เทคโนโลยี นวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ วิศวกรรม เกษตรศาสตร์ >>
มะขามเปรี้ยว ศรีสะเกษ 019
มะขามเปรี้ยวเป็นพืชที่ปลูกได้ง่าย สามารถขึ้นได้ดี ในดินแทบทุกชนิด ประกอบกับเป็นพืช ที่มีความสำคัญ ทางเศรษฐกิจอีกชนิดหนึ่ง ซึ่งสามารถส่งเป็นสินค้าออก ทำรายได้เข้าประเทศปีละหลายล้านบาท และเนื่องจาก ยังไม่มีมะขามเปรี้ยวพันธุ์ดี สำหรับแนะนำให้เกษตรกร ปลูกเป็นการค้า สถาบันวิจัยพืชสวน โดย ศูนย์วิจัยพืชสวน ศรีสะเกษ จึงได้ทำการรวบรวมต้นแม่พันธุ์มะขามเปรี้ยว ที่มีลักษณะการให้ผลผลิตสูงและคุณภาพดี จากแหล่งปลูกต่างๆ ที่สำคัญของประเทศ โดยในปี พ.ศ. 2537 ได้นำยอดพันธุ์ของต้นแม่พันธุ์เหล่านั้น มาเสียบกับต้นตอในแปลงรวบรวมพันธุ์มะขามเปรี้ยว ซึ่งปลูกไว้เมื่อปี พ.ศ. 2526 จากนั้นทำการบันทึก ข้อมูลต่างๆ เพื่อใช้ในการคัดเลือกให้ได้ต้นแม่พันธ ุ์มะขามเปรี้ยวพันธุ์ดีโดยกำหนดหลักเกณฑ์ที่สำคัญ ในการเลือกพันธุ์มะขามเปรี้ยวไว้ดังนี้ กล่าวคือ
ลักษณะทรงพุ่มเป็นทรงกระบอกหรือทรงกลม มีการเจริญเติบโตดีให้ผลผลิตสูงสม่ำเสมอ ฝักมีขนาดใหญ่และตรงยาวไม่น้อยกว่า 10 เซนติเมตร เปลือกหนาฝักไม่แตกง่าย มีเนื้อมากไม่น้อยกว่า 45 % ขึ้นไป มีเมล็ด 33.9 % เปลือกกับรก 11.1 % เนื้อสีอำพัน เปอร์เซ็นต์ กรดทาร์ทาริค (ความเปรี้ยว) สูงมากกว่า 12 %
ปรากฏว่าจากการบันทึกข้อมูลประมาณ 8 ปี (ถึง พ.ศ. 2536) สามารถคัดเลือกต้นแม่พันธมะขามเปรี้ยวพันธุ์ดี ที่ให้ผลผลิตสูง และคุณภาพดีตรงตามหลักเกณฑ์ การคัดเลือกพันธุ์เป็นที่น่าพอใจ จึงตั้งชื่อว่า "มะขามเปรี้ยวศรีสะเกษ" (ศก.019)
ปี 2537 กรมวิชาการเกษตรได้ประกาศให้ มะขามเปรี้ยว ศก.019 เป็นพันธุ์แนะนำ เพื่อให้เกษตรกรได้มั่นใจในลักษณะที่ดีต่างๆของมะขามเปรี้ยวนี้
»
ลักษณะประจำพันธุ์
»
การปลูก
»
การปฏิบัติดูแลรักษา
»
การเก็บเกี่ยว
- เรียบเรียง : ชูศักดิ์ สัจจพงษ์
ศูนย์วิจัยพืชสวนศรีสะเกษ กรมวิชาการเกษตร เผยแพร่โดย กองเกษตรสัมพันธ์ กรมส่งเสริมการเกษตร