนี้
- การตัดแต่งกิ่ง
เกษตรกรควรรีบปฏิบัติทันทีหลังเก็บเกี่ยวเพื่อเป็นการควบคุมทรงพุ่ม
และปรับปริมาณแสงให้ใบทุกใบมีโอกาสได้รับแสงอย่างทั่วถึง
รวมทั้งช่วยให้ทรงพุ่มโปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวก ไม่เป็นที่สะสมของโรคและแมลง
โดยเลือกตัดกิ่งแห้ง กิ่งแขนงภายในทรงพุ่ม กิ่งเป็นโรครวมทั้งขั่วผลที่ติดอยู่ทิ้งไป
และอาจจำเป็นต้องมีการตัดแต่งกิ่งครั้งที่สอง
ถ้าหากพบว่ามีกิ่งน้ำค้างหรือกิ่งกระโดงแตกออกมาใหม่หลังจากการตัดแต่งกิ่งครั้งแรก
เพราะกิ่งและใบเหล่านี้จะใช้อาหารมากกว่าทำหน้าที่สร้างอาหาร
- การใส่ปุ๋ยบำรุงต้น หลังตัดแต่งกิ่งเสร็จให้กำจัดวัชพืช และใส่ปุ๋ยโดยเร็ว
เพื่อเร่งการแตกใบอ่อน โดยใส่ทั้งปุ๋ยคอกและปุ๋ยเคมี
ปุ๋ยคอก 15-50 กก.ต่อต้น
ปุ๋ยเคมีสู 15-15-15 หรือ 16-16-16 ประมาณ 3-5 กก.ต่อต้น
(ปริมาณที่แน่นอนของแต่ละต้นให้พิจารณาจากอายุและขนาดของต้น ความสมบูรณ์ของต้น และปริมาณผลผลิตที่เก็บเกี่ยวไปในฤดูกาลที่ผ่านมา)
ถ้าพบว่าลองกองแตกใบอ่อนไม่สม่ำเสมอภายในต้นเดียวกัน หรือใบ
อ่อนแตกช้า ควรเร่งการแตกกใบอ่อนโดยการฉีดพ่นใบด้วยปุ๋ยยูเรีย (46-0-0) อัตรา 100 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร
- การให้น้ำ ควรมีการให้น้ำอย่างสม่ำเสมอเพื่อกระตุ้นการพัฒนาของใบ
- การป้องกันกำจัดศัตรูพืช ช่วงนี้ความชื้นในอากาศสูงจะพบโรคราสีชมพู โรคราสีขาว ทำลายกิ่ง ลำต้น และใบ หนอนชอนใบ และที่สำคัญที่สุดคือ หนอนชอนใต้ผิวเปลือก ควรหมั่นตรวจสอบและทำการป้องกันกำจัดอยู่เสมอ
»
สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม
»
พันธุ์
»
การขยายพันธุ์
»
การปลูก
»
การปฏิบัติดูแลต้นลองกองหลังปลูก
»
การกำจัดวัชพืช
»
การปฏิบัติดูแลลองกองในช่วงที่ให้ผลผลิตแล้ว
»
การกระตุ้นการออกดอกและเร่งการพัฒนาของช่อดอก
»
การจัดการเพื่อเพิ่มปริมาณและปรับปรุงคุณภาพผลผลิตของลองกอง
»
การใส่ปุ๋ยบำรุงผล
»
การป้องกันกำจัดศัตรูพืช
»
การเก็บเกี่ยวและการเก็บรักษาช่อผลลองกอง
»
โรคแมลงและการป้องกันกำจัด