เทคโนโลยี นวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ วิศวกรรม เกษตรศาสตร์ >>
การตีราคารังไหม
ปัจจัยที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับระบบการกำหนดราคารังไหม
เกษตรกรผู้เลี้ยงไหมเพื่อการจำหน่ายรังไหมแก่โรงงานสาวไหมหรือบริษัฑ
ผู้รับซื้อรังไหมจะต้องมีการพิจารณาปัจจัยต่างๆ ที่มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงกับ
ระบบการกำหนดราคารังไหม ซึ่งเป็นผลประโยชน์โดยตรงกับเกษตรกร หาก เกษตรกรได้มีการปฎิบัติที่ถูกต้องดังนี้
คือ
1. การคัดเลือกรังไหม ( Cocoon assorting)
เป็นขั้นตอนที่มีความสำคัญต่อราคารังไหมที่เกษตรกรจะได้รับมาก
หากเกษตรกรมีการคัดเลือกรังไหมไม่ดีพอก่อนที่จะส่งไปจำหน่ายก็จะทำให้ราคา
รังไหมที่เกษตรกรได้รับต่ำ ฉะนั้น ในการคัดเลือกรังไหมนั้นเกษตรกรจะต้อง
ทำการคัดรังเสียออกก่อน ซึ่งรังเสียมีอยู่ 11 ชนิด คือ
- รังแฝด (double cocoon ) คือรังไหมที่เกิดจากหนอนไหมตั้งแต่ 2
ตัวขึ้นไป ทำรังร่วมกัน ซึ่งรังประเภทนี้เมื่อนำมาสาวจะทำให้เส้นไหมขาดบ่อยๆ
เพราะการพ่นเส้นใยไหมพันกัน เนื่องจากรังไหมใน 1 รัง มีเส้นไหมมากกว่า 1 เส้น
ทำให้ความสามามถในการสาวออกต่ำ เส้นไหมก็ไม่เรียบ ประสิทธิภาพการสาวเส้นไหม
ลดลง การเกิดรังไหมแฝดนันอาจจะเกิดจากสาเหตุหลายประการด้วยกัน เช่น
ลักษณะของพันธุ์ไหม จำนวนหนอนไหมต่อจ่อมากเกินไป ลักษณะจ่อไม่ถูกต้อง
และไม่เหมาะสมกับหนอนไหม
- รังเจาะ (pierced cocoon)
รังไหมชนิดนี้เกิดจากหนอนแมลงวันลายเจาะรัง ออกมาทำให้รังเหล่านี้เสียหาย
การที่รังไหมเกิดรูก็เท่ากับไปตัดเส้นไหมให้ ขาดทั้งเส้น ด้งนั้น
เวลานำรังไหมชนิดนี้ไปสาวเส้นไหมยืน จะทำให้ขาดบ่อยๆ ก่อ ให้เกิดปัญหายุ่งยาก
และประสทธิภาพในการสาวออกค่อนข้างต่ำ ทำให้เส้นไหม ที่ได้ไม่มีคุณภาพ
- รังสกปรกภายใน (inside soiled cocoon) รังไหมชนิดนี้เกิดจาก
ตัวดักแด้ตายในรังหรือหนอนไหมเป็นโรคแต่สามารถทำรังได้
เมื่อทำรังแล้วหนอนไหมหรือ
ดักแด้ตายในรังทำให้รังสกปรกเมื่อนำมาสาวจะได้เส้นไหมที่ไม่มีคุณภาพ
รังสกปรกภายนอก1.4 รังสกปรกภายนอก (outside soiled cocoon) รังไหมชนิดนี้ เกิดจากหนอนไหมปล่อยปัสสาวะก่อนทำรังหรือเกิดจากการแตกของตัวหนอนไหม เป็นโรคที่อยู่ในจ่อ แล้วไปทำเปื้อนกับรังดีที่อยู่ในจ่อด้วยกัน รังไหมชนิดนี้เมื่อ นำไปต้มสาวแล้วจะดึงเส้นไหมยาก หรือรังอาจจะเละก่อนที่จะสาว โดยเฉพาะ เปลือกรังบริเวณที่เปื้อนปัสสาวะเพราะปัสสาวะของหนอนไหมมีฤทธิ์เป็นด่าง
- รังบาง (thin shell cocoon) เป็นรังไหมที่ได้จากการจับหนอนไหม
ที่เป็นโรคเข้าจ่อทำรัง เมื่อพ่นเส้นใยทำรังได้เล็กน้อยก็จะตายไป
ทำให้รังไหมบาง ผิดปกติ หรือเกิดจากการจับหนอนไหมเข้าจ่อช้าเกินไป
หนอนไหมจึงพ่นเส้นใย ไหมตามขอบกระด้งหรือเหลี่ยมมุมของโต๊ะเลี้ยงไหม
ทำให้มีเส้นใยน้อยจึงทำรัง ได้บางผิดปกติ
รังไหมชนิดนี้ไม่สามารถที่จะต้มสาวได้เพราะรังไหมจะเละก่อน
- รังหลวม (loose shell cocoon) เป็นรังไหมที่เกิดขื้นเนื่องจาก
สภาพแวดล้อมในขณะที่ไหมทำรังไม่เหมาะสมจึงทำให้เกิดรังชนิดนี้ขื้น ลักษณะ
รังหลวมถ้านำไปสาวจะเกิดการขาดของเส้นไหมบ่อย เพราะว่ารังไหมแยกเป็น ชั้นๆ
ทำให้ได้เส้นไหมที่ไม่มีคุณภาพ
- รังบางหัวห้าย (thin-end cocoon ) รังไหมชนิดนี้มักเกิดจาก
ลักษณะสายพันธุ์ไหมหรือเกิดจากอุณหภูมิสูงในช่วงกกไข่ บางครั้งก็เกิดจาก
สภาพอากาศที่เย็นเกินไประหว่างไหมเข้าทำรัง ลักษณะรังประเภทนืส่วนหัวจะ
แหลมผิดปกติ เวลานำไปต้มจะเละบริเวณส่วนแหลมก่อนและถ้านำมาสาวเส้นไหม
จะขาดบริเวณหัวแหลม ทำให้ความสามารถในการสาวออกลดลง เส้นไหมที่ได้
จะไม่มีคุณภาพ
- รังผิดรูปร่าง (malformed cocoon) รังไหมชนิดนี้มักเกิดจาก
ลักษณะจ่อไม่ถูกต้อง หรือเกิดจากหนอนไหมอ่อนแอ ทำรังได์ไม่สมบูรณ์ ลักษณะ
รังมักจะบิดเบี้ยวและไม่มีความสม่ำเสมอ รังประเภทนี้เวลานำไปต้มกับรังดีมัก
จะเละก่อนหรือบางทีก็แข็ง ทั้งนี้ขี้นอยู่กับรูปรา่งของรังนั้นๆ
ว่าผิดปกติลักษณะใด
- รังติดข้างจ่อ (cocoon with prints of cocoon frame ) รังไหม
ชนิดนี้เกิดจากการที่หนอนไหมไปทำรังติดข้างๆ จ่อ หรือติดกับกระดาษรองจ่อ
ลักษณะรังจะแบนผิดปกติและหนาเป็นบางส่วน ซึ่งสาเหตุเกิดจากการจับไหม
เข้าจ่อแน่นเกินไป หนอนไหมมีพื้นที่ในการทำรังไม่เพียงพอหรืออาจจะเกิดจาก
การใช้จ่อที่ไม่ถูกลักษณะ
- รังบุบ (crushed cocoon) รังไหมชนิดนี้พบในกรณีที่ขนส่งโดย
ไม่ระมัดระวังทำให้รังไหมเกิดการกระทบกระแทกกัน รังไหมนี้ถ้านำไปสาวจะ
เกิดการขาดบ่อยๆ ตรงบริเวณส่วนที่ยุบลงไป
รังเป็นเชื้อรา1.11 รังเป็นเชื้อรา ( musty cocoon ) รังไหมชนิดนี้ไม่ควรนำไปสาว เพราะเส้นใยจะเสื่อมคุณภาพ ทั้งนี้เกิดจากการอบแห้งไม่สมบูรณ์และไม่มีการ ควบคุมความชื้นในห้องเก็บรังไหมดีพอ ทำให้มีเชื้อราเกิดขื้นบนเปลือกรังไหม
จากลักษณะรังเสียตามที่กล่าวมาแล้วข้างต้นนั้น ลักษณะรังเสียลำดับที่ 1.1-1.10
จะพบมากในการซื้อขายรังไหมจากเกษตรกร ส่วนลักษณะของรังเสีย
ที่เกิดจากเชื้อราในลำดับที่ 1.11 นั้นจะเกิดขี้นกับโรงงานสาวไหมในขั้นตอนของ
การอบรังไหมไม่ดีพอ หรือการเก็บรังไหมที่อบแล้วในสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม
คือห้องเก็บรังไหมจะต้องมีการควบคุมความชื้นสัมพัทธ์ไม่เกิน 70%
2. การขนส่งรังไหม
เกษตรกรเมื่อไดทำการคัดเลอกรังไหมแล้ว ก็จะต้องนำรังไหมมา
บรรจุภาชนะเพื่อทำการขนส่งไปจำหน่ายยังโรงงานหรือบริษัท ในขั้นตอนนี้มี
ความสำคัญต่อคุณภาพรังไหมมาก เนื่องจากดักแด้ที่อยู่ภายในรังไหมสดนั้น
ยังมีชีวิตอยู่ มีการหายใจอยู่ตลอดเวลา ดังนั้น ในการบรรจุภาชนะเพื่อการ
ขนส่งจึงควรที่จะปฎิบัติดังนี้
- บรรจุรังไหมสดในถุงผ้าหรือเข่งที่มีการระบายอากาศได้ดี โดย
อย่าให้มีน้ำหนักเกิน 15 กิโลกรัม (ถุงผ้าขนาด 40X40X80 เซนติเมตร) เพื่อ
หลีกเลี่ยงการทับกันของรังไหมในปริมาณที่มากเกิน ซึ่งจะทำให้รังไหมบุบได้
- การขนย้ายถุงบรรจุรังไหม ในการขนส่งไม่ควรที่จะวางถุงหรือ
เข่งทับกันเป็นชั้นๆโดยตรง แต่หากมีความจำเป็นควรจะต้องมีไม้ระแนงคั่นไว้
เพราะในระหว่างการเดินทางหากรังไหมอัดทับกันแน่นจะทำให้รังไหมเสียหาย
เนื่องจากแรงกระแทก นอกจากนี้ดักแด้ยังมีการหายใจอยู่ตลอดเวลา ฉะนั้น
การระบายอากาศจึงเป็นสิ่งจำเป็นในระหว่างการขนส่งรังไหม
- การบรรจุรังไหมในภาชนะ ควรทำการบรรจุรังไหมและส่งไป จำหน่ายทันที
เพราะหากบรรจุรังไหมทิ้งไว้จะทำให้เกิดความชื้นภายในภาชนะ
ส่งผลทำให้รังไหมเปียกจนทำให้เกิดรังเสีย ดังนั้น หากเก็บรังไหมออกจากจ่อ
คัดเลือกรังไหม และลอกปุยชั้นนอกออกแล้ว แต่ยังไม่ขนส่งไปจำหน่ายในขณะนั้น
ก็ให้เก็บรังไหมไว้ในภาชนะที่กว้างสามารถเกลี่ยกระจายรังไหมได้โดยให้รังไหม
ซ้อนทับก้นน้อยที่สุด
เมื่อจะขนส่งจึงนำมาบรรจุใส่ภาชนะที่เตรียมไว้เพื่อป้องกัน
ความสูญเสียรังไหมที่อาจจะเกิดขึ้นได้จากการอัดทับกันแน่นของรังไหม
- ช่วงเวลาในการขนส่ง การขนส่งรังไหมควรจะหลีกเลี่ยงช่วง เวลาที่อากาศร้อนจัด ควรจะขนส่งในช่วงเวลากลางคืนหรือเช้าตรู่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ ระยะทาง นอกจากนื้ในระหว่างการขนส่งไม่ควรให้รังไหมโดนฝนโดยตรงเพราะ จะส่งผลต่อคุณภาพของรังไหม
3. การเก็บรักษารังไหมออกจากจ่อ
ในการเก็บรังไหมออกจากจ่อนั้นจะต้องเก็บในช่วงเวลาที่เหมาะสม
เพราะถ้าหากเก็บรังไหมเร็วเกินไปก็จะทำให้ได้รังไหมที่ไม่สมบูรณ์เนื่องจากหนอนไหม
ยังพ่นเส้นใยทำรังไม่เสร็จ นอกจากนี้เมื่อเก็บรังไหมมารวมอัดกันแน่น แต่ดักแด้
ยังอ่อนอยู่ก็จะทำให้ดักแด้แตกและเกิดรังเปื้อนรังเสียได้ และถ้าหากเก็บช้า
เกินไปก็อาจจะทำให้ไม่ทันเวลากับการส่งจำหน่ายให้โรงงานสาวไหมหรือบริษัท
เพราะรังไหมสดจะอยู่ได้ประมาณ 10-12 วันเท่านั้น หลังจากนั้นแล้วผีเสี้อก็
จะเจาะรังออกมาทำให้รังเป็นรู กลายเป็นรังเสียไป
จะเห็นได้ว่าปัจจัยต่าง ๆ ดังกล่าวข้างต้นจะมีผลกระทบต่อราคา
รังไหมที่เกษตรกรจะได้รับจากการตีราคารังไหมด้วยวิธีการใช้หลักเกณฑ์ของ
คุณภาพของรังไหมมามีส่วนเกี่ยวข้องในการคำนวณราคาดังปรากฎอยู่ในตาราง
มาตรฐานราคารังไหม ดังนัน ในการจำหน่ายรังไหมเกษตรกรผู้เลี้ยงไหมควร
ที่จะต้องให้ความส่าคัญและยืดถือปฎิบัติอย่างเคร่งครัด เพื่อผลประโยชน์และ
รายได้ที่จะได้รับจากการเลี้ยงไหมของเกษตรกรเอง
เอกสารอ้างอิง
- จรรยา ปั้นเหน่งเพชร. 2534. การตีราคารังไหม. ศูนย์วิจัยหม่อนไหมนครราชสีมา กรมวิชาการเกษตร (โรเนียว)
- วรพจน์ รักสังข์. 2535. รังไหม. ศูนย์วิจัยหม่อนไหมนครราชสีมา กรมวิชาการเกษตร (โรเนียว)
- Krishnaswami. S, et al 1972. Sericulture Manual 3-silk Reeling. Food and Agricuture Organization of the United Nations. 3-35
»
ความเป็นมา
»
หลักเกณฑ์ในการตีราคารังไหม
»
ขั้นตอนในการตีราคารังไหม
»
ปัจจัยที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับระบบการกำหนดราคารังไหม