เทคโนโลยี นวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ วิศวกรรม เกษตรศาสตร์ >>
การปลูกมังคุด
การเก็บเกี่ยว
โดยทั่วไปมังคุดเริ่มออกดอกเมื่อปลูกไปได้ประมาณ 7-8 ปี
และได้ผลผลิตเต็มที่เมื่อมีอายุประมาณ 12 ปีขึ้นไป
การออกดอกของมังคุดจะไม่ออกพร้อมกันในทีเดียวจะทะยอยออกอยู่นานราว 40 วัน เป็นผลให้
การเก็บเกี่ยวมังคุดต้องทะยอยเก็บเกี่ยวไปด้วยเช่นกัน
ดัชนีการเก็บเกี่ยว
หลังจากมังคุดเริ่มติดผลประมาณ 11-12 สัปดาห์ก็ทะยอยเก็บเกี่ยวได้
การที่จะพิจารณาเก็บเกี่ยวมังคุด ในระยะไหน ก็ขึ้นอยู่กับระยะทางในการขนส่ง
โดยคาดการณ์ให้ผลมังคุดสุก หรือมีสีม่วงแดงพอดี
เมื่อถึงผู้บริโภคหรือถึงโรงงานแช่แข็ง
แนะนำให้เก็บเกี่ยวมังคุดโดยสังเกตจากสีของเปลือก
โดยการเก็บเกี่ยวเมื่อเปลือกมังคุดเริ่มมีสายเลือดหรือเกิดจุดแต้มหรือรอยประสีชมพูเข้ม
(ภาพประกอบ) แต่ ระยะนี้ยังไม่เหมาะต่อการบริโภคเพราะเนื้อแยกตัวจากเปลือกได้ยาก
และยังมียางสีเหลืองอยู่ภายในเปลือก จากระยะนี้ ใช้เวลาประมาณ 4 วัน
เปลือกจะเปลี่ยนเป็นสีม่วงแดง ซึ่งเป็นระยะที่ใช้บริโภคได้ และหลังจากนั้นอีก 1 วัน
ผลมังคุดก็จะเปลี่ยนเป็นสีม่วงเข้ม หรือม่วงดำ
ซึ่งเป็นระยะที่เหมาะสมต่อการบริโภคที่สุด
การเก็บเกี่ยว
ถึงแม้ว่าผลมังคุดมีเปลือกหนาก็ตาม แต่เปลือกจะไม่ทนทานต่อการกระทบกระแทก เปลือกจะช้ำและแข็ง บิไม่ออกในเวลาต่อมา ส่วนเปลือกด้านในจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลแดงและลามไปถึงเนื้ออย่างรวดเร็ว การเก็บเกี่ยวมังคุดมีหลายวิธีโดยมีเงื่อนไขว่าจะต้องเก็บเกี่ยวอย่างระมัดระวังอย่าให้ผลมังคุดตกกระแทก
- ใช้แรงงานเด็กปีนขึ้นไปเก็บใส่ถุงหรือตะกร้า วิธีนี้จะมีการสูญเสียน้อยแต่สิ้นเปลืองเวลาและ แรงงานสูง
- การเก็บเกี่ยวโดยใช้ตะกร้อ (แบบถุงกาแฟมีเขี้ยว) ซึ่งออกแบบพัฒนาโดยคุณนิวัฒน์ พ้นชั่ว แห่งสวนลุงสุน จ.ระยอง จะเก็บเกี่ยวได้ประมาณ 360 ผล/ชั่วโมง ความสูญเสีย เช่น ผลหล่นนอกตะกร้อ บ้างเล็กน้อย
- ใช้เครื่องมือเก็บเกี่ยวมังคุด กวศ. 4 ซึ่งออกแบบโดยกองเกษตรวิศวกรรม กรมวิชาการเกษตร ซึ่งมีอัตราการเก็บเกี่ยว 501 ผลต่อชั่วโมง ใช้งานได้สะดวก และไม่พบความสูญเสีย ที่เกิดจากผลหล่นออกนอกตะกร้า
วิธีเก็บเกี่ยว
- เสียบให้ผลมังคุดเข้าไปในเครื่องมือซึ่งขั้วผลมังคุดจะอยู่ระหว่างช่องฟันเสร็จแล้วบิดเครื่อง มือเล็กน้อยผลมังคุดจะหลุดและร่วงลงถุงรองรับ
- เมื่อผลมังคุดเต็มถุง (5-10 ผล) ยกถุงหย่อนลงมาที่ภาชนะรองรับ (เข่ง หรือตะกร้า) พยายาม วางให้อุปกรณ์ต่ำที่สุดเท่าที่จะทำได้แล้วปลดล็อคค่อย ๆ ยกอุปกรณ์ขึ้น ผลมังคุดจะไหลลงภาชนะอย่างนุ่มนวล
การปฎิบัติหลังการเก็บเกี่ยว
- ขนย้ายหรือลำเลียงจากสวนไปยังโรงเรือนคัดบรรจุหรือแหล่งรวบรวมผลผลิต
ภาชนะที่ใช้
ในการขนย้ายต้องสามารถปกป้องผลมังคุดจากการกระทบกระแทกหรือเกิดรอยขูดขีด
และไม่ควรวางผล ซ้อนทับกันเกิน 30 เซนติเมตร
เพื่อไม่ให้ผลมังคุดที่อยู่ล่างสุดได้รับแรงกดทับมากเกินไป
- คัดคุณภาพโดยคัดเอาเฉพาะผลที่มีคุณภาพดี คือไม่มีรอยร้าวรอยบุบที่ผิว
ผิวเกลี้ยงปราศจาก รอยแผลกร้านจากการทำลายของเพลี้ยไฟ ไรแดง
และให้แยกผลมังคุดออกจากกันตามสีและขนาดของผลไป พร้อม ๆ กันด้วย
- ทำความสะอาดผล ใช้มีดขูดยางที่ติดอยู่ตามผิวออกให้หมด โดยดำเนินการไปพร้อม
ๆ กับ ขั้นตอนที่ 2
หลังจากนั้นจึงทำความสะอาดใต้กลีบเลี้ยงโดยใช้ลมเป่าเพื่อกำจัดฝุ่นผง และไล่มด
แมงมุมหรือ แมลงชนิดอื่นที่อาจเข้าไปอาศัยอยู่
- คัดขนาดหรือน้ำหนักของมังคุดแบ่งเป็นเกรด ๆ ตามความต้องการของลูกค้า
ผลมังคุดเพื่อ การส่งออกควรมีขนาดประมาณ 70-100 กรัมต่อผล
สำหรับผลที่มีขนาดเล็กบรรจุกล่องขายตลาดภายในก็จะ ได้ราคาสูงขึ้น
- การบรรจุหีบห่อ บรรจุผลมังคุดที่มีความแก่ในวัยเดียวกันในกล่องเดียวกันโดยเรียงผลมังคุด ลงในกล่องโดยตรงหรือมีกระดาษลูกฟูกกั้นเป็นช่อง ๆ 1 ช่อง ต่อ 1 ผล หรือจะบรรจุในถาดโฟมถาดละ 4 ผล หุ้มพลาสติกพีวีซี ก็จะช่วยให้ผลมังคุดมีกลีบเลี้ยงสดอยู่ได้นานขึ้น
การเก็บรักษา
ผลมังคุดจะเริ่มเปลี่ยนสีไป จนมีสีม่วงเข้ม หรือม่วงดำ กินเวลาประมาณ 7 วัน และจะเก็บผลมังคุดไว้ในอุณหภูมิห้องระหว่าง 25-30 องศาเซนเซียส ซึ่งจะเก็บได้นานประมาณ 7 วัน ผลมังคุดจะเริ่มเสื่อมคุณภาพ การขนส่งและเก็บรักษาผลมังคุดในสภาพที่เหมาะสม คือใช้อุณหภูมิประมาณ 13 องศาเซนเซียส และบรรจุผลมังคุดในถุงพลาสติกเจาะรู จะทำให้มังคุดคงสภาพดีอยู่ได้ประมาณ 4 สัปดาห์
»
สภาพดินฟ้าอากาศ
»
พันธุ์
»
การขยายพันธุ์
»
การเตรียมพื้นที่และการปลูก
»
การดูแลรักษา
»
โรคแมลงและการกำจัด
»
การเก็บเกี่ยว